การใช้ไมโครโปรเซสเซอร์เข้าช่วยคนตาบอด - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 11
เล่มที่ ๑๑
เรื่องที่ ๑ วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
เรื่องที่ ๒ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
เรื่องที่ ๓ ระบบการสั่งงานคอมพิวเตอร์
เรื่องที่ ๔ การประยุกต์คอมพิวเตอร์
เรื่องที่ ๕ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ
เรื่องที่ ๖ สิ่งประดิษฐ์จากพัฒนาการด้านคอมพิวเตอร์
เรื่องที่ ๗ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม
เรื่องที่ ๘ ผลของการใช้คอมพิวเตอร์
เรื่องที่ ๙ การพัฒนาอักษรไทยในเครื่องคอมพิวเตอร์
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๑ / เรื่องที่ ๖ สิ่งประดิษฐ์จากพัฒนาการด้านคอมพิวเตอร์ / การใช้ไมโครโปรเซสเซอร์เข้าช่วยคนตาบอด

 การใช้ไมโครโปรเซสเซอร์เข้าช่วยคนตาบอด
การใช้ไมโครโปรเซสเซอร์เข้าช่วยคนตาบอด
 
ได้มีการนำเอาเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์เข้าช่วยคนตาบอดอ่านหนังสือ เครื่องช่วยคนตาบอดอ่านหนังสือมีชื่อว่า เครื่องอ่านเคิร์ซวิล (Kurzweil reading machine) มีราคาแพงมากประมาณ ๒๐,๐๐๐ ดอลลาร์ ต่อมา ได้มีการประดิษฐ์เครื่องอ่านแบบสัมผัส เรียกว่า ออพทาคอน (Optacon = a tactile reading device) ซึ่งมีราคาถูกลง
ในปัจจุบัน ได้มีการนำเอาไมโครโปรเซสเซอร์เข้ามาช่วย ทำให้สามารถประดิษฐ์เครื่องอ่าน ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และจากการใช้กล้องถ่ายโทรทัศน์ อ่านหนังสือทีละบรรทัดเข้าประกอบ สามารถทำให้เกิดการเปล่งเสียงออกมา เป็นคำพูดมาตรฐาน มีการออกเสียงหนักเบา และเว้นจังหวะที่เหมาะสมได้ ทั้งนี้ ด้วยไมโครโปรเซสเซอร์ ซึ่งชุดคำสั่งเก็บไว้ในรอม
นอกจากนี้ได้มีการค้นคว้าเพื่อนำเอาสัญญาณจาก เครื่องอ่านเข้ากระตุ้นสมองส่วนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเห็น โดยใช้ขั้วไฟฟ้า (electrode) และแพลทินัม (platinum) ๖๔ อันเรียงกันเป็นเมทริกซ์ (matrix) ๘ x ๘ ฝังไว้ในกะโหลกศีรษะเหนือหู ให้สัมผัสส่วนสมอง และใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ เข้าควบคุมสัญญาณที่ส่งเข้าขั้วไฟฟ้าเหล่านั้น ทำให้คนตาบอดสามารถมองเห็นโครงร่างของภาพ รวมทั้งตัวหนังสือได้ และคาดหวังกันว่า ในอนาคต อาจสามารถติดตั้งกล้องถ่ายโทรทัศน์เล็กๆ ไว้ที่แก้วตาของคนตาบอดได้  
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป