ประวัติความเป็นมาของการประกันสังคม - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 12
เล่มที่ ๑๒
เรื่องที่ ๑ การแพทย์
เรื่องที่ ๒ การศึกษา
เรื่องที่ ๓ การสังคมสงเคราะห์
เรื่องที่ ๔ การพัฒนาชาวเขา และการเกษตรที่สูง
เรื่องที่ ๕ การพัฒนาการเกษตรในชนบท
เรื่องที่ ๖ การศึกษาการพัฒนา
เรื่องที่ ๗ การสหกรณ์
เรื่องที่ ๘ การพัฒนาแหล่งน้ำ
เรื่องที่ ๙ การพัฒนาปัจจัยการผลิต
เรื่องที่ ๑๐ แผนที่
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๒ / เรื่องที่ ๓ การสังคม สงเคราะห์ / ประวัติความเป็นมาของการประกันสังคม

 ประวัติความเป็นมาของการประกันสังคม
ประวัติความเป็นมาของการประกันสังคม

แนวความคิดเรื่องการประกันสังคม ริเริ่มขึ้นในยุโรป สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิต โดยมีการค้นคิดเครื่องจักร และพลังน้ำมาทำงานแทนคน ทำให้สามารถขยายการผลิต มีการจ้างแรงงานมากขึ้น และเกิดปัญหาหลายประการ รัฐจึงต้องเข้าช่วย โดยออกกฎหมายให้หลักประกันแก่คนงาน โครงการแรกเป็นเรื่องการประกันเกี่ยวกับการเจ็บป่วย ริเริ่มขึ้นที่ประเทศเยอรมัน ในสมัยเจ้าชายบิสมาร์ค (Prince Otto Von-Bismarck) เป็นนายกรัฐมนตรี ในสมัยพระเจ้าวิลเฮล์มที่ ๑ (Willhelm Friedrich Ludwig) เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๒๖ ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๒๗ ได้จัดให้มีการประกันอุบัติเหตุ หรือโรคอันเกิดจากการทำงานขึ้น หลังจากนั้น ประเทศเยอรมันได้จัดให้มีการขยายการประกันออกไปอีก โดยใน พ.ศ.๒๔๓๒ ได้ออกกฎหมายประกันการพิการทุพพลภาพ และใน พ.ศ. ๒๔๔๓ ออกกฎหมายให้ประโยชน์แก่ผู้อยู่ภายใต้อุปการะของผู้เอาประกัน

คนงานเดินทนในวันแรงงานแห่งชาติ (๑ พฤษภาคม) พ.ศ. ๒๕๓๐
เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ(๕ ธันวาคม ๒๕๓๐)
การที่ประเทศเยอรมันนำวิธีการประกัน สังคมมาใช้ สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ได้เป็นอย่างดี ประเทศในยุโรปอื่นๆ และสหรัฐอเมริกา จึงได้นำไปใช้ปฏิบัติบ้าง โดย เฉพาะสหรัฐฯ นั้น ประธานาธิบดีรูสเวลต์ (Franklin D. Roosevelt) ให้ความสนใจมากตั้งแต่ก่อน ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี ครั้นเมื่อได้รับเลือก ก็สนับสนุนให้มีการออกกฎหมาย ว่าด้วยความมั่นคง ใน พ.ศ. ๒๔๗๘ กฎหมายฉบับนี้ได้เป็นรากฐานการประกันสังคมของประเทศตราบจนปัจจุบันนี้ สำหรับภูมิภาคเอเชีย ประเทศญี่ปุ่นเป็น ประเทศแรกที่ประกาศใช้กฎหมายประกันสังคมใน พ.ศ. ๒๔๕๔ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชียก็ได้ประกาศใช้กฎหมายนี้กันอย่างกว้างขวางเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ในทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้
ประธานธิบดีแฟรงคลิน ดี รูสเวลต์ แห่งสหรัฐอเมริกา (ค.ศ.๑๙๓๓-๑๙๔๕)
ประธานธิบดีแฟรงคลิน ดี รูสเวลต์ แห่งสหรัฐอเมริกา (ค.ศ.๑๙๓๓-๑๙๔๕)
ใน พ.ศ. ๒๕๓๑ มีประเทศต่างๆ จำนวน กว่า ๑๔๒ ประเทศ ดำเนินการประกันสังคมใน รูปแบบต่างๆ กล่าวคือ ประกันเกี่ยวกับอุบัติเหตุ และโรคอันเกิดจากการทำงาน ๑๒๘ ประเทศ เช่น อัฟกานิสถาน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ไทย ประกันเกี่ยวกับชราภาพ พิการ ทุพพล- ภาพ และตาย ๑๐๘ ประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน จีน จอร์แดน ญี่ปุ่น ประกันการ เจ็บป่วยและคลอดบุตร ๗๑ ประเทศ เช่น พม่า อินเดีย ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ ประกันครอบครัวมีภาระ ๖๖ ประ- เทศ เช่น ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย เซเนกัล ไอวอรีโคสต์ อาร์เจนตินา สหรัฐฯ บราซิล และ ประกันการว่างงาน ๒๗ ประเทศ เช่น ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย สหรัฐฯ อังกฤษ และ ประเทศในทวีปยุโรปทั้งหมด
ตารางแสดงรูปแบบการประกันสังคมและจำนวนประเทศในโลกที่ดำเนินการ ใน พ.ศ. ๒๕๓๑
ตารางแสดงรูปแบบการประกันสังคมและจำนวนประเทศในโลกที่ดำเนินการ ใน พ.ศ. ๒๕๓๑
สำหรับในทวีปเอเชีย ประเทศส่วนใหญ่ อยู่ในระยะกำลังพัฒนา ความไม่พร้อมและการ พัฒนาไม่เท่าเทียมกับประเทศในยุโรป เรื่องการ ประกันสังคมจึงพัฒนาไม่เต็มที่ ถึงกระนั้นการ ประกันสังคมก็คลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น ประกันการ เจ็บป่วยและคลอดบุตร ๑๗ ประเทศ ประกันด้าน อุบัติเหตุและโรคอันเกิดจากการทำงาน ๒๒ ประ- เทศ ประกันครอบครัวที่มีภาระ ๓ ประเทศ และ ประกันการว่างงาน ๒ ประเทศ
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป