
สุกรพันธุ์ดูร็อกเจอร์ซี (Duroc Jersy) ตัวเมีย |
ต่อมาจึงได้มีการนำสุกรพันธุ์จากต่างประเทศ
เข้ามาทดลองเลี้ยงในบ้านเรา หลายพันธุ์ด้วยกัน และพบว่า
สุกรพันธุ์แท้บางพันธุ์สามารถเลี้ยงได้ดีในบ้านเรา ซึ่งได้แก่
สุกรพันธุ์ต่อไปนี้
(๑) ดูร็อกเจอร์ซี
(๒) ลาร์จไวต์
(๓) แลนด์เรซ
นอกจากนี้ก็ได้มีผู้นำสุกรพันธุ์ผสมเข้า มาเลี้ยงอีกหลายพันธุ์
แต่ส่วนใหญ่เป็นสุกรพันธุ์
ผสมซึ่งเกิดจากสุกรทั้งสามพันธุ์ดังกล่าวข้างต้น
|
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ได้ทรงนำสุกรพันธุ์เหมยซาน
ซึ่งรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนได้น้อมเกล้าฯ ถวาย จำนวน ๔ คู่
มาให้กรมปศุสัตว์ทดลอง เลี้ยงและขยายพันธุ์ พบว่าสุกรพันธุ์นี้สามารถ
ให้ลูกดกมากเฉลี่ยครอกละ ๑๖ ตัว และมีบาง ครอกให้ลูกถึง ๒๔ ตัว
สามารถเจริญเติบโต ได้ดีกว่าสุกรพื้นเมืองเดิม มีเนื้อมาก และเนื้อมี
คุณภาพดี
|

สุกรพันธุ์ลาร์จไวต์ตัวผู้ |
เพื่อให้สุกรนี้มีลักษณะดีขึ้นกว่าที่มีอยู่
เดิมกรมปศุสัตว์ได้นำสุกรพันธุ์นี้มาทดลองผสม
กับสุกรทั้งสามพันธุ์ดังกล่าวข้างต้น และพบว่า
สุกรลูกผสมเหมยซานกับดูร็อกเจอร์ซี่ จะมีลักษณะ
ดีที่สุดทั้งในด้านรูปร่างลักษณะ การเจริญเติบโต คุณภาพของเนื้อ
และความทนทานต่อโรค
|
สุกรพันธุ์ลูกผสมเหมยซาน และดูร็อกเจอร์ซี่ ที่กรมปศุสัตว์ผสมขึ้น
เพื่อให้เกษตรกรในชนบทได้นำไปเลี้ยงนั้น ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ
จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานนามว่า "สุกรมิตรสัมพันธ์"
๓. สัตว์ปีก
สัตว์ปีกที่มีการเลี้ยงกันในแง่ของการค้า คือ
๓.๑ ไก่
ไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงในบ้านเรา เป็นไก่ที่เจริญเติบโตช้า ให้ไข่น้อย
และมีลำตัวค่อนข้างเล็ก แต่มีความทนทานต่อโรคต่างๆ ได้ดี
ปัจจุบันมีผู้นำไก่จากต่างประเทศ
มาเลี้ยงในรูปของการค้ากันมาก
จนถึงกับมีการส่งเนื้อไก่ออกไปขายต่างประเทศจำนวนมาก
ไก่ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศมี ๒ ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ
ก. ไก่เนื้อ
ไก่เนื้อ คือ ไก่ที่เลี้ยง ประมาณ ๘ สัปดาห์ หรือ ๕๖ วัน ก็จะส่งตลาด
หรือเข้าโรงฆ่า เป็นไก่ที่มีการเจริญเติบโตเร็ว และมีเนื้อมาก
หากมีการให้อาหารตามคุณภาพที่กำหนด
|

ไก่พื้นเมือง (ซ้าย-ตัวเมีย ขวา-ตัวผู้) |
ไก่เนื้อที่นำเข้ามาเลี้ยงส่วน ใหญ่เป็นไก่ลูกผสมที่ผลิตจากบริษัทต่างๆ ใน
ต่างประเทศ โดยประเทศของเรายังไม่สามารถ
ผลิตไก่เนื้อที่มีคุณภาพดีเท่าต่างประเทศได้
|

ไก่เนื้อ (ซ้าย-ตัวเมีย ขวา-ตัวผู้) |
ไก่เนื้อที่นำเข้ามาส่วนใหญ่
เป็นพ่อแม่พันธุ์
ซึ่งเมื่อเลี้ยงแล้วผสมพันธุ์ ลูกที่
ออกมาก็จะนำไปเลี้ยงเป็นไก่เนื้อส่งโรงฆ่า แต่
มีบางฟาร์มได้นำปู่ย่าตายายมาเลี้ยงเพื่อนำมา ผลิตพ่อแม่พันธุ์
แล้วจึงขยายเป็นไก่เนื้ออีกครั้ง
|
ข. ไก่ไข่
ไก่ไข่ในระยะเริ่มแรก ที่นำเข้ามาเลี้ยง
เมื่อประมาณ ๔๐ ปี จนถึงเมื่อ ประมาณ ๑๕ ปีที่แล้วมา
ส่วนใหญ่เป็นไก่พันธุ์แท้ ซึ่งได้แก่ ไก่พันธุ์โรดไอส์แลนด์แดง
และพันธุ์เล็กฮอร์นขาวเป็นหลัก
แต่ต่อมาได้มีการนำไก่ไข่ลูกผสมจากต่างประเทศ เข้ามาเลี้ยงเป็นส่วนใหญ่
จนอาจกล่าวได้ว่า ปัจจุบันนี้ไม่มีผู้ใดเลี้ยงไก่ไข่พันธุ์แท้ก็ว่าได้
นอกจากไก่ของหน่วยงานของรัฐบาล
 |
ไก่ไข่พันธุ์โรดไอส์แลนด์แดง
(Rhode Island Red)
(ซ้าย-ตัวผู้ ขวา-ตัวเมีย) |
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้นำไก่เซี่ยงไฮ้ ซึ่งรัฐบาล
สาธารณรัฐประชาชนจีนได้น้อมเกล้าฯ ถวายไข่ฟัก จำนวนหนึ่ง
และได้พระราชทานให้กรมปศุสัตว์ นำไปฟักและเลี้ยงขยายพันธุ์
ปรากฏว่าไก่พันธุ์ นี้เลี้ยงได้ดีในบ้านเรา กินอาหารได้ทุกอย่าง
มีการเจริญเติบโตดี ตัวผู้น้ำหนักประมาณ ๕ กิโลกรัมเมื่อโตเต็มที่
และตัวเมียหนักประมาณ ๒.๐-๒.๕ กิโลกรัมเมื่อโตเต็มที่ และมีไข่ดกกว่า
ไก่พื้นเมืองมาก
|
 การเก็บไข่ไก่ |
ในการปรับปรุงให้ไก่พื้นเมือง มีคุณภาพดีขึ้น
ไก่เซี่ยงไฮ้จำนวนหนึ่ง ได้ถูกนำไปผสมข้ามพันธุ์กับไก่พื้นเมือง
ซึ่งปรากฏว่า ไก่ลูกผสมที่ผลิตออกมา เลี้ยงง่าย โตเร็ว น้ำหนักมาก
และให้ไข่ดกกว่าไก่พื้นเมืองมาก
๓.๒ เป็ด
เป็ดพื้นเมืองของเรามีเลี้ยงมากที่นครปฐม
สมุทรปราการ และชลบุรี จึงมักเรียกชื่อเป็ดพื้นเมือง ตามแหล่งที่เลี้ยงว่า
เป็ดนครปฐม เป็ดปากน้ำ และเป็ดชลบุรี เป็นต้น |
 ฝูงเป็ด |
เป็ดพื้นเมืองตัวค่อนข้างเล็ก การ เจริญเติบโตช้า แต่มีไข่ดกดีพอสมควร
มักจะพบบ่อยๆ ว่า เป็ดพื้นเมืองไข่เกิน ๒๐๐ ฟองต่อปี แต่ไข่มีขนาดเล็ก
ด้วยเหตุดังกล่าวจึงได้มีการนำ
เป็ดจากต่างประเทศเข้ามาเลี้ยงในบ้านเราในระยะ หลังๆ
เป็ดที่นำเข้ามาเลี้ยงในบ้านเรา แบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ ด้วยกันคือ
ก. เป็ดไข่
เป็ดไข่ที่นำเข้ามาเลี้ยงในบ้านเราส่วนใหญ่
เป็นเป็ดพันธุ์กากีแคมเบลล์ เป็นเป็ดที่มีอัตราการไข่ค่อนข้างสูง
บางตัวไข่ถึง ๓๐๐ ฟองต่อปี แต่บางครั้งก็มีปัญหาเรื่องโรค
จึงได้มาผสมข้ามพันธุ์กับเป็ดพื้นเมือง ปรากฏว่า
เป็ดลูกผสมกากีแคมเบลล์ให้ไข่ดก และไข่ใหญ่กว่าเป็ดพื้นเมืองมาก
จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันทั่วไป
เป็ดไข่พันธุ์กากีแคมเบลล์ (Kaki Cambell) (ซ้าย-ตัวเมียขวา-ตัวผู้) | 
|
ข. เป็ดเนื้อ
เป็ดเนื้อที่นำเข้ามาเลี้ยงในบ้านเรามีหลายพันธุ์
แต่พันธุ์ที่นิยมมากที่สุดคือ เป็ดพันธุ์ปักกิ่ง
และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ก็ได้พระราชทานไข่เป็ดพันธุ์ปักกิ่ง
ซึ่งประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนน้อมเกล้าฯ ถวาย ให้กรมปศุสัตว์ นำไปฟัก
และเลี้ยงขยายพันธุ์ ปรากฏว่า เป็ดนี้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในบ้านเรา
แต่บางครั้งก็ยังมีปัญหาเรื่องโรค
จึงผสมเป็ดระหว่างพันธุ์ปักกิ่งกับพันธุ์พื้นเมือง ก็ปรากฏว่า
เป็ดลูกผสมดังกล่าว มีการเจริญเติบโตได้ดีในบ้านเรา และมีน้ำหนักมาก
เมื่อถึงอายุส่งตลาด
|