สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน
เมนู 10
|
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๐ / เรื่องที่ ๖ โรคหู คอ จมูก / สิ่งแปลกปลอมในจมูก
สิ่งแปลกปลอมในจมูก
สิ่งแปลกปลอมในจมูก
สิ่งแปลกปลอมในจมูกส่วนมากพบในเด็ก
โดยที่เด็กหยิบใส่เข้าไปเองทางรูจมูก ของที่โตกว่ารูจมูกจึงเข้าได้ยาก ที่พบบ่อยๆ ได้แก่ เมล็ดผลไม้ เช่น
เมล็ดแตงโม พุทรา ละมุด ลำไย เศษยางลบ กระดาษ สำลี ชิ้นส่วนของเล่น
ลูกกระดุม ลูกปัด และเศษก้อนหิน
ส่วนที่เข้าทางช่องจมูกด้านหลังที่พบได้เป็นพวกเศษอาหารที่สำลักเข้าไป
บาดแผลบริเวณจมูก หรือใบหน้าอาจมีเศษไม้ สะเก็ดระเบิด ลูกปืนติดอยู่ได้
ในผู้ใหญ่อาจพบนิ่วในจมูก ซึ่งบางรายก้อนโตมาก และขรุขระตามลักษณะโพรงจมูก
| 
สิ่งแปลกปลอมที่พบบ่อยมากในจมูกเด็ก แพทย์กำลังแคะออก | มีอาการหนองไหล มีกลิ่นเหม็นออกจากจมูกข้างเดียว
เป็นอาการเฉพาะของสิ่งแปลกปลอมในจมูกเด็ก
สำหรับผู้ใหญ่นอกจากหนองแล้ วยังมีเลือดปนด้วย
ต้องนึกถึงโรคมะเร็งของจมูก หรือไซนัสด้วย นอกจากนี้ยังมีอาการเลือดกำเดาไหล
คัดจมูก เป็นแผลรอบๆ จมูก และอาจมีไข้ต่ำๆ หรือปวดศีรษะ
| การได้ประวัติเด็กใส่ของเข้าจมูกจะช่วยในการวินิจฉัยได้มาก
ถ้าไม่ได้ประวัติก็อาศัยอาการต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว ดูดหนองจากโพรงจมูกแล้ว
มักจะเห็นสิ่งแปลกปลอมได้
ถ้าเอกซเรย์โพรงจมูกจะเห็นสิ่งแปลกปลอมประเภทที่ทึบแสงรังสีได้
สิ่งแปลกปลอม ส่วนมากจะติดอยู่บริเวณฐานของโพรงจมูก
ใต้กระดูกเทอร์บิเนตอันล่าง ซึ่งเป็นตำแหน่งที่แคบล้อมรอบด้วยกระดูกแข็ง
อยู่ไม่ลึกนัก และมองเห็นได้ง่าย ถ้าชิ้นเล็กอาจเข้าไปลึก มองเห็นยาก
และติดอยู่นาน ถ้าชิ้นเล็ก และอยู่ลึก อย่าพยายามเอาออกเอง ควรไปพบแพทย์
การป้องกัน
ควรระมัดระวังในการเลี้ยงดูเด็ก เศษของต่างๆ
ต้องเก็บทิ้ง ไม่ให้เด็กหยิบได้ โดยเฉพาะเมล็ดผลไม้ต่างๆ
ชิ้นส่วนของใช้ หรือของเล่นที่แตกหัก ระหว่างการรับประทานอาหารอย่าหัวเราะ
หรือเร่งรีบจนสำลักอาหาร ซึ่งเศษอาหารเข้าจมูกทางช่องด้านหลังจมูกได้ |
|