สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน
เมนู เล่ม 1
|
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑ / เรื่องที่ ๖ เครื่องจักรกล / สำหรับเด็กระดับเล็ก
สำหรับเด็กระดับเล็ก
ฟังเสียงอ่าน =>
รถไฟที่แล่นไปบนราง
เป็นขบวนยาวบ้าง
เป็นขบวนสั้นบ้าง
แต่ละขบวนเคลื่อนที่ไปได้เพราะมีหัวรถจักรที่มีกำลังมาก
ทำหน้าที่ลากจูงรถทั้งขบวนให้เคลื่อนที่ไป
เหมือนดังวัวลากเกวียนหรือม้าลากรถให้เคลื่อนที่ไปฉะนั้น
|
|
แต่หัวรถจักรที่ลากขบวนรถไฟ
แตกต่างไปจากวัวที่ลากเกวียน
หรือม้าที่ลากรถตรงที่หัวรถจักรเป็นสิ่งไม่มีชีวิต
แต่วัวและม้ามีชีวิต
สิ่งมีชีวิต
เช่น วัว ม้า หรือคน มีแรง
อาจผลักหรือลากสิ่งของให้เคลื่อนที่ไปได้
หัวรถจักรซึ่งเป็นสิ่งไม่มีชีวิต
ก็มีแรง
อาจผลัก หรือลากรถไฟทั้งขบวนให้เคลื่อนที่ไปได้เช่นกัน
แรงของหัวรถจักรประเภทไอน้ำ
ได้มาจากแรงดันของไอน้ำ
ในหม้อต้มน้ำ
ที่มีอยู่ในหัวรถจักรนั้น
ถ้าไม่มีฟืนหรือถ่านหินมาเผาให้น้ำร้อนและเดือดเป็นไอ
ก็ไม่เกิดแรงดัน
หัวรถจักรจะไม่เดิน
ซึ่งจะทำให้รถไฟทั้งขบวนหยุดนิ่งไปด้วย
|
|
แรงที่ได้จากความดันของไอน้ำนี้
ถูกส่งไปหมุนลูกล้อของหัวรถจักรโดยผ่านลูกสูบและข้อต่อต่างๆ
ส่วนที่ส่งแรงเหล่านี้เรียกว่า
เครื่องผ่อนแรง
ส่วนเครื่องประกอบอื่นๆ ที่ช่วยให้เครื่องเดินได้ต่อเนื่องกัน
และช่วยให้คนขับรถไฟควบคุมเครื่องได้นั้น
เราเรียกรวมกันว่า
ระบบอัตโนมัติ
เราเรียกหัวรถจักรของรถไฟว่าเป็น
เครื่องจักรกล
อย่างหนึ่ง
เครื่องจักรกล
ยังมีอีกหลายชนิด
การที่รถยนต์แล่นไปได้บนถนน
เครื่องบินสามารถบินไปได้ในอากาศ
ก็เพราะว่ารถยนต์และเครื่องบินต่างก็มีเครื่องจักรกลอยู่ภายใน
แต่เป็นเครื่องต่างชนิดกัน
ถึงแม้จะเป็นเครื่องจักรกลที่ไม่เหมือนกันก็ตาม
แต่ก็ยังมีส่วนคล้ายกันอยู่
คือต้องมีเชื้อเพลิง
เช่น น้ำมันที่ทำให้เกิดแรง
ต้องมีส่วนต่างๆ
ที่ส่งแรงไปขับดันให้รถยนต์
หรือ เครื่องบินเคลื่อนที่ไป
และต้องมีส่วนประกอบต่างๆ
ที่ทำให้เครื่องเดินต่อเนื่องกัน
โดยที่คนขับสามารถจะควบคุมได้ |
|