โครงสร้างของหู - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 10
เล่มที่ ๑๐
เรื่องที่ ๑ โรคทาง อายุรศาสตร์
เรื่องที่ ๒ โรคติดต่อ และโรคเขตร้อน
เรื่องที่ ๓ โรคภูมิแพ้
เรื่องที่ ๔ โรคผิวหนัง ที่พบบ่อยในประเทศไทย
เรื่องที่ ๕ โรคตา
เรื่องที่ ๖ โรคหู คอ จมูก
เรื่องที่ ๗ จิตเวชศาสตร์ และ สุขภาพจิต
เรื่องที่ ๘ สิ่งแวดล้อม และ สุขภาพ
เรื่องที่ ๙ การออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพ
เรื่องที่ ๑๐ การปลูกกระดูกข้ามคน
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๐ / เรื่องที่ ๖ โรคหู คอ จมูก / โครงสร้างของหู

 โครงสร้างของหู
โครงสร้างของหู

หูแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ

หูชั้นนอก

ประกอบด้วยใบหู ช่องหูชั้นนอก และแก้วหู ผิวหนังใบหูยื่นเข้าไปบุช่องหูชั้นนอก และแก้วหู แก้วหูเป็นเยื่อบางมาก รูปร่างเกือบเป็นวงกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๘-๙ มิลลิเมตร หนาประมาณ ๐.๑ มิลลิเมตร

หูชั้นกลาง

เป็นโพรงอากาศขนาดเล็กติดต่อกับโพรงอากาศมาสทอยด์ (mastoid cavity) หลังหูมีช่องติดต่อกับบริเวณคอหลังจมูก โดยท่อยูสเตเชียน (eustachian tube) ในหูชั้นกลางมีกระดูนำเสียง ๓ ชิ้น คือ ค้อน ทั่ง และโกลน ติดต่อจากแก้วหูไปที่ช่องรูปรี (oval window) ในหูชั้นกลางทั้งหมดบุด้วยเยื่อเมือก

หูชั้นใน

มีอวัยวะประสาทสัมผัส ๒ อย่างฝังอยู่ในกระดูกที่แข็งแรงมาก คือ อวัยวะรูปหอยโข่ง (cochilea) ทำหน้าที่รับเสียง และอวัยวะหลอดกึ่งวง (semicircular canal) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว ในหูชั้นในมีน้ำหล่อเลี้ยงอวัยวะสัมผัสทั้งสอง เป็นระบบเดียวกัน และติดต่อถึงกัน หูชั้นในมีช่องเปิดเข้าหูชั้นกลาง ๒ อัน คือ ช่องรูปรีซึ่งมีฐานของกระดูกโกลนปิดอยู่ โดยมีเยื่อบางๆ ยึดไว้ และช่องรูปกลม (round window) ซึ่งมีเยื่อบางๆ ปิดไว้ ช่องทั้งสองเป็นตำแหน่งให้เสียงเข้าออกหูชั้นใน และป้องกันไม่ให้น้ำหล่อเลี้ยงหูชั้นในไหลออกมาด้วย

หูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน
หูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป