สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน
เมนู 12
|
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๒ / เรื่องที่ ๓ การสังคม สงเคราะห์ / การบำเพ็ญกุศลเพื่อสาธารณประโยชน์
การบำเพ็ญกุศลเพื่อสาธารณประโยชน์
การบำเพ็ญกุศลเพื่อสาธารณประโยชน์
กุศล แปลว่า บุญ ความดี ฉลาด สิ่งที่ดี กรรมดี
ทุกศาสนาต่างสอนให้ศาสนิกชนบำเพ็ญกุศล
คือ ทำบุญ ประกอบความดี หรือกรรมดี
หลักธรรมในพระพุทธศาสนาเน้นการบำเพ็ญกุศล
เพื่อการสงเคราะห์ผู้อื่น และเพื่อสาธารณประโยชน์
เช่น หลักธรรมเรื่องทาน (การให้) และปริ
จาคะ (การเสียสละ)
ทศพิธราชธรรม ซึ่งเป็นหลักธรรมของพระราชา หรือผู้ปกครองก็มีหลักธรรมเรื่องทาน และปริจาคะ
สังคหวัตถุ ๔ ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ยึดเหนี่ยวจิตใจบุคคล
และเป็นหลักธรรมของการสังคมสงเคราะห์
ก็มีเรื่องทาน คือ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
เสียสละ แบ่งปัน ช่วยเหลือกัน
ในสังคมไทยนับตั้งแต่โบราณกาล
การ บำเพ็ญกุศลเพื่อสาธารณประโยชน์ โดยเฉพาะการให้ทานแก่คนยากจน
ผู้ประสบความทุกข์ยาก เดือดร้อน
จึงเป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญประการหนึ่งของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์
และเป็นกิจวัตรประจำของคนไทยที่กลายมาเป็นประเพณี
และเอกลักษณ์ที่สำคัญของคนไทยทั้งชาติ
ด้วยอิทธิพลของพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ คนไทยจึงเป็นผู้มีจิตใจโอบอ้อม
อารี มีเมตตากรุณา ต่อผู้ประสบความทุกข์ยาก
เดือดร้อน และมีจิตใจใฝ่ในการบุญการกุศล หรือ
ในการทำความดีและในการบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อสาธารณะ
จะเห็นได้ว่าเมื่อมีผู้ประสบภัยพิบัติ เช่น ภัยจากไฟไหม้ น้ำท่วม
จะมีประชาชนจำนวนมากบริจาคเงิน และสิ่งของ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย
เมื่อมีข่าวในหนังสือพิมพ์ว่ามีผู้ประสบความทุกข์ยากเดือดร้อน เช่น
มีครอบครัวที่ยากจน ไม่มีอาหารจะกิน ไม่มีเสื้อผ้าจะใส่ หรือมีเด็กกำพร้า
ที่ถูกทอดทิ้งขาดผู้อุปการะ จะมีผู้ใจบุญ และองค์การกุศล
ยื่นมือแห่งความเมตตา เข้าไปให้ควา ช่วยเหลือ
ทำให้ผู้ประสบภัยพิบัติและความทุกข์ ยากเดือดร้อนได้รับการสงเคราะห์
ทั้งทางวัตถุ และทางจิตใจ
บุคคลที่มีใจกุศลที่ปรารถนาจะทำงาน เพื่อประโยชน์สาธารณะในการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อน ในการแก้ไขปัญหา
สังคม และในการพัฒนาสังคม จึงรวมกันจัดตั้งสมาคม และมูลนิธิ เพื่อการกุศล
|
|