การทดสอบทางจิตวิทยา - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 10
เล่มที่ ๑๐
เรื่องที่ ๑ โรคทาง อายุรศาสตร์
เรื่องที่ ๒ โรคติดต่อ และโรคเขตร้อน
เรื่องที่ ๓ โรคภูมิแพ้
เรื่องที่ ๔ โรคผิวหนัง ที่พบบ่อยในประเทศไทย
เรื่องที่ ๕ โรคตา
เรื่องที่ ๖ โรคหู คอ จมูก
เรื่องที่ ๗ จิตเวชศาสตร์ และ สุขภาพจิต
เรื่องที่ ๘ สิ่งแวดล้อม และ สุขภาพ
เรื่องที่ ๙ การออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพ
เรื่องที่ ๑๐ การปลูกกระดูกข้ามคน
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๐ / เรื่องที่ ๗ จิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิต / การทดสอบทางจิตวิทยา

 การทดสอบทางจิตวิทยา
การทดสอบทางจิตวิทยา

ผู้ทำการทดสอบเป็นนักจิตวิทยาคลินิก (clinical psychologist) ซึ่งได้รับการฝึกฝนอบรมมาโดยเฉพาะ ใช้เวลาทดสอบประมาณ ๑-๓ ชั่วโมง นักจิตวิทยาคลินิกสามารถแปลผลรวมจากการทดสอบ เพื่อให้ทราบระดับเชาวน์ปัญญา ลักษณะบุคลิกภาพ ความขัดแย้งทางใจ ลักษณะที่ส่อว่า ผู้ถูกทดสอบเป็นโรคจิต เป็นต้น เครื่องมือที่ใช้ทดสอบมีหลายชนิด เช่น แบบคำถาม-คำตอบ แบบอธิบายแผ่นภาพชุดตามความนึกคิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นความขัดแย้งทางใจ ความคิดเพ้อฝัน ความกังวล ความเศร้า ความไม่ปกติของความคิด เช่น แบบแผ่นภาพหมึกหยด เป็นรูปอิสระ แล้วแต่ใครจะเห็นเป็นรูปอะไร ซึ่งเรียกว่า การทดสอบแบบรอส์สชาค (Rorschach's test) แบบเล่าเรื่องราวที่ผู้ถูกทดสอบผูกขึ้นจากรูปภาพที่เป็นมาตรฐาน (T.A.T. หรือ thematic apperception test) และอื่นๆ การทดสอบในเด็กและผู้ใหญ่ใช้แบบทดสอบแตกต่างกัน ผู้ได้รับการฝึกฝนจนมีทักษะแล้ว จึงจะสามารถแปลผลการทดสอบนี้ได้ถูกต้อง แบบทดสอบและการแปลผล มีมาตรฐานสากล ซึ่งใช้เหมือนกันทั่วโลก แต่ก็มีบางส่วนที่ปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมซึ่งแตกต่างกัน

รูปภาพมาตรฐานที่ใช้ทดสอบทางจิตวิทยา แบบเล่าเรื่องราว ตามแต่ผู้ได้รับการทดสอบจะผูกเรื่องขึ้น

หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป