สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน
เมนู เล่ม 1
|
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑ / เรื่องที่ ๓ ท้องฟ้ากลางคืน / บทนำ
บทนำ
ผู้ที่อยู่ในชนบทล้อมรอบด้วยทุ่งนาราบ
หรืออยู่ริมทะเล หรือในที่ใดซึ่งอาจมองเห็นแผ่น ฟ้ากว้าง
ไม่ถูกบังด้วยตึกรามบ้านช่อง หรือพุ่มไม้ใหญ่
มักจะมีโอกาสได้เห็นสภาพของท้องฟ้ายาม ใกล้ค่ำอยู่เสมอ ในขณะเช่นนั้น
ถ้าเราใช้เวลานานพอ เพื่อเฝ้าดูการเปลี่ยนแปลงบนท้องฟ้า
ซึ่งดำเนินไปอย่างรวดเร็ว แต่เงียบเชียบ ก็จะเกิดความประทับใจอย่างมากมาย
โดยความน่าอัศจรรย์ และความงดงามของธรรมชาติเช่นนั้น
|
 |
สมมุติว่า
เราเลือกเฝ้าดูท้องฟ้าในพลบค่ำหนึ่ง ของฤดูที่ท้องฟ้าแจ่มใส ปราศจากเมฆ
เป็นค่ำของวันข้างขึ้นอ่อน เมื่อดวงอาทิตย์เพิ่งจะลับทิวไม้ไกลๆ
ที่ขอบฟ้าตะวันตกไป ขณะนี้ท้องฟ้า มืดคล้ำลงโดยรวดเร็ว
ดวงจันทร์ปรากฏเป็นเสี้ยวบาง มีส่วนโค้งนูน หันสู่ทิศตะวันตก ใกล้ๆ กับ
ดวงจันทร์นั้นมีดาวดวงหนึ่งปรากฏสุกสว่าง นวลสกาว
ดาวดวงนี้คือ ดาวประจำเมือง หรือดาวศุกร์
ส่วนดาวอื่น ยังไม่ปรากฏให้เห็นบนท้องฟ้า ซึ่งยังไม่มืดสนิท
|
เราอาจทำการบันทึกการเคลื่อนที่ของดวงดาวบนท้องฟ้าไว้
เพื่อการศึกษาและวินิจฉัยได้ โดยไม่ยากนัก
ทั้งนี้โดยการใช้กล้องถ่ายรูปธรรมดาถ่ายภาพท้องฟ้าเอาไว้
ฟิล์มถ่ายรูปที่ใช้ในการถ่ายรูปทั่วไปในปัจจุบัน
มีความไวพอที่จะบันทึกแสงดาวเอาไว้ได้ วิธีการโดยสังเขปก็คือตั้งกล้อง
บนฐานที่มั่นคง การเปิดหน้ากล้องรับแสงดาว ก็ใช้เวลาให้ยาวนาน เป็นต้นว่า
๑๐ นาที หรือมาก กว่านั้น ดาวแต่ละดวงซึ่งค่อยๆ เคลื่อนที่ไปบนท้องฟ้า
จะปรากฏเป็นเส้นสว่างเส้นหนึ่งบนภาพที่ได้ เมื่อเราทดลองตั้งกล้องเช่นนี้
ถ่ายภาพท้องฟ้าด้านตะวันตก เมื่อท้องฟ้ามืดสนิทพอแล้ว ก็จะพบว่า
เส้นสว่างของดาวต่างๆ ปรากฏเป็นเส้นขนานกันพุ่งลงสู่ขอบฟ้าตะวันตก
ดังภาพ
|
 |
 |
เมื่อทำการถ่ายภาพท้องฟ้าทางทิศเหนือบ้าง
โดยวิธีการเดียวกัน
เราก็จะพบว่า ดาวบนฟ้าทางทิศนั้น
แสดงลักษณะการเคลื่อนที่แตกต่างจากดาวทางท้องฟ้าทิศตะวันตก
สมมุติว่า เราถ่ายภาพ โดยเปิดหน้ากล้องนานประมาณ ๓๐ นาที
เราจะได้ภาพ ซึ่งดาวแต่ละดวงปรากฏเป็นเส้นสว่าง ส่วนโค้งของวงกลม
ซึ่งมีจุดศูนย์กลางร่วมกัน
จุดศูนย์กลางร่วมนี้อยู่ใกล้ดาวค่อนข้างสว่างดวงหนึ่ง
จากภาพที่ได้ เราสรุปได้ว่า ดาวบนท้องฟ้าทางทิศเหนือ
ปรากฏเคลื่อนที่เป็นวงกลมรอบจุดคงที่ ผู้ที่อยู่บริเวณใกล้กรุงเทพมหานคร
จะเห็นดาวที่อยู่ใกล้จุดคงที่นี้ สูงจากขอบฟ้าประมาณ ๑๔° และ
คล้ายกับว่าอยู่คงที่บนท้องฟ้าไม่เคลื่อนที่ไปและอยู่ทางทิศเหนือเกือบจะพอดี
อาศัยใช้เป็นหลักบอกทิศได้ เมื่อคุ้นกับท้องฟ้าและจำได้ดีแล้ว
ดาวดวงนี้จึงได้รับชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า ดาวเหนือ (polestar หรือ
Polaris) |
 |
ถ้าเราเดินทางขึ้นไปทางทิศเหนือ
และคอยสังเกตดูดาวดวงนี้ก็จะพบว่า
ดาวดวงนี้ค่อยสูง ขึ้นเรื่อยจากขอบฟ้า ที่จังหวัดแพร่
ดาวเหนือจะอยู่สูงจากขอบฟ้าทิศเหนือประมาณ ๑๘°ตรงกัน ข้าม
ถ้าเราเดินทางลงไปทางใต้ ดาวดวงนี้ก็จะปรากฏลดต่ำลง
จนเมื่อเราไปถึงเส้นศูนย์สูตรของโลก เช่น ที่เกาะสิงคโปร์
ดาวดวงนี้จะลงอยู่ที่ขอบฟ้าพอดี และไม่อาจมองเห็นได้โดยง่าย
|
ถ้าเกิดความสงสัยว่า
ความยาวสั้นของเส้นสว่างโค้งแสดงการเคลื่อนที่ของดาวในภาพ มีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างไร
และมีความสัมพันธ์ต่อเวลาที่เปิดหน้ากล้องถ่ายอย่างไร
เราอาจทำการวิเคราะห์อย่างง่ายเพื่อตอบปัญหานี้ได้
โดยการกำหนดจุดศูนย์กลางร่วมของส่วนโค้งเหล่านี้ให้ได้แน่นอน
แล้วลากเส้นตรงจากปลายสองข้างของเส้นโค้งแต่ละเส้น มายังจุดศูนย์กลางร่วมนี้
ในการนี้เราอาจเลือกเฉพาะเส้นส่วนโค้งบางเส้นที่มีระยะทางห่างจากจุดศูนย์กลางต่างๆ
กัน ขั้นต่อไป เราก็ทำการวัดมุมระหว่างเส้นรัศมีที่ต่อปลายเส้นโค้งเป็นคู่ๆ
ไป ดังภาพล่างขวา เราจะ พบว่ามุมแต่ละมุมมีค่าเท่ากันหมด
ซึ่งเป็นเหตุให้เส้นโค้งที่อยู่ห่างจุดศูนย์กลาง มีความยาวมากกว่า
เส้นโค้งที่อยู่ใกล้จุดศูนย์กลาง
ผลจากการวิเคราะห์ดังกล่าวมานี้
ทำให้สรุปในขั้นต้นนี้ได้ว่าท้องฟ้าทางทิศเหนือ ปรากฏต่อผู้สังเกตการณ์ เสมือนทรงกลมใหญ่ ที่กำลังหมุนรอบตัว
แกนหมุนของทรงกลมนี้เป็นเส้นตรงที่ลากผ่านผู้สังเกตการณ์ ไปยังจุดคงที่จุดหนึ่งบนท้องฟ้า ที่อยู่ใกล้กับดาวเหนือ
ดาวทุกดวงที่เราเห็น อยู่นั้น
เป็นเสมือนจุดสว่างติดอยู่กับผิวภายในของทรงกลมนี้ |
ถ้าเราทำการทดลองถ่ายภาพท้องฟ้าทางทิศเหนือเช่นนี้หลายๆ ภาพ
โดยกำหนดเวลาเปิดให้แสงผ่านเข้าเลนส์หน้ากล้องนานต่างกัน
แล้วนำภาพที่ได้มาพิจารณาเทียบเคียงกัน ก็จะพบว่า
มุมที่เส้นโค้งสว่างของดาว กระทำที่จุดศูนย์กลางร่วมนั้น
มีค่ามากน้อยเป็นปฏิภาคโดยตรงกับเวลา ที่ใช้เปิดหน้ากล้อง เช่น
ถ้าเราเปิดหน้ากล้องนาน ๑๕, ๓๐, ๖๐ และ ๑๒๐ นาที ตามลำดับ มุม
ที่ได้จะเป็น ๓°
๗๕, ๗°
๕; ๑๕°และ
๓๐°
ตามลำดับด้วย หมายความว่า ท้องฟ้าหมุนไปรอบ
แกนที่ผ่านผู้สังเกตการณ์ด้วยอัตราคงที่ชั่วโมงละ ๑๕° ดังนั้น
ในเวลา ๒๔ ชั่วโมง หรือ ๑ วัน ท้องฟ้าจะปรากฏหมุนไปครบ ๑ รอบ หรือ ๓๖๐° พอดี
|
 |
เมื่อเราดำเนินการสำรวจการเคลื่อนที่ของดาวบนท้องฟ้าทิศตะวันออกบ้าง
โดยวิธีการเดียว กัน ก็จะได้ผลคล้ายคลึงกับทางท้องฟ้าทิศตะวันตก ดาวต่างๆ
จะปรากฏเคลื่อนที่เป็นเส้นขนาน อย่างไรก็ตาม
ในกรณีนี้ การเคลื่อนที่ของดาว จะเป็นการเคลื่อนที่ขึ้นจากขอบฟ้าตะวันออก
|
 |
สำหรับทางท้องฟ้าทิศใต้นั้น เราได้ผลคล้ายคลึงกับท้องฟ้าทางทิศเหนือ
แต่เมื่อเราวิเคราะห์ ภาพที่ได้ดู จะพบว่าในกรณีนี้
จุดศูนย์กลางร่วมของวงกลมอยู่ต่ำกว่าระดับขอบฟ้า แสดงว่า แกน
หมุนของทรงกลมผ่านผู้สังเกตการณ์
และจุดซึ่งอยู่ตรงข้ามกับจุดศูนย์กลางร่วมทางฟ้าภาคเหนือ
เมื่อเรานำผลจากท้องฟ้าทิศใต้ มาพิจารณาร่วมกับภาพของท้องฟ้าทิศเหนือ ก็จะสรุปได้ว่า
ท้องฟ้าทั้งหมดปรากฏเป็นทรงกลมใหญ่ มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ผู้สังเกตการณ์ทรงกลมใหญ่นี้ หมุนรอบแกน ซึ่งลากผ่านผู้สังเกตการณ์นี้ |
|