การบริโภคนม
เมื่อเปรียบเทียบการบริโภคนมต่อประชากรแล้ว
ประเทศไทยมีสถิติการบริโภคนมอยู่ในระดับต่ำมาก กล่าวคือ
มีการบริโภคนมเพียง ๒ ลิตร ต่อคนต่อปี
ในขณะที่ประเทศฟินแลนด์มีการบริโภคถึง ๒๔๑ ลิตร สหรัฐอเมริกา ๑๓๑ ลิตร
ญี่ปุ่น ๔๐ ลิตร สิงคโปร์ ๑๗ ลิตร ฟิลิปปินส์ ๙ ลิตร มาเลเซีย และฮ่องกง ๘
ลิตร เป็นต้น ขณะเดียวกัน คนไทยกลับดื่มน้ำอัดลม
และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์สูงมาก
โดยเฉพาะดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์สูงถึง ๑๕ ลิตรต่อคนต่อปี |
 เราควรดื่มนมทุกวัน เพราะนมเป็นอาหารธรรมชาติที่อุดมด้วยแร่ธาตุทางอาหารครบทุกหมู่ |
ปัจจุบันรัฐบาลได้เล็งเห็นถึงคุณค่าทางอาหารของนม
และสนับสนุนนโยบายส่งเสริมการเลี้ยงโคนมของรัฐบาล
จึงสร้างฐานตลาดรองรับน้ำนมดิบของเกษตรกร
และแต่งตั้งคณะกรรมการรณรงค์ เพื่อการบริโภคนมขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ ประกอบด้วย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
เป็น ประธาน มีตัวแทนจากภาครัฐบาล
ภาคเอกชน สหกรณ์โคนม และเกษตรกร
เป็นกรรมการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อที่จะรณรงค์ทุกรูปแบบ เพื่อให้ประชาชน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชน
บริโภคนมอย่างต่อเนื่อง และกว้างขวาง
โดยมีเป้าหมายให้คนไทยบริโภคนมเพิ่มขึ้นเป็น ๗ ลิตรต่อคนต่อปีใน พ.ศ.๒๕๓๒ |
 กราฟแสดงอัตราการบริโภคนมของประชากรในประเทศต่าง ๆต่อคนต่อปี |
การรณรงค์นี้ นอกจากกระทำผ่านทาง
สื่อโฆษณาต่างๆ แล้ว ยังได้กำหนดโครงการ
นมโรงเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียน ตั้งแต่ระดับอนุบาล
จนถึงมหาวิทยาลัย ได้บริโภคนมในราคาถูก
เป็นพิเศษ และหาวิธีการที่จะเพิ่มผลิตผลและลดค่าใช้จ่าย ในกระบวนการผลิตน้ำนมดิบ การแปรรูป
และการจำหน่าย เพื่อให้ประชาชนบริโภคนมได้
ในราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรมยิ่งขึ้น
ในการรณรงค์
ได้เน้นการสร้างนิสัย และความเคยชินในการบริโภคนม
โดยกระตุ้นให้มารดาเลี้ยงทารก ด้วยนมของตนเอง ตั้งแต่ทารกแรกเกิด
และถ้าจำเป็นจริงๆ ไม่อาจเลี้ยงด้วยนมตนเองได้
ก็อาจให้นมผงดัดแปลงสำหรับทารก จนถึงช่วง ๖-๑๒ เดือน จึงให้นมผงดัดแปลง
สำหรับทารก หรือนมผงธรรมดา (whole milk powder) หรือนมพร้อมดื่ม
ต่อจากนั้นก็ให้ดื่มนมเรื่อยไป โดยไม่มีการ "หย่านม" เพราะนมเป็นอาหารของคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งควรบริโภคทุกวัน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนด้วยแล้ว จำเป็นต้องดื่มนมวันละหลายแก้ว
|