โรคภูมิแพ้ของกล่องเสียง - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 10
เล่มที่ ๑๐
เรื่องที่ ๑ โรคทาง อายุรศาสตร์
เรื่องที่ ๒ โรคติดต่อ และโรคเขตร้อน
เรื่องที่ ๓ โรคภูมิแพ้
เรื่องที่ ๔ โรคผิวหนัง ที่พบบ่อยในประเทศไทย
เรื่องที่ ๕ โรคตา
เรื่องที่ ๖ โรคหู คอ จมูก
เรื่องที่ ๗ จิตเวชศาสตร์ และ สุขภาพจิต
เรื่องที่ ๘ สิ่งแวดล้อม และ สุขภาพ
เรื่องที่ ๙ การออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพ
เรื่องที่ ๑๐ การปลูกกระดูกข้ามคน
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๐ / เรื่องที่ ๖ โรคหู คอ จมูก / โรคภูมิแพ้ของกล่องเสียง

 โรคภูมิแพ้ของกล่องเสียง
โรคภูมิแพ้ของกล่องเสียง

โรคภูมิแพ้ที่กล่องเสียงทำให้เกิดอาการเสียงแหบแบ่งได้เป็น ๒ ประเภท คือ

๑. กล่องเสียงอักเสบจากภูมิแพ้ชนิดเฉียบพลัน

กล่องเสียง และสายเสียงบวมอย่างเฉียบพลัน รู้สึกอึดอัดคล้ายมีก้อนในคอ เสียงแหบ ตามด้วยกล่องเสียงอุดกั้น หายใจไม่ออกและตายได้ถ้ารักษาไม่ทัน สารก่อภูมิแพ้ที่ทำให้เกิดโรคนี้ตามที่มีผู้รายงานแล้ว มีหลายชนิด ได้แก่ อาหารบางชนิด เช่น เนื้อวัว มะม่วง และหมากฝรั่ง ยาบางชนิด เช่น แอสไพริน เพนิซิลลิน ยาฉีด และวัคซีนบางชนิด นอกจากนี้สารก่อภูมิแพ้ชนิดสูดดม ตลอดจนยุงกัด หรือผึ้งต่อย ก็ทำให้เกิดโรคนี้ได้

๒. กล่องเสียงอักเสบจากภูมิแพ้ชนิดเรื้อรัง

กล่องเสียงบวมไม่มาก อาการเกิดขึ้นช้าๆ มีเสียงแหบ แต่หายใจไม่ติดขัด สารก่อภูมิแพ้ที่เป็นต้นเหตุ มีได้ทั้งชนิดที่หายใจเข้าไป และชนิดที่รับประทานเข้าไป ซึ่งมีอาหารหลายอย่าง รวมทั้งยาหลายประเภทด้วย
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป