การวินิจฉัยโรคภูมิแพ้ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 10
เล่มที่ ๑๐
เรื่องที่ ๑ โรคทาง อายุรศาสตร์
เรื่องที่ ๒ โรคติดต่อ และโรคเขตร้อน
เรื่องที่ ๓ โรคภูมิแพ้
เรื่องที่ ๔ โรคผิวหนัง ที่พบบ่อยในประเทศไทย
เรื่องที่ ๕ โรคตา
เรื่องที่ ๖ โรคหู คอ จมูก
เรื่องที่ ๗ จิตเวชศาสตร์ และ สุขภาพจิต
เรื่องที่ ๘ สิ่งแวดล้อม และ สุขภาพ
เรื่องที่ ๙ การออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพ
เรื่องที่ ๑๐ การปลูกกระดูกข้ามคน
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๐ / เรื่องที่ ๓ โรคภูมิแพ้ / การวินิจฉัยโรคภูมิแพ้

 การวินิจฉัยโรคภูมิแพ้
การวินิจฉัยโรคภูมิแพ้

ใช้วิธีการเหมือนโรคอื่นๆ คือ อาศัยประวัติการตรวจร่างกาย และอาจต้องใช้ข้อมูลจากห้องปฏิบัติการด้วย สำหรับการหาสาเหตุว่า ผู้ป่วยแพ้สิ่งหนึ่งสิ่งใดนั้น สิ่งที่สำคัญคือ การสังเกตของผู้ป่วยเองอย่างละเอียดถี่ถ้วนว่า อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น น่าจะสัมพันธ์กับสิ่งใด การทดสอบทางผิวหนังอาจช่วยทำให้แน่ใจขึ้น สำหรับโรคภูมิแพ้ที่มีปฏิกิริยาแสดงอย่างรวดเร็ว เช่น หืด จมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือการแพ้แมลงต่อย อาจทดสอบด้วยวิธีใช้เข็มสะกิด ผ่านน้ำยาทดสอบที่หยดบนผิวที่หยดบนผิวหนัง (prick หรือ scratch test) หรือวิธีฉีดน้ำยาที่สงสัยเข้าผิวหนัง (intracutaneous test) แล้วดูปฏิกิริยาภายในเวลา ๑๕-๒๐ นาที ส่วนโรคภูมิแพ้ที่แสดงปฏิกิริยาล่าช้า เช่น ผิวหนังอักเสบจากกาสัมผัส ใช้วิธีเอาสารสกัดจากสิ่งที่สงสัยมาปิด (patch test) ไว้ที่ผิวหนัง ทิ้งไว้ และอ่านผลภายในเวลา ๒๔-๔๘ ชั่วโมง การทดสอบเป็นเพียงเครื่องช่วยหาสาเหตุสำหรับใช้ประกอบประวัติ เพื่อให้การวินิจฉัยมีความถูกต้องมากขึ้นเท่านั้น
การทดสอบโรคภูมิแพ้โดยวิธีใช้เข็มสะกิดผ่านน้ำยาทดสอบที่หยดบนผิวหนัง
การทดสอบโรคภูมิแพ้ โดยวิธีใช้เข็มสะกิดผ่านน้ำยาทดสอบ ที่หยดบนผิวหนัง
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป