สารเคมีฝนหลวง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยยิ่ง
ในการนำสารเคมีฝนหลวงไปใช้ในการปฏิบัติการ
ดังนั้นก่อนที่จะทรงเห็นชอบให้นำไปใช้
จึงต้องมีการวิเคราะห์วิจัยอย่างถี่ถ้วน ถึงผลกระทบว่า
จะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ทั้งมนุษย์
พืช และสัตว์ ตลอดจนก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่
จากนั้นจึงทรงให้เลือกสารเคมีที่ผลิตในประเทศเท่าที่จะทำได้ และราคาไม่แพง
เพื่อใช้ในการปฏิบัติการ (สารเคมีฝนหลวงทั้งหมด ๘ ชนิด ปัจจุบัน มีเพียง ๒
ชนิด
ที่ต้องสั่งเข้ามาจากต่างประเทศ
คาดว่าในอนาคตอันใกล้จะผลิตได้เองทั้งหมดในประเทศ) |

เจ้าหน้าที่กำลังผสมสารเคมีฝนหลวง |
สารเคมีฝนหลวงทุกชนิด
ที่ใช้ในปัจจุบัน เป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติดูดซับความชื้นได้ดี
และเมื่อดูดซับความชื้น จะทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นหรือต่ำลงแตกต่างกัน
เพื่อให้เลือกชนิดและปริมาณใช้ได้ตามความเหมาะสมกับสภาพอากาศ
และขั้นตอนกรรมวิธีในขณะนั้น ในรูปอนุภาคแบบผงและสารละลาย
ทำหน้าที่เป็นแกนกลั่นตัวของเมฆ (Cloud condensation nuclei)
ซึ่งมีลักษณะเป็นแกนแข็ง และสารละลายเข้มข้น
หรือใช้สารเคมีที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ชักนำให้หยดน้ำ
หรือสารละลายเข้มข้น กลายเป็นเกล็ดน้ำแข็ง (Ice nuclei)
ดังนั้นสารเคมีฝนหลวงจึงแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ
๑.
สารเคมีประเภทคายความร้อน หรือทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น
สารเคมีประเภทนี้
เมื่อดูดซับความชื้นแล้ว จะเกิดปฏิกิริยา ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น
เราใช้สารเคมีประเภทนี้
เพื่อดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดความเปลี่ยนแปลงพลังความร้อน
ที่ทำให้มวลอากาศเคลื่อนที่ (Thermodynamic)
ด้วยการเพิ่มความร้อนอย่างฉับพลันที่เกิดจากปฏิกิริยา (Sensible heat)
และความร้อนแฝงที่เกิดจากการกลั่นตัว ของไอน้ำรอบอนุภาคสารเคมี
ที่เป็นแกนกลั่นตัวด้วย เมื่อเสริมสร้างความร้อนจากแสงอาทิตย์
จะทำให้มวลอากาศในบริเวณที่โปรยสารเคมีนี้ มีอุณหภูมิสูง
และเกิดการลอยตัวขึ้น (Updraft)
ได้ดีกว่าบริเวณที่ไม่ได้รับการโปรยสารเคมี อุณหภูมิ อากาศที่สูงขึ้นเพียง
๐.๑ องศาเซลเซียส จะมีผล ที่จะทำให้เกิดการลอยตัวขึ้นของอากาศได้
ปัจจุบันนี้มีใช้ในการปฏิบัติการฝนหลวงอยู่ ๓ ชนิด คือ |

สารแคลเซียมคาร์ไบด์ |
(๑) แคลเซียมคาร์ไบด์
(Calcium carbide; CaC2)
เมื่อดูดซับความชื้นแล้วจะให้ความร้อน ๒๙.๙ กิโลแคลอรี ต่อหนึ่งโมเลกุล
และกลาย เป็นแกนกลั่นตัวแบบแกนแข็ง มีปฏิกิริยาดังนี้
|

สารแคลเซียมคลอไรด์ |
(๒) แคลเซียมคลอไรด์
(Calcium chloride: CaCl2)
เมื่อดูดซับความชื้นแล้วจะให้ความร้อน ๑๙.๐ กิโลแคลอรี ต่อหนึ่งโมเลกุล
และกลายเป็นแกนกลั่นตัวที่เป็นสารละลายเข้มข้น
ที่มีความไวในการดูดซับความชื้นที่ผิวสูง มีปฏิกิริยาดังนี้
|

สารแคลเซียมออกไซด์ |
(๓) แคลเซียมออกไซด์
(Calcium oxide; CaO) เมื่อดูดซับความชื้นแล้ว จะให้ความร้อน รวม ๔๓.๐
กิโลแคลอรี ต่อหนึ่งโมเลกุล จะเกิดปฏิกิริยา ๒ ขั้น ขั้นแรกจะให้ความร้อน
๑๕.๖ กิโลแคลอรีต่อหนึ่งโมเลกุล ขั้นที่ ๒ จะให้ความ ร้อน ๒๗.๔
กิโลแคลอรีต่อหนึ่งโมเลกุล และ กลายเป็นแกนกลั่นแบบแข็ง มีปฏิกิริยาดังนี้
|
๒.
สารเคมีประเภทดูดกลืนความร้อน แล้วทำให้อุณหภูมิต่ำลง
(Endothermic chemicals)
สารเคมีประเภทนี้
เมื่อดูดซับความชื้นแล้ว จะเกิดปฏิกิริยา ทำให้อุณหภูมิต่ำลง
เราใช้สารเคมีประเภทนี้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดูดซับความชื้น
แล้วกลายเป็นแกนสารละลายเข้มข้นที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิกลั่นตัว
ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพในการกลั่นตัวสูงขึ้น
และทำให้การเจริญของเม็ดน้ำในก้อนเมฆมีขนาดใหญ่เร็วขึ้น
และความร้อนแฝงที่ปล่อยออกมาจากการกลั่นตัว
จะทำให้เกิดการลอยตัวขึ้นของมวลอากาศ
และทำให้เกิดขบวนการกลั่นตัวอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ขบวนการชนและรวมตัวกันของเม็ดน้ำ ให้เจริญใหญ่ขึ้น
จะเสริมขบวนการกลั่นตัวในขั้นเลี้ยงให้อ้วน
และเกิดขบวนการแตกตัวของเม็ดน้ำ ที่เจริญขึ้นจนมีขนาดใหญ่
จนกระทั่วความตึงผิว (Surface tension) ไม่สามารถคงขนาดอยู่ได้
หรือตกลงปะทะกับกระแสลมที่ลอยตัวขึ้น เม็ดน้ำที่มีขนาดใหญ่นั้น
จะแตกตัวเองเป็นเม็ดน้ำขนาดเล็กๆ
เพิ่มปริมาณแกนกลั่นตัวสารละลายเข้มข้นที่เจือจาง
ลอยตัวกลับขึ้นไปเจริญใหม่ และเจริญขึ้น
เป็นเม็ดน้ำขนาดใหญ่นกลายเป็นฝนตกลงมา หรือเกิดการแตกตัวอย่างต่อเนื่อง
เป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ กลไก หรือขบวนการดังกล่าว เป็นการขยายขนาดเมฆ
และเพิ่มปริมาณให้สูงขึ้น (Rain enhancement)
ปัจจุบันในการปฏิบัติการมีการใช้สารเคมีประเภทนี้อยู่ ๓ ชนิด คือ
|