การใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ควบคุมเครื่องปรับอากาศ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 11
เล่มที่ ๑๑
เรื่องที่ ๑ วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
เรื่องที่ ๒ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
เรื่องที่ ๓ ระบบการสั่งงานคอมพิวเตอร์
เรื่องที่ ๔ การประยุกต์คอมพิวเตอร์
เรื่องที่ ๕ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ
เรื่องที่ ๖ สิ่งประดิษฐ์จากพัฒนาการด้านคอมพิวเตอร์
เรื่องที่ ๗ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม
เรื่องที่ ๘ ผลของการใช้คอมพิวเตอร์
เรื่องที่ ๙ การพัฒนาอักษรไทยในเครื่องคอมพิวเตอร์
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๑ / เรื่องที่ ๖ สิ่งประดิษฐ์จากพัฒนาการด้านคอมพิวเตอร์ / การใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ควบคุมเครื่องปรับอากาศ

 การใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ควบคุมเครื่องปรับอากาศ
การใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ควบคุมเครื่องปรับอากาศ

โดยทั่วไป เครื่องปรับอากาศทำหน้าที่ปรับอุณหภูมิ และความชื้นของอากาศ การใช้ไมโครโพรเซสเซอร์เข้าควบคุม จะช่วยทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานมีประสิทธิภาพ และประหยัดขึ้น โดยใช้เทอร์มิสเตอร์ (thermistor) เป็นหน่วยสัมผัสอุณหภูมิ แล้วเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า และนำไปเปรียบเทียบกับอุณหภูมิที่ตั้งไว้ สัญญาณผลต่างจะถูกป้อนให้อินเทอร์เฟซที่ ๑ แล้วจึงป้อนต่อไปให้กับไมโครโพรเซสเซอร์ทำการประมวลผล ผลลัพธ์ที่ได้จะต้องส่งผ่านอินเทอร์เฟซที่ ๒ แล้วเข้าปิดเปิดวงจรคอมเพรสเซอร์ (compressor) หรือขดลวดความร้อน (heater)
เครื่องปรับอากาศ
เครื่องปรับอากาศพร้อมระบบควบคุมที่ผลิตในประเทศไทย ระบบควบคุมนี้ภายในใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ และเทอร์มิสเตอร์ ทำให้สามารถควบคุมอุณหภูมิได้แม่นยำ ประหยัดพลังงาน และตั้งเวลาเปิด ปิด ได้ด้วย
การตั้งเวลากลางวันหรือกลางคืน จะไปควบคุมให้ เครื่องปรับอากาศปรับอุณหภูมิของห้องให้เหมาะสมกับการทำงานเวลากลางวัน หรือเหมาะกับการนอนเวลากลางคืน และใช้นาฬิกาปลุกได้ด้วย เมื่อตั้งเวลาไว้ครั้งหนึ่งเครื่อง ปรับอากาศจะทำงานซ้ำทุกๆ วัน นอกจากนี้วงจรตั้งเวลา จะทำหน้าที่ควบคุมให้เครื่องคอมเพรสเซอร์เริ่มทำงานใหม่ ภายใน ๓ นาที หลังจากมีการตัดวงจร เนื่องจากก๊าซฟรีออน (freon) มีความกดดันสูง ซึ่งจะทำให้มอเตอร์ไหม้ จากนั้น จึงตั้งเวลา ๖๐ นาที เพื่อให้น้ำแข็งเกาะอยู่ละลายไป ก่อนที่จะเริ่มต้นให้เครื่องปรับอากาศทำหน้าที่ปรับอุณหภูมิของห้องต่อไป
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป