สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน
เมนู เล่ม 1
|
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑ / เรื่องที่ ๔ นก / ปากนก
ปากนก
ปากนก
เนื่องจากมือหรือรยางค์ส่วนหน้าของนกเปลี่ยนไปเป็นปีก
สำหรับบิน ดังนั้น การจับหาอาหารจึงกลายเป็นหน้าที่ของ
ปากไป ปากนกจึงมีลักษณะผิดแปลกกันมาก ตามลักษณะ อาหารที่นกกิน
และมีหลายรูปหลายแบบ ดังนี้
|
|
๑.
ปากนกกระทุง : มีปากใหญ่ยาวมากสำหรับกินปลา
และยังมีถุงใต้คอสำหรับเก็บปลาไว้ด้วย
|
๒.
ปากนกเป็ด : กินปลา ปู
หอย สาหร่าย และวัชพืชในน้ำ
ปากจึงแบนและริมขอบๆ
ปากมักจะมีซี่เล็กๆ
คล้ายตะแกรงกรองอาหารออกจากน้ำด้วย |
 |
|
๓.
ปากนกกระสา นกกระยาง :
มักจะยาวแหลมเพื่อใช้คุ้ยจับปลาในน้ำ
ในโคลน |
|
๔.
ปากนกปากห่าง : ซึ่งกินหอยโข่งเป็นอาหาร
เป็นโพรงตรงกลางปาก
เพื่อจับหอยได้ถนัด
|
๕.
ปากเหยี่ยว : มักจะแหลม คม
งองุ้ม เพื่อใช้ในการฉีกเนื้อสัตว์ |
 |
๖.
ปากนกแก้ว : งองุ้มใหญ่ สำหรับฉีกผลไม้
เปลือกไม้ |
 |
|
๗.
ปากนกอีก๋อย นกกุลา : มักจะยาว
โค้ง เพื่อใช้ในการคุ้ยเขี่ยหาไส้เดือนหรือหนอน
ตามชายทะเล ตามโคลนเลน
|
 |
๘.
ปากนกกะฮัง (หรือนกเงือก) : ใหญ่และยาวมาก ใช้ในการกินผลไม้
แต่การที่นกเงือกมีปากใหญ่ยาวผิดปกติ เนื่องจากเอาไว้อวดตัวเมีย
หรืออวดกันเองมากกว่า |
 | ๙. ปากนกหัวขวาน : แข็งแรง และแหลมมาก
ใช้เคาะสับโขกต้นไม้ และมีลิ้นที่ยาวเหนียวมาก ใช้ในการจับตัวบุ้ง ตัวหนอน
และแมลง |
๑๐. ปากนกกินแมลง : มักจะแบน และกว้าง โคนปากมี "หนวด"
ยาว เพื่อใช้ในการจับแมลง |
 |
๑๑. ปากนกกระจอก นกกระจาบ : เป็นรูปกรวย
เพื่อใช้ในการขบวัชพืช |  | ๑๒. ปากนกกินปลี : มักจะยาว และโค้ง เพื่อใช้ดูดน้ำหวาน
ตามดอกไม้ |  |
 |
๑๓. ปากนกปากซ่อม : ยาวมาก และค่อนข้างอ่อนนุ่ม
เพื่อจะได้ไว้ใช้จับตัวแมลง ตัวหนอน ตามเลน ตามโคลน |
 |
๑๔. ปากนกอีโก้ง : มักจะหนา เป็นสันคมมาก
เพื่อใช้ในการขบกัดพวกธัญพืชต่างๆ ในน้ำ และใช้ในการขบกัด หอย ปู ปลาต่างๆ |
 |
๑๕. ปากนกอีกา : หนาเป็นสัน แต่ค่อนข้างยาวคม
เนื่องจากใช้ขบกัด หรือฉีกเนื้อสัตว์ต่างๆ กินเป็นอาหารด้วย
นอกจากอาหารอื่นๆ |
|