สำหรับเด็กระดับกลาง - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 10
เล่มที่ ๑๐
เรื่องที่ ๑ โรคทาง อายุรศาสตร์
เรื่องที่ ๒ โรคติดต่อ และโรคเขตร้อน
เรื่องที่ ๓ โรคภูมิแพ้
เรื่องที่ ๔ โรคผิวหนัง ที่พบบ่อยในประเทศไทย
เรื่องที่ ๕ โรคตา
เรื่องที่ ๖ โรคหู คอ จมูก
เรื่องที่ ๗ จิตเวชศาสตร์ และ สุขภาพจิต
เรื่องที่ ๘ สิ่งแวดล้อม และ สุขภาพ
เรื่องที่ ๙ การออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพ
เรื่องที่ ๑๐ การปลูกกระดูกข้ามคน
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๐ / เรื่องที่ ๖ โรคหู คอ จมูก / สำหรับเด็กระดับกลาง

 สำหรับเด็กระดับกลาง
เมื่อมีน้ำมูก ไม่ควรสั่งน้ำมูกแรงๆ เพราะน้ำมูก หนอง หรือเชื้อโรคที่อยู่กับน้ำมูก อาจทะลักเข้าสู่ช่องที่ติดต่อกับหูชั้นกลาง หรือเข้าสู่ช่องโพรงอากาศในกระดูกรอบจมูกหรือไซนัส ทำให้เกิดโรค และแพร่เชื้อโรคกระจายมากขึ้น โรคเหล่านี้มักจะเป็นนานและรักษายาก

ที่บริเวณลำคอ มีต่อมน้ำเหลืองใหญ่อยู่คู่หนึ่งคือ ต่อมทอนซิล ต่อมนี้ป้องกันเชื้อโรคที่ติดเข้ามากับอากาศ อาหาร และน้ำ ดังนั้นถ้ามีเชื้อโรคต่อมจะอักเสบ ถ้าอาการรุนแรงมากอาจเป็นหนอง และลุกลามไปยัง บริเวณใกล้เคียง เช่น หูชั้นกลาง เพราะมีท่อติดต่อกันได้

โรคหรืออันตรายของหู นอกจากจะมาจากอันตรายที่หูได้รับโดยตรง จากหูชั้นนอก เช่น ใบหู และแก้วหู ได้รับการกระทบกระเทือน เชื้อโรคเข้า เพราะการแคะหูด้วยไม้แคะหูที่ไม่สะอาดแล้ว ยังมีสาเหตุจากการที่หูมีท่อติดต่อกับส่วนอื่นๆ อีก
ขณะเครื่องบินขึ้นและลงจะเกิดความดันที่แตกต่างกันระหว่างหูชั้นกลางและภายนอกอาจทำให้ปวดหูและหูอื้อได้
ขณะเครื่องบินขึ้นและลงจะเกิดความดันที่แตกต่างกันระหว่างหูชั้นกลางและภายนอกอาจทำให้ปวดหูและหูอื้อได้
ถ้าความดันในหูชั้นกลางกับภายนอกแตกต่างกัน จะเกิดอันตรายต่อหูชั้นกลางได้ เช่น ขณะที่เครื่องบินขึ้นหรือลง จะเกิดความดันในช่องหูชั้นกลางกับภายนอกต่างกันอย่างเร็ว ร่างกายปรับไม่ทัน เราจะปวดหู และหูอื้อ ควรเคี้ยวหมากฝรั่ง หรือทอฟฟี่ เพราะการเคี้ยวและกลืน จะทำให้ท่อที่ต่อระหว่างช่องหูชั้นกลาง และลำคอเปิด ซึ่งเป็นการปรับความดันให้เท่ากัน
หูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน แบ่งแยกด้วยสี
หูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน แบ่งแยกด้วยสี
ถ้ามีเชื้อโรคในหูชั้นกลาง ซึ่งอาจได้รับจากหูชั้นนอก หรือจากทางอื่น จะเกิดการอักเสบในช่องหูชั้นกลาง จะได้ยินเสียงน้อยลง หรือเกิดแก้วหูทะลุ มีน้ำหนองไหล หากเป็นมากน้ำหนองจะมีกลิ่นเหม็น และกระดูกหูทั้งสามชิ้นในหูชั้นกลางอาจจะถูกทำลายเสียไป

หูชั้นในมี ๒ ส่วน คือ ส่วนที่รับเสียง และส่วนที่ควบคุมการทรงตัว เมื่อเกิดโรคที่ทำอันตรายต่อหูชั้นในส่วนที่รับเสียง ผู้ป่วยจะฟังเสียงต่างๆ ไม่ชัดเจน ถ้าเป็นตั้งแต่เล็กๆ อาจหูหนวก เป็นใช้ หูตึง และหัดพูดได้ช้ากว่าคนอื่นๆ หากหูชั้นในส่วนที่ควบคุมการทรงตัวเกิดการอักเสบ หรือได้รับบาดเจ็บ อาจทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ และเดินเซได้

วิธีที่จะป้องกันหู คอ จมูก ปาก และอวัยวะที่ติดต่อกันไม่ให้เกิดโรค คือ ป้องกันไม่ให้เชื้อโรค สิ่งมีพิษ และสิ่งที่ทำให้เกิดการแพ้เข้าทางหู คอ จมูก ปาก และป้องกันการบาดเจ็บจากการถูกของมีคม หรือของแข็งตามที่กล่าวมาแล้ว

การช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคต่างๆ ได้ง่าย และถ้าเป็นก็จะหายเร็ว คือ ทำให้ร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพดี มีภูมิต้านทางโรคดี หายใจในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และนอนพักผ่อนให้เพียงพอ
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป