ประวัติการสหกรณ์ของไทย - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 12
เล่มที่ ๑๒
เรื่องที่ ๑ การแพทย์
เรื่องที่ ๒ การศึกษา
เรื่องที่ ๓ การสังคมสงเคราะห์
เรื่องที่ ๔ การพัฒนาชาวเขา และการเกษตรที่สูง
เรื่องที่ ๕ การพัฒนาการเกษตรในชนบท
เรื่องที่ ๖ การศึกษาการพัฒนา
เรื่องที่ ๗ การสหกรณ์
เรื่องที่ ๘ การพัฒนาแหล่งน้ำ
เรื่องที่ ๙ การพัฒนาปัจจัยการผลิต
เรื่องที่ ๑๐ แผนที่
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๒ / เรื่องที่ ๗ การสหกรณ์ / ประวัติการสหกรณ์ของไทย

 ประวัติการสหกรณ์ของไทย
ประวัติการสหกรณ์ของไทย

"สหกรณ์" เป็นศัพท์ที่บัญญัติขึ้นใช้ เมื่อต้นสมัยรัชกาลที่ ๖ มาจากคำภาษาอังกฤษว่า cooperation แปลว่า การร่วมกันทำงาน การทำงานด้วยกัน หรือการร่วมมือกัน

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มให้มีการสหกรณ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มให้มีการสหกรณ์ขึ้นเป็นครั้งแรก ในประเทศไทย

สหกรณ์แห่งแรกของประเทศไทยคือ สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้ จดทะเบียนสหกรณ์ตามพระราชบัญญัติสมาคมเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๔๕๙ เมื่อ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๕๙ ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก สหกรณ์ในสมัยแรกๆ ส่วนใหญ่เป็นสหกรณ์ขนาดเล็ก และมีวัตถุประสงค์ เพื่อความจำเป็นเฉพาะอย่างเพียงอย่างเดียว หรือที่เรียกว่า "สหกรณ์เอกประสงค์" กล่าวคือ มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดหาทุนมาให้สมาชิกกู้ เพื่อนำไปไถ่ถอนหนี้เก่า และใช้เป็นทุนในการประกอบอาชีพ โดยมีเพื่อนสมาชิกเป็นหลักประกันร่วมกัน สมาชิกทั้งหมดของสหกรณ์รับผิดชอบหนี้สินของสหกรณ์ร่วมกัน อย่างไม่จำกัดจำนวน โดยได้รับการสนับสนุนเงินกู้จากรัฐบาล จึงเรียกสหกรณ์ในสมัยแรกๆ นี้อีกอย่างหนึ่งว่า สหกรณ์หาทุน

การดำเนินงานของสหกรณ์ประสบความ สำเร็จ เป็นประโยชน์แก่ชาวนาที่เป็นสมาชิก รัฐบาลจึงมีนโยบายส่งเสริมสหกรณ์ให้เจริญขึ้น จึงประกาศใช้พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๑๑ ขึ้น

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานพระราชดำรัสแก่ผู้นำสหกรณ์ การเกษตร สหกรณ์นิคม และสหกรณ์ประมง ทั่วประเทศ ณ ศาลาดุสิดาลัย เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ ว่า "...คำว่า สหกรณ์ แปลว่า การทำงานร่วมกัน การทำงานร่วมกัน ลึกซึ้งมาก เพราะว่าจะต้องร่วมมือกันในทุกด้าน ทั้งในด้านงานการที่ทำด้วยร่างกาย ทั้งในด้าน งานการที่ทำด้วยสมอง และงานการที่ทำด้วยใจ ทุกอย่างนี้ขาดไม่ได้ ต้องพร้อม..."
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป