ปัญหาเรื่องฝิ่น
ฝิ่นต้องการอากาศเย็น และในประเทศไทยต้องปลูกบนที่สูงอย่างน้อย ๑,๐๐๐ เมตร
ก่อน พ.ศ. ๒๕๐๒ แม้ว เย้า มูเซอ และ อีก้อ
ปลูกฝิ่นเพียงอย่างเดียวเอาไว้ขาย เจ้าหน้าที่กรมสรรพสามิตขึ้นไปซื้อ
เพื่อนำไปขายให้โรงยาฝิ่น สำหรับให้ผู้ติดฝิ่นที่มีใบอนุญาตเท่านั้น
เข้าไปสูบ สมัยนั้น มีผู้ติดฝิ่นน้อยมาก เพราะผู้สูบผอมแห้ง แรงน้อย
และถูกประณามว่า เป็น "ขี้ยา" |

ไร่ฝิ่น
|
พ.ศ. ๒๕๐๒ รัฐบาลออกกฎหมายห้าม ปลูกและค้าฝิ่น
จวบจนปัจจุบันนี้ (พ.ศ.
๒๕๓๕) เราทราบว่า กฎหมายนั้นทำให้ฝิ่น ซึ่งยังคงมีอยู่บนดอย
กลายสภาพเป็นเฮโรอีนบนพื้นราบ
สาเหตุเพราะรัฐบาลไม่ได้จัดการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล |

บ๊วย ไม้ผลชนิดหนึ่งที่ได้รับการส่งเสริมให้ปลูกแทนฝิ่น |
รัฐบาลเพียงแต่ตั้งกองสงเคราะห์ขาวเขา
กรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยขึ้น เพื่อช่วยชาวเขาที่จะไม่มีรายได้
ถ้าไม่ปลูกฝิ่น
กองสงเคราะห์ชาวเขาขาดพืชที่จะให้ชาวเขาปลูกแทนฝิ่น
เพราะไม่มีเจ้าหน้าที่ด้านการเกษตร ทำการทดลองค้นคว้า
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เองก็ไม่ทราบ เพราะไม่ได้ขึ้นไปทำงานบนที่สูงนั้น
ในขณะที่ชาวเขาต้องมีรายได้ จึงยังคงปลูกฝิ่นอยู่จนทุกวันนี้
สามเหลี่ยมยากจน
ชาวต่างประเทศริเริ่ม (และคนไทยเอาอย่าง)
เรียกบริเวณที่ปลูกฝิ่นในประเทศพม่า ลาว และไทยว่า "สามเหลี่ยมทองคำ"
ซึ่งหมายความว่า ประชาชนในแถบนั้นร่ำรวย เพราะรายได้จากฝิ่นสูงมาก
|

ภูมิทัศน์บริเวณสามเหลี่ยมยากจน |
แต่ผู้ที่พบปะชาวเขาบนดอยทราบดีว่า
ชาวเขายากจน ขาดแคลนเสื้อผ้า อนามัยไม่ดี อาหารไม่เพียงพอ คุณภาพชีวิตต่ำ
รายได้จากฝิ่นน่าจะน้อยกว่าที่ทุกคนคิด
และสามเหลี่ยมเห็นจะไม่ใช่เป็นทองคำเสียแล้ว |
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงทราบว่า
ชาวเขาได้เงินจากฝิ่นเท่าๆ กับที่ได้จากท้อพันธุ์พื้นเมือง
ซึ่งโดยวิธีติดตาต่อกิ่งกับท้อฝรั่ง ก็ควรจะได้ผลใหญ่ หวานฉ่ำ
ทำรายได้สูงกว่าฝิ่นเป็นแน่ ดังนั้น จึงทรงตั้งโครงการหลวงขึ้น
เป็นโครงการส่วนพระองค์ เพื่อดำเนินการ ซึ่งก็กลายเป็นโครงการแรกของโลก
ที่กำจัดฝิ่น โดยปลูกพืชที่มีรายได้ดีกว่าแทน |