ลำดับเสียง - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู เล่ม 1
เล่มที่ ๑
เรื่องที่ ๑ ดวงอาทิตย์
เรื่องที่ ๒ อุปราคา
เรื่องที่ ๓ ท้องฟ้ากลางคืน
เรื่องที่ ๔ นก
เรื่องที่ ๕ ปลา
เรื่องที่ ๖ เครื่องจักรกล
เรื่องที่ ๗ พลังงาน
เรื่องที่ ๘ อากาศยาน
เรื่องที่ ๙ ดนตรีไทย
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑ / เรื่องที่ ๙ ดนตรีไทย / ลำดับเสียง

 ลำดับเสียง
ลำดับเสียง

เสียงของเครื่องดนตรีที่จะบรรเลงเป็นทำนองนั้น จะต้องมีเสียงสูงต่ำเรียงลำดับกันหลายๆ เสียง โดยปกติก็มีอยู่ ๗ เสียง เมื่อถึงเสียงที่ ๘ ก็ถือว่าเป็นเสียงซ้ำกับเสียงที่ ๑ (เรียกว่า คู่ ๘) และซ้ำต่อๆ ไปตามลำดับ แต่ระยะความห่างจากเสียงหนึ่งไปอีกเสียงหนึ่งนั้น ดนตรีของแต่ละ ชาติมักจะนิยมแบ่งระยะไม่เหมือนกัน ส่วนการแบ่งระยะเสียงเรียงลำดับของดนตรีไทยนั้น แบ่ง ความห่างของเสียงเท่าๆ กันทั้ง ๗ เสียง จากเสียงที่ ๑ ไปเสียงที่ ๒ จากเสียงที่ ๒ ไปเสียงที่ ๓ จาก ๓ ไป ๔ จาก ๔ ไป ๕ จาก ๕ ไป ๖ จาก ๖ ไป ๗ และ จาก ๗ ไป ๘ ทุกๆ ระยะ เท่ากันหมด ถ้าจะเปรียบเทียบกับมาตราเสียง (scale) ของดนตรีสากล ในบันไดเสียง C. major ซึ่ง เป็นบันไดเสียงที่ใช้อยู่เป็นสามัญ ก็จะเป็นรูปดังนี้



เพราะฉะนั้น ถ้าพบเห็นตัวอย่างต่างๆ ซึ่งบันทึกเป็นโน๊ตสากลในสารานุกรม ฯ นี้ขอให้เข้าใจว่า เป็นการลำดับมาตราเสียงอย่างไทย คือ ห่างเท่าๆ กันทุกระยะ ที่ใช้โน๊ตสากลก็เพียงโดยอนุโลมเท่านั้น

เสียงของเครื่องดนตรีไทยต่างๆ ที่ผสมเป็นวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย และวงมโหรี โดย เฉพาะเครื่องที่บรรเลงเป็นทำนอง มีเขตเสียงทางสูงและทางต่ำต่างๆ กัน ถ้าจะเทียบกับโน๊ตสากล โดยอนุโลม ก็จะมีดังนี้

แผนที่เสียงเครื่องดนตรีไทย
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป