ผิวหนังและเกล็ดปกคลุมร่างกาย - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู เล่ม 1
เล่มที่ ๑
เรื่องที่ ๑ ดวงอาทิตย์
เรื่องที่ ๒ อุปราคา
เรื่องที่ ๓ ท้องฟ้ากลางคืน
เรื่องที่ ๔ นก
เรื่องที่ ๕ ปลา
เรื่องที่ ๖ เครื่องจักรกล
เรื่องที่ ๗ พลังงาน
เรื่องที่ ๘ อากาศยาน
เรื่องที่ ๙ ดนตรีไทย
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑ / เรื่องที่ ๕ ปลา / ผิวหนังและเกล็ดปกคลุมร่างกาย

 ผิวหนังและเกล็ดปกคลุมร่างกาย
ผิวหนังและเกล็ดปกคลุมร่างกาย
 
ปลามีผิวหนังเรียบอ่อนนุ่มคลุมตลอดลำตัว และมีต่อมขับเมือกโดยทั่วไป เมือกที่ขับออกมามีประโยชน์ ช่วยทำให้การเสียดสี และความฝืดลดลงในขณะที่ปลาว่ายน้ำ ปลาบางจำพวก เช่น ปลาไหลนา ปลากด ปลาแขยง และปลาดุก เป็นปลาที่ไม่มีเกล็ดปกคลุม จึงมีเมือกมาก แต่ปลา ส่วนใหญ่มีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว

เกล็ดปลาเกล็ดปลาแบบต่างๆ ที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน :เกร็ดแบบแกนอยด์เปลือกบาง พบในปลาที่มีอวัยวะคล้ายปอด

เกล็ดของปลามีหลายแบบด้วยกัน ในปลาจำพวกปลากระดูกอ่อน เช่น ฉลามและกระเบน ถ้าเราเอามือลูบจากทางหางไปส่วนหัว จะรู้สึกสากๆ ที่ทำให้รู้สึกสาก เพราะมือเราสัมผัสกับเกล็ด เล็กๆ ที่ปกคลุมรอบตัว เกล็ดของปลาดังกล่าวเป็นเกล็ดแบบแพลคอยด์ (placoid scales) ซึ่งมี ลักษณะคล้ายฟัน (ฟันของปลาฉลามก็คือส่วนที่เปลี่ยนแปลงมาจากเกล็ดนั่นเอง) เกล็ดแบบนี้ มีปลายเป็นหนามยื่นไปทางท้าย
เกล็ดปลา
เกล็ดปลาแบบต่างๆ ที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน : เกล็ดปลาแบบแกนอยด์เปลือกหนา พบในปลาการ์ในแหล่งน้ำจืดของทวีปอเมริกาเหนือ
ปลาน้ำจืดจำพวกการ์ (gars) ในทวีปอเมริกาเหนือ มีเกล็ดหนาๆ เรียงติดกันแต่ไม่ซ้อนกัน เกล็ดเหล่านี้มีสารเคมีจำพวกแกโนอีน (ganoine) อยู่ด้วย เราจึงเรียกเกล็ดชนิดนี้ว่าแกนอยด์ (ganoid scales) ในปลาโบราณบางชนิดซึ่งพบกลายเป็นซากติดอยู่ในหิน หรือเรียกว่า ซากดึกดำบรรพ์ (fossil) เป็นปลาจำพวกที่มีอวัยวะคล้ายปอดสำหรับหายใจ มีเกล็ดพิเศษปกคลุมร่างกายเรียกว่า คอสมอยด์ (cosmoid scales) มีลักษณะคล้ายเกล็ดแกนอยด์ แต่สารเคมีที่อยู่ในเกล็ดเป็นจำพวกคอสมีน (cosmine)
เกล็ดปลา
เกล็ดปลาแบบต่างๆ ที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน :เกล็ดปลาแบบแพลคอยด์ พบในปลาจำพวกฉลามและกระเบน
ปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน นอกจากปลาจำพวกฉลาม และกระเบน มีเกล็ดแบบไซคลอยด์ (cycloid) และทีนอยด์ (ctenoid) แล้ว ยังมีปลากระดูกแข็ง (Teleosts) ที่มีโครงครีบเป็นก้านอ่อน เช่น ปลาหลังเขียว (Sardinella spp.) ปลานวลจันทร์ทะเล (Chanos chanos) และปลาตะเพียน (carps) มีเกล็ดแบบไซคลอยด์ ซึ่งถ้าเรานำมาตรวจดูโดยแว่นขยายจะเห็นรอยบนเกล็ดปรากฏเป็นวงๆ ได้ชัด เจน วงเหล่านี้เราเรียกว่า "เซอร์คูไล" (circuli) สำหรับปลาที่อยู่ในเขตร้อนและเขตหนาว ระยะระหว่างวงแต่ละวง จะเห็นชัดเจนไม่เหมือนกัน ในหนึ่งรอบปีของอายุของปลา วงเหล่านี้บนเกล็ด อาจจะอยู่ชิดกันตอนหนึ่ง และอีกตอนหนึ่งห่างกัน ทำให้เกิดเห็นเป็นวงปี (annuli) ขึ้นบนเกล็ด ทั้งนี้ เพราะการเจริญเติบโตของปลาในเขตหนาวส่วนใหญ่ มีการเจริญเติบโตดี เฉพาะในฤดูที่มีอาหารการกิน อุดมสมบูรณ์ คือในฤดูใบไม้ผลิเท่านั้น นักชีวประมงจึงใช้ประโยชน์จากเกล็ด ในการทำนายอายุของปลาได้

เกล็ดปลาแบบต่างๆ ที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน : เกล็ดปลาแบบไซคลอยด์ พบในปลากระดูกแข็งขั้นต่ำ ซึ่งมีโครงครีบเป็นก้านอ่อน เช่น ปลากระโห้ เป็นต้น เกล็ดปลา

ปลากระดูกแข็งที่มีโครงครีบเป็นหนาม (spines) ส่วนใหญ่มีเกล็ดแบบทีนอยด์ หรือ ไซคลอยด์ เกล็ดทีนอยด์เป็นเกล็ดคล้ายเกล็ดไซคลอยด์ แต่ตรงขอบท้ายเกล็ดที่มองเห็นจากภาย นอกมีหนามเล็กแหลมอยู่ทั่วไป ตัวอย่างปลา ที่มีเกล็ดแบบทีนอยด์ ได้แก่ ปลากะพง (Lutianus spp.) ในทะเล และปลาเสือ (Toxotes chatarcus) ตามแม่น้ำในภาคกลาง ของประเทศไทย เฉพาะ ปลาชนิดหลังมีวิธีการหาอาหารแปลกกว่าปลาทั้งหมดเพราะมีความไวและสายตาดี จึงสามารถใช้ปากพ่นน้ำให้ถูกตัวแมลงที่เกาะอยู่สูงถึง ๑.๕๐ เมตร จากผิวน้ำร่วงลงน้ำแล้วกินได้
เกล็ดปลา
เกล็ดปลาแบบต่างๆ ที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน :เกร็ดปลาแบบทีนอยด์ พบในปลากระดูกแข็งชั้นสูง ซึ่งมีโครงครีบเป็นหนามแข็งเช่น ปลากระพง เป็นต้น
เกล็ดของปลากระดูกแข็งทั้งหลายไม่ได้เรียงกันเหมือนปลาฉลาม แต่ซ้อนกันแบบเราเอากระเบื้องมุงหลังคาบ้าน

ในปลาบางจำพวกอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงของเกล็ด เช่น เชื่อมติดกันเป็นแผ่นห่อหุ้มตัวปลา พบในปลาข้างใส (Centriscus spp.) หรือปลาเขาวัว ส่วนปลาปักเป้าเกล็ดจะเปลี่ยนเป็นหนามแหลม
ปลาเทพา
ปลาเทพาเป็นปลาน้ำจืดพวกไม่มีเกล็ด ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง พบเฉพาะในประเทศไทย เขตลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อาจเติบโตได้จนมีความยาวถึง ๓ เมตร
ปลาบางจำพวก เช่น ปลากระเบน ปลาดุกทะเล หรือปลาหัวโขนบริเวณผิวหนังบางส่วนจะ มีต่อมขับสารมีพิษ ต่อมเหล่านี้โดยมากจะอยู่ใกล้กับโคนก้านครีบแข็งหรือเงี่ยง ถ้าอวัยวะเหล่านี้ ทิ่มตำเข้า พิษจะถูกขับเข้าสู่แผล จะทำให้เกิดความเจ็บปวด อาจเกิดเป็นแผลเน่า และมีอันตรายถึงตายได้

ปลาเสือปลาเสือ เป็นปลาน้ำจืดประเภทเลี้ยงไว้ดู เพื่อความสวยงามชนิดหนึ่ง มีถิ่นอาศัยอยู่ในไทย บอร์เนียว สุมาตรา และกัมพูชา

ปลาที่อาศัยอยู่ในที่ลึกในมหาสมุทร มีหลายชนิดที่มีอวัยวะเรือง แสงอยู่บนลำตัวหรือหัว อวัยวะเหล่านี้มีประโยชน์แก่ปลา เพราะทำหน้าที่ล่อเหยื่อให้เข้ามาหา ช่วยในการมองเห็น ช่วย ป้องกันศัตรู และช่วยในการรวมกลุ่ม ต่อมเรืองแสงเป็นอวัยวะพิเศษ ที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยวิวัฒนาการมาจากต่อมขับเมือก ซึ่งอาจเป็นแสงที่ปลาทำขึ้นเอง หรือมาจากสิ่งมีชีวิตอื่นก็ได้
หัวข้อก่อนหน้าหัวข้อถัดไป