สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน
เมนู เล่ม 1
|
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑ / เรื่องที่ ๓ ท้องฟ้ากลางคืน / การบอกตำแหน่งของวัตถุบนท้องฟ้า
การบอกตำแหน่งของวัตถุบนท้องฟ้า
การบอกตำแหน่งของวัตถุบนท้องฟ้า
ใช้วิธีการเช่นเดียวกับการบอกตำแหน่งวัตถุบนพื้นโลก
โดยเรากำหนดตำแหน่งของสถานที่ หรือวัตถุบนพื้นผิวโลกด้วย เช่น
บอกปริมาณที่เรียกว่า ลองจิจูด (longitude) และละติจูด (latitude)
ของสิ่งนั้นๆ
ในการนี้ เราเริ่มด้วยการถือเอาขั้วของการหมุนทั้งสองของโลกเป็นหลัก
โดยคิดลากเส้น รอบวงของวงกลมใหญ่ผ่านขั้วโลกทั้งสอง เส้นเหล่านี้ เรียกว่า
เส้นเมริเดียน (meridian) ดังนั้น
ทุกจุดบนพื้นผิวโลกจะมีเมริเดียนเส้นหนึ่งลากผ่าน
เมริเดียนแต่ละเส้นคือ ครึ่งของวงกลมใหญ่ที่ผ่านขั้วโลกเหนือ ตำบลนั้น
และขั้วโลกใต้ ข้อตกลงของนานาชาติกำหนดให้เมริเดียนที่ผ่าน ตำบลกรีนิช
(Greenwich) ในประเทศอังกฤษเป็นเมริเดียนหลัก (prime meridian)
ลองจิจูดของจุด ใดจุดหนึ่งของผิวโลก ได้แก่
มุมระหว่างเมริเดียนของตำบลนั้น กับ เมริเดียนหลักซึ่งจะวัดที่ขั้ว
เหนือหรือที่ขั้วใต้ของโลกก็ได้ ตัวอย่างเช่น กรุงเทพมหานคร มีลองจิจูด
๑๐๑° ตะวันออก หมายความว่า เส้นเมริเดียนที่ผ่านกรุงเทพมหานครทำมุม ๑๐๑°
กับเมริเดียนหลักซึ่งผ่านกรีนิช และกรุงเทพมหานคร
อยู่ทางทิศตะวันออกของกรีนิช
|  |
เราแบ่งเมริเดียนออกเป็นหน่วยย่อย
โดยการแบ่งมุมซึ่งเส้นเมริเดียนกระทำที่จุดศูนย์กลาง
ของโลกเมริเดียนทางซีกโลกเหนือเส้นศูนย์สูตรถูกแบ่งจาก ๐° ถึง + ๙๐°
และทางซีกโลกภาค ใต้ถูกแบ่งจาก ๐° ถึง - ๙๐° นับไปหาขั้วโลก
เรากำหนดละติจูดของตำบลต่างๆ โดยมุมบนเส้นเมริเดียนนี้ ตัวอย่างเช่น
กรุงเทพมหานคร มีละติจูด + ๑๔° หมายความว่า กรุงเทพมหานครอยู่ที่ ตำแหน่ง
๑๔° ทางเหนือของเส้นศูนย์สูตรบนเส้นเมริเดียน ที่ผ่านกรุงเทพมหานคร
|
การที่ท้องฟ้าปรากฏเป็นทรงกลมใหญ่ห่อหุ้มผู้สังเกตการณ์และโลกไว้โดยรอบนี้
ทำให้เราสามารถนำหลักเกณฑ์ ของการบอกตำแหน่งวัตถุบนผิวโลก
ไปใช้กับการบอกตำแหน่งของดาวบน ท้องฟ้าได้ ตามภาพข้างล่าง
เราเขียนรูปโลกให้อยู่ที่ศูนย์กลางของทรงกลมท้องฟ้า เราอาจใช้จินตนาการ
ฉายภาพเส้นเมริเดียนบนพื้นผิวโลก
ขึ้นสู่ทรงกลมท้องฟ้าได้ในลักษณะคล้ายคลึงกัน
ภาพฉายของเมริเดียนพาดบนทรงกลมท้องฟ้าจะปรากฏเป็นระบบวงกลมใหญ่
ซึ่งผ่านขั้วเหนือและขั้ว ใต้ของท้องฟ้า และเรียกว่า วงกลมชั่วโมง (hour
circles) เส้นศูนย์สูตรของโลก จะฉายขึ้นไปเป็นเส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า
(celestial equator) สำหรับรายละเอียดของการกำหนดตำแหน่งวัตถุท้องฟ้า
ในระบบเช่นนี้ จะได้กล่าวถึงในตอนต่อๆ ไป
การที่ท้องฟ้าปรากฏเป็นทรงกลมใหญ่ห่อหุ้มผู้สังเกตการณ์และโลกไว้โดยรอบนี้
ทำให้เราสามารถนำหลักเกณฑ์ของการบอกตำแหน่ง
วัตถุบนผิวโลก ไปใช้กับการบอกตำแหน่งของดาวบนท้องฟ้าได้
ตามภาพข้างล่าง เราเขียนรูปโลกให้อยู่ที่ศูนย์กลางของทรงกลมท้องฟ้า
เราอาจใช้จิตนาการ
ฉายภาพเส้นเมริเดียนบนพื้นผิวโลกขึ้นสู่ท้องฟ้าได้ในลักษณะคล้ายคลึงกัน
ภาพฉายของเมริเดียนพาดบนทรงกลมท้องฟ้าจะปรากฏเป็นระบบวงกลมใหญ่
ซึ่งผ่านขั้วเหนือและขั้วใต้ของท้องฟ้า
และเรียกว่า วงกลมชั่วโมง
(hour circles) เส้นศูนย์สูตรของโลกจะฉายขึ้นไปเป็น
เส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า
(celestial equator) สำหรับรายละเอียดของการกำหนดตำแหน่งวัตถุท้องฟ้า
ในระบบเช่นนี้จะได้กล่าวถึงในตอนต่อๆ
ไป |
|