เครื่องบินไอพ่น
คือ
เครื่องบินที่ใช้เครื่องยนต์ไอพ่นเป็นบ่อเกิดแห่งกำลังผลักดันให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้า
การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงภายในเครื่องยนต์ จะเกิดก๊าซร้อนมาก
ซึ่งเมื่อพ่นออกมานั้นจะเกิดแรงดันไป ในทิศทางตรงกันข้ามอย่างมหาศาล
สามารถผลักดันให้เครื่องบินเคลื่อนที่ไปได้อย่างรวดเร็ว
อากาศในท้องฟ้าระยะสูงจะมีความหนาแน่นน้อยลง แรงปะทะต้านทานก็น้อยลงไปด้วย
แต่กำลังดันจากภายในเครื่องยนต์มิได้ลดน้อยลงเลย
ดังนั้นเครื่องบินไอพ่นจึงบินได้เร็วขึ้น ในระยะสูงขึ้นตามลำดับ
เพดานบินของเครื่องบินไอพ่นจึงสูงกว่าเครื่องบินธรรมดา
ตามปกติ คลื่นเสียงจะมีความเร็วประมาณ ๑,๒๐๐ กิโลเมตร ต่อหนึ่งชั่วโมง
เครื่องบินที่บินเร็วกว่านี้ จะได้ชื่อว่า เป็นเครื่องบินเร็วกว่าเสียง
ในทางเทคนิคเรียกความเร็วเท่าเสียงว่า มัค (Mach)
ถ้าบินได้เร็วเป็นสองเท่าหรือสามเท่าของเสียง ก็เรียกว่า มัค ๒ หรือ มัค ๓
ตามลำดับ เครื่องบินไอพ่นเท่านั้นที่สามารถทำความเร็วได้สูงเช่นนี้
ในขณะที่เครื่องบินไอพ่นดันอากาศไปข้างหน้านั้น
อากาศที่แหวกหนีไม่ทันก็จะถูกอัด หรือกดตัวเข้า
ดังที่อากาศถูกสูบอัดเข้าไปในยางล้อรถหรือในลูกฟุตบอล
ยิ่งเครื่องบินเร็วขึ้น การอัดตัวของอากาศก็ยิ่งมากขึ้น ณ
ความเร็วเท่ากับเสียง อากาศข้างหน้าจะแน่น แข็งตัวประหนึ่งกำแพง
โลหะกั้นไว้ กำแพงเสียงนี้ จะเคลื่อนเป็นคลื่นไปเรื่อยๆ จนถึงพื้น
จะเกิดเสียงดังสั่นสะเทือนที่เรียกว่า ซอนิคบูม (sonic boom)
เป็นเหตุให้บานกระจก ประตูหน้าต่างแตกไปได้ เครื่องบินไอพ่น
สมัยเริ่มแรกมิได้ศึกษาเรื่องนี้พอ
จึงสร้างไว้ให้มีความแข็งแรงอย่างธรรมดา เมื่อบินเร็วมากๆ
ถึงขั้นเจาะข้ามเขตกำแพงเสียง
เครื่องบินไอพ่นก็จะเกิดระเบิดพังทลายเป็นชิ้นเล็กๆ ตกลงมา
มีลักษณะเหมือนปาขวดแก้วให้แตกละเอียดที่กำแพงหิน
ดังนั้นเครื่องบินไอพ่นสมัยใหม่ ที่มีความเร็ว
ตั้งแต่หนึ่งเท่าของเสียงขึ้นไป
จึงต้องมีโครงสร้างเป็นโลหะที่แข็งแรงเป็นพิเศษ |

เครื่องบินไอพ่นขนาดใหญ่แบบจัมโบเจ็ต สำหรับโดยสาร ในกิจการพลเรือน |
ยังมีเครื่องบินอีกประเภทหนึ่ง
เป็นเครื่องบินไอพ่นซึ่งสามารถขึ้นและลงตรงๆ ในทางดิ่งได้
คุณลักษณะอันนี้ เกิดจากการใช้เครื่องยนต์ไอพ่นพุ่งลงมาข้างล่าง
ต่อเมื่อเครื่องพุ่งขึ้นได้ระยะ สูงปลอดภัยแล้ว
นักบินจึงบังคับให้ท่อไอพ่นหมุน เพื่อพ่นไอเสียไปข้างหลัง
จะได้ผลักให้ตัวเครื่องบินเคลื่อนที่ไปข้างหน้า เครื่องบินไอพ่นแบบนี้
ไม่ต้องมีทางวิ่ง
จึงใช้ประโยชน์ได้ดีมาก
บนเรือบรรทุกเครื่องบินซึ่งมีดาดฟ้าที่คับแคบอยู่แล้ว
ข้อเสียเปรียบก็มีอยู่ว่า
ยังไม่สามารถสร้างเครื่องบินไอพ่นแบบนี้ให้บินได้นานๆ และไกลๆ
เท่าเครื่องบินไอพ่นธรรมดา
 |
เครื่องบินแบบคองคอร์ด (concord)
สำหรับโดยสารในกิจการพลเรือน |
เครื่องบินทหาร ต่างกับเครื่องบินพลเรือนอยู่ตรงหน้าที่หรือภารกิจ
พลเรือนต้องการใช้ เครื่องบินเป็นพาหนะ สะดวกสบาย และปลอดภัย
การสร้างจึงมีเกณฑ์ปลอดภัยเพียงห้าเท่าของน้ำ หนักบรรทุกก็พอแล้ว นั่นคือ
เมื่อเครื่องบินเข้าไปในพายุฝน อาจถูกกระแสลมพัดขึ้น
หรือตกหลุมอากาศขนาดใหญ่ มีแรงกระแทกไดนามิก (dynamic)
เป็นสองสามเท่าของน้ำหนัก
ก็ยังทนบินฝ่าไปได้อย่างปลอดภัย ส่วนทหารนั้น
นอกจากต้องการให้เครื่องบินทนแรงพายุได้แล้ว ยังต้องทนแรงความโน้มถ่วง
ในการบินผาดโผนฉวัดเฉวียนห้อยหัวพลิกตัว
ซึ่งเปลี่ยนทิศทางบินในทันทีทันใด
และเพิ่มความโน้มถ่วงมาก ในขณะรบพุ่งกันในอากาศ
ดังนั้นจึงต้องสร้างให้มีเกณฑ์ปลอดภัยถึงสิบสองเท่าของน้ำหนักบรรทุก
นั่นหมายความว่า ต้องมีความแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ
นอกเหนือไปจากเครื่องป้องกันอื่นๆ เช่น เกราะ
หรือถังน้ำมันที่ทำด้วยยาง ซึ่งจะปิดรูรั่วเองได้ในเมื่อถูกยิงทะลุในการรบ
เป็นต้น |

เครื่องบินแบบคองคอร์ด
(concord)
สำหรับโดยสารในกิจการพลเรือน |
พัฒนาการในเรื่องการบินที่น่าสนใจในปัจจุบันอีกเรื่องหนึ่ง คือ มนุษย์จรวด
อากาศยานเป็นพาหนะพามนุษย์เดินทางไปในอากาศได้
และเราสามารถคิดสร้างอากาศยานที่บินไปได้เร็วกว่าเสียงแล้ว
แต่ก็ยังไม่มีใครสามารถคิดสร้างอากาศยาน
ที่มีขนาดเล็กขนาดเบากว่ามนุษย์คนหนึ่ง
หรือที่มนุษย์คนหนึ่งจะยกขึ้นได้เลย |
 เครื่องบินทหารกำลังเกาะหมู่วิ่งขึ้น |
บัดนี้มีผู้สามารถประดิษฐ์กลจักรไอพ่นขนาดเล็ก หนักเพียง ๖๗ ปอนด์
สามารถให้แรงดันถึง ๔๓๐ ปอนด์ มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง ๑ ฟุต
และมีความยาวเพียง ๒ ฟุตเท่านั้น เราเรียกคนที่จะเดินทางไปในอากาศ ด้วยกลจักรไอพ่นขนาดเล็กดังกล่าวนี้ว่า มนุษย์จรวด
เปรียบเทียบขนาดเครื่องยนต์ไอพ่นของมนุษย์จรวดกับจัมโบเจ็ด
(Jumbo jet)
โดยผู้หญิงสามารถอุ้มเข้าไปยืนในกรอบหน้าของเครื่องยนต์จัมโบเจ็ตได้ |  |
เท่าที่ทดลองได้ผลมาแล้ว
มนุษย์จรวดติดเครื่องยนต์ไอพ่นไว้ที่หลังตอนเหนือบ่าเล็กน้อย
มือทั้งสองจับเครื่องบังคับเร่งเครื่องยนต์ไอพ่น ดันตัวเหาะไปในอากาศ
ได้ระยะทางไกลถึง ๑๐ ไมล์ ด้วยความเร็ว ๖๐ ไมล์ต่อชั่วโมง
มนุษย์จรวดสามารถบินขึ้นลงในทางดิ่งเคลื่อนที่ไปตามแนวระดับ ในอากาศ
เลี้ยวร่อนไปมาได้สะดวกในลมที่มีความเร็วพัดอยู่ถึง ๓๐ ไมล์ต่อชั่วโมง
น้ำมันเชื้อ เพลิงที่ใช้ก็คือ เจพี ๔
ที่ใช้กับเครื่องยนต์ไอพ่นธรรมดานี้เอง
|