สำหรับเด็กระดับกลาง - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู เล่ม 1
เล่มที่ ๑
เรื่องที่ ๑ ดวงอาทิตย์
เรื่องที่ ๒ อุปราคา
เรื่องที่ ๓ ท้องฟ้ากลางคืน
เรื่องที่ ๔ นก
เรื่องที่ ๕ ปลา
เรื่องที่ ๖ เครื่องจักรกล
เรื่องที่ ๗ พลังงาน
เรื่องที่ ๘ อากาศยาน
เรื่องที่ ๙ ดนตรีไทย
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑ / เรื่องที่ ๒ อุปราคา / สำหรับเด็กระดับกลาง

 สำหรับเด็กระดับกลาง
เวลากลางคืนในบ้านต้องจุดโคมไฟจึงจะได้แสงสว่าง ถ้าเราจุดเทียนไขในห้องที่มืดอยู่ แล้วยืนหันหน้ามาทางเทียนไข ที่หน้าและตัวของเราได้รับแสงสว่างจากเทียนไขมากกว่าทางหลังตัวเรา แสงเทียนไขไม่ผ่านทะลุตัวของเราไป และเราอาจเห็นเงาของตัวเราเองที่พื้นหรือที่ฝาห้อง

สุริยุปราคา เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ภายหลังเวลาเต็มคราส ๔๒ วินาที ถ่ายที่โคกโพธิ์ ปัตตานี
ความมืดมัวจะคงมีตลอดคืน ถนนหนทางก็ต้อง จุดโคมไฟ จึงจะได้แสงสว่าง รุ่งเช้าเราเห็นดวงอาทิตย์ที่ขอบฟ้า สายเข้าดวงอาทิตย์ก็สูงขึ้นไป ถ้าเรายืนในที่กลางแจ้ง หันหน้าไปทางดวงอาทิตย์ เราเห็นเงาของเราอยู่ทางหลัง ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ อย่างเดียวกันกับเงาที่เกิดจากจุดเทียนไขในห้อง เวลากลางคืน เงาจะสั้นลงไปทุกทีจนถึงเวลาเที่ยง ตอนบ่ายถ้าเราหันหน้าไปทางดวงอาทิตย์ เงาจะอยู่ทางด้านหลังของเรา เงานี้จะยาวขึ้นจนถึงเวลาเย็น เราเห็นดวงอาทิตย์ลงลับขอบฟ้าไป เป็นเวลากลางคืนไปอีก
กลางวันและกลางคืนมีติดต่อกันไป เพราะโลกหมุนรอบตัวเองตลอดเวลา ซีกของโลกที่หันมาทางดวงอาทิตย์ได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์โดยตรงเป็นกลางวัน อีกซีกหนึ่งของโลกไม่ได้รับแสงสว่างก็มืดเป็นกลางคืน

แสง
อาทิตย์ที่ส่องมาถึงโลก ผ่านทะลุโลกไปไม่ได้ โลกก็มีเงาทอดไปทางด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ อย่างเดียวกันกับเงาของตัวเราเองในห้องเวลากลางคืน และเงาของตัวเราเองในกลางแจ้งกลางวัน

ดวงจันทร์ ถ่ายโดยเปิดหน้ากล่อง ๕ ครั้ง เพื่อให้แสงสว่างจากปรากฏการณ์ ตกลงบนฟิล์ม เท่ากับจำนวนครั้งที่เปิดหน้ากล้องนั้น ทำให้ได้ภาพขณะดาวศุกร์ เคลื่อนที่ผ่านเบื้องหลังดวงจันทร์ อยู่ในตำแหน่งต่างๆ กัน ขณะเดียวกันก็เห็น ลักษณะภูมิประเทศของดวงจันทร์ ที่ได้รับแสงสะท้อนจากโลก (earthshine) ภาพนี้ถ่ายที่หอดูดาวภูเขาสตรอมโล ประเทศออสเตรเลีย
โลกอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์ เงาของโลกจึงยาวได้มากประมาณ ๑,๔๐๐,๐๐๐ กิโลเมตร
ในท้องฟ้าเวลากลางคืน สังเกตดูดวงจันทร์ บางคืนก็เป็นเสี้ยว เป็นซีก บางคืนเห็นเต็มดวง บางคืนไม่เห็นดวง

ที่
เราเห็นเป็นอย่างนั้น ก็เพราะโลกและดวงจันทร์ มีรูปร่างกลมๆ โลกหมุนรอบตัว และเคลื่อนที่ไปรอบดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ก็หมุนรอบตัว และเคลื่อนที่ไปรอบโลก ดวงจันทร์ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ดวงจันทร์ได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ และส่งแสงสะท้อนมายังโลกให้เราเห็น
ดวงจันทร์สว่างเกือบเต็มดวง ในคืนข้างขึ้น ๑๓ ค่ำ
 ดวงจันทร์สว่างเกือบเต็มดวง ในคืนข้างขึ้น ๑๓ ค่ำ
เวลาข้างขึ้นอ่อนๆ เราเห็นส่วนที่สว่างของดวงจันทร์น้อย ส่วนที่สว่างอยู่ทางตะวันตก ส่วนที่สว่างเห็นมากขึ้น จนเป็นรูปซีก และเต็มดวงกลางเดือน ขึ้นสิบห้าค่ำวันเพ็ญ
คืนข้างแรม ซีกสว่างของดวงจันทร์อยู่ทางทิศตะวันออก เราเห็นส่วนที่สว่างน้อยลงไปจนถึงวันสิ้นเดือน สิบสี่สิบห้าค่ำ เวลาขึ้นก็ดึกมากขึ้นทุกคืน จนถึงเช้า ก็ยังเห็นอยู่ในท้องฟ้า

ด้าน
ของดวงจันทร์ที่หันหน้าทางดวงอาทิตย์เป็นกลางวัน และด้านตรงข้ามเป็นกลางคืนอย่างเดียวกับโลก แต่นานกว่ากัน เพราะดวงจันทร์หมุนรอบตัวครั้งหนึ่งนานยี่สิบเจ็ดวันเศษ และเคลื่อนที่ไปรอบโลกด้วย
ดวงจันทร์เสี้ยว จะปรากฏในคืนข้างแรมแก่หรือข้างขึ้นอ่อน อันเนื่องมาจากดวงจันทร์โคจรรอบโลก
ดวงจันทร์เสี้ยว จะปรากฏในคืนข้างแรมแก่หรือข้างขึ้นอ่อน อันเนื่องมาจากดวงจันทร์โคจรรอบโลก
แสงดวงอาทิตย์ที่ส่งไปที่ดวงจันทร์ ผ่านทะลุไปทางด้านหลังไม่ได้ ดวงจันทร์จึงมีเงาทอดไปในทางตรงข้ามกับด้านที่ได้รับแสงดวงอาทิตย์ตรง
ดวงจันทร์มีขนาดเล็กกว่าโลกมาก เงาของดวงจันทร์ยาวประมาณหนึ่งในสี่ความยาวของเงาโลก เงาดวงจันทร์บางเวลาก็ยาวกว่าระยะห่างของดวงจันทร์จากโลก และบางเวลาก็สั้นกว่าเล็กน้อย
โดยที่โลกเคลื่อนที่ไปรอบดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ก็เคลื่อนที่ไปรอบโลกพร้อมๆ กันไป ก็ต้องมีเวลาหนึ่งที่ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ จะอยู่ในแนวเดียวกันพอดี
สุริยุปราคาเต็มดวง เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๒๖ แสดงให้เห็นคอโรนาแผ่กระจายออกจากขอบดวง
สุริยุปราคาเต็มดวง เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๒๖ แสดงให้เห็นคอโรนาแผ่กระจายออกจากขอบดวง 
ในวันเพ็ญ เมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่มาได้แนว อยู่ตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เงาโลกทอดไปยาวกว่าระยะห่างของดวงจันทร์จากโลกมาก ดวงจันทร์ก็เคลื่อนที่ไปในเงาโลก ทำให้เงาโลกปิดบังดวงจันทร์ เกิดเป็นจันทรคราส

ใน
วันเดือนมืดเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่มาอยู่ระหว่างดวงอาทิตย์และโลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก อยู่ได้แนวเดียวกัน เรา เห็นดวงจันทร์ปิดบังดวงอาทิตย์ เกิดเป็นสุริยคราส

อุปราคา
เป็นคำในวิชาดาราศาสตร์ หมายถึงการที่เทห์ฟากฟ้าชนิดใดชนิดหนึ่งมืดแสงลง เทห์ฟากฟ้านั้นอาจเป็นเทห์ฟากฟ้าที่มีแสงสว่างในตัวเอง หรือเป็นเทห์ฟากฟ้าที่ส่องแสงโดยการสะท้อนก็ได้ ดังเช่น การเกิดเงาอันเนื่องมาจากโลกหรือดวงจันทร์ โคจรเข้าบังแสงอาทิตย์อยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง
อุปราคาที่เกิดขึ้นมองเห็นบนโลก เนื่องจากดวงจันทร์โคจรผ่านดวงอาทิตย์และทอดเงามาบนพื้นผิวโลก ทำให้ดวงอาทิตย์ปรากฏมืดไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง มีชื่อเรียกว่า สุริยุปราคา ส่วนอุปราคาที่เกิดเพราะโลกโคจรผ่านดวงอาทิตย์ และทอดเงาของโลกลงบนดวงจันทร์ มีชื่อเรียกว่า จันทรุปราคาสุริยุปราคาเกือบเต็มดวง เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๒๖
สุริยุปราคาเกือบเต็มดวง เมื่อวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๒๖
ในการเกิดสุริยุปราคา อาจเกิดเป็นสุริยุปราคาหมดดวง สุริยุปราคาบางส่วน หรือสุริยุปราคาวงแหวนขึ้นก็ได้ ถ้าในการเกิดสุริยุปราคานั้น ดวงจันทร์อยู่ใกล้โลก ทำให้ปรากฏเป็นดวงใหญ่ พอที่จะบังดวงอาทิตย์ได้มิดหมดทั้งดวง และเป็นเหตุให้เกิดเงามืด ซึ่งมืดสนิท กับเงามัวซึ่งมีแสงปนอยู่ด้วยบ้างบนผิวโลก ขณะนั้นผู้ที่อยู่ในบริเวณที่เป็นเงามืดจะได้เห็นสุริยุปราคาหมดดวง แต่ผู้ที่อยู่ในบริเวณเงามัวนอก บริเวณที่เป็นเงามืดออกไป จะได้เห็นสุริยปราคาบางส่วน
แต่ถ้าขณะที่เกิดสุริยุปราคานั้นดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกมาก จนมีขนาดไม่ใหญ่พอ ที่จะบังดวงอาทิตย์ ได้มิดหมดทั้งดวง และเป็นเหตุให้ไม่เกิดเงามืดขึ้นบนโลก เกิดแต่เพียงเงามัวอย่างเดียวเท่านั้น ผู้ที่อยู่ในเงามัวย่อมจะเห็นสุริยุปราคาวงแหวน


อนึ่ง สมควรกล่าวด้วยว่า ในการเกิดสุริยุปราคาทั้งสองชนิด คือ สุริยุปราคาเต็มดวง และสุริยุปราคาวงแหวน ในตอนระยะเริ่มเกิดและก่อนจะหมด ผู้ที่อยู่บนโลกในบริเวณเงามัว ย่อมจะเห็นสุริยุปราคาบางส่วนด้วยเสมอ

ส่วนจันทรุปราคา อาจเกิดขึ้นได้ในทำนองที่คล้ายคลึงกัน ผิดกันแต่ว่า จันทรุปราคา อาจเกิดเป็นจันทรุปราคาเต็มดวง กับจันทรุปราคาบางส่วนเท่านั้น

วิถีโคจรของโลกไปรอบดวงอาทิตย์ หรือของดวงอาทิตย์ตามที่เราเห็น ประจักษ์ไประหว่างดาวเรียกว่า สุริยวิถี พื้นราบที่ผ่านวิถีโคจรมีชื่อว่า ระนาบสุริยวิถี ส่วนพื้นราบซึ่งผ่านวิถีโคจรของดวงจันทร์ไปรอบโลก มีชื่อว่า ระนาบวิถีโคจรของดวงจันทร์

สุริยวิถี กับ ระนาบวิถีโคจรของดวงจันทร์ ตัดกันที่จุด ๒ จุด ซึ่งเรียกว่าโน

เนื่องจากโลกมีดวงจันทร์เป็นบริวารเพียงดวงเดียว และโลกกับดวงจันทร์ มีระนาบของวงโคจรไม่อยู่ในแนวเดียวกัน แต่เอียงทำมุมกันเป็นมุมประมาณ ๕ องศา ทำให้โลกและดวงจันทร์ ไม่บังแสงอาทิตย์ ทุกครั้งที่อยู่ในแนวเส้นตรงอันเดียวกัน ในปีหนึ่งจึงเกิดอุปราคาขึ้นได้น้อยครั้ง กล่าวคือ อย่างน้อยปีละสองครั้ง อย่างมากปีละเจ็ดครั้ง ถ้าปีใดเกิดอุปราคาสองครั้ง อุปราคาสองครั้ง นั้นจะต้องเป็น สุริยุปราคา แต่ถ้าปีใดเกิดอุปราคามากถึงเจ็ดครั้ง ก็อาจเป็นสุริยุปราคาห้าครั้ง และจันทรุปราคาสองครั้ง หรือสุริยุปราคาสี่ครั้ง จันทรุปราคาสามครั้งก็ได้ โดยปกติมักเกิดอุปราคาปีละสี่ครั้ง
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป