 แม่กุ้งขนาดโตและมีไข่แก่ | การคัดเลือกแม่กุ้ง
เมื่อเตรียมน้ำในบ่อเรียบร้อยแล้ว
ควรคัดเลือกแม่กุ้งที่มีขนาดโต และมีไข่แก่
โดยสังเกตสีของไข่กุ้งที่ติดอยู่ที่ท้องเป็นสีน้ำตาลเทา
นำมาปล่อยในบ่อเพาะพันธุ์ ที่เตรียมไว้ โดยให้อากาศเป่าตลอดเวลา
ปล่อยไว้จนกว่าไข่กุ้งจะฟักออกเป็นตัว แล้วจึงจับเอาแม่กุ้งออกจากบ่อเพาะ
บ่อเพาะพันธุ์ควรมีขนาด ๐.๕-๑๐ ตัน
ถ้าบ่อใหญ่มากจะมีปัญหาเรื่องการใช้จำนวนแม่กุ้งมาก
ซึ่งบางทีไข่แก่ไม่พร้อมกัน
ทำให้ลูกกุ้งมีอายุและขนาดต่างกันในบ่อเดียวกัน
จะมีปัญหาเรื่องลูกกุ้งตัวใหญ่กินตัวเล็ก
และการคว่ำตัวของลูกกุ้งจะไม่พร้อมกัน
ถ้าบ่อเล็กเกินไป จะทำให้คุณสมบัติของน้ำ เปลี่ยนเร็ว กุ้งอาจตายง่ายขึ้น
|
การพัฒนาและการเจริญเติบโตของตัวอ่อน
หลังจากไข่ได้รับการผสมจากเชื้อตัวผู้แล้ว
จะมีการแบ่งตัวของเซลล์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นอวัยวะต่างๆ เกือบสมบูรณ์
แล้วจึงฟักออกจากไข่ ใช้ระยะเวลาประมาณ ๑๙ วัน ยังมีลักษณะไม่เหมือนพ่อแม่
ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ จากนั้นจะเจริญเติบโต ด้วยการลอกคราบอีก ๑๒ ครั้ง
จึงจะมีลักษณะเหมือนพ่อแม่ การลอกคราบแต่ละครั้งจะใช้เวลา ๑ - ๕ วัน
ซึ่งจะมีรูปร่างเปลี่ยนไปทุกครั้ง จนถึงระยะสุดท้ายที่เรียกว่า ตัวอ่อน
วัยสุดท้าย (post larva) หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า กุ้งคว่ำ
ลูกกุ้งจะมีลักษณะเหมือนพ่อแม่ทุกประการ ลำตัวใส
สามารถควบคุมการทรงตัวในการว่ายน้ำได้ และจะเกาะอยู่พื้นหรือขอบบ่อ
|

แผนภาพแสดงวงจรชีวิตของกุ้งก้ามกราม
|
อาหารและการให้อาหาร
เราควรเริ่มให้อาหาร เมื่อลูกกุ้งมีอายุประมาณ ๒-๓ วัน
ระยะแรกควรให้อาหารพวกไรน้ำขนาดเล็ก เช่น ไรแดง และตัวอ่อน และอาร์ทิเมีย
(artemia) หรือไรสีน้ำตาลที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ๆ ประมาณวันละ ๒ ครั้ง
เช้าและบ่าย จนกว่าลูกกุ้งจะอายุประมาณ ๑ สัปดาห์
จากนั้นจึงให้อาหาอื่นสมทบ ซึ่งได้แก่ เนื้อปลา เนื้อหอยสด
ไข่แดงอัดเม็ด หรือไข่ตุ๋นบดให้เป็นชิ้นเล็กๆ
ล้างน้ำผ่านตะแกรง หรือผ้ากรองขนาดตาต่างๆ กัน คือ ๔๐ ๓๔ และ ๒๔ ตาต่อนิ้ว
แยกให้ลูกก้งุกินตามขนาด แรกๆ ให้กินชิ้นเล็กสุด และค่อยๆ ให้ทีละน้อยๆ
จนลูกกุ้งคุ้นกับอาหาร
จึงเพิ่มทั้งปริมาณและขนาดของอาหารให้มากขึ้นตามอายุของกุ้ง
การให้อาหารนี้ ควรให้ทุก ๒-๔ ชั่วโมง
ในเวลากลางวัน และให้อาร์ทิเมียในเวลาเย็น
|
 ไรแดง |
การเพาะฟักไข่อาริทิเมียต้องเพาะในน้ำเค็ม
หรือน้ำกร่อยที่มีความเค็ม
๑๒-๓๕ ส่วนในพัน ใช้เวลาเพาะ ๒๔-๔๘ ชั่วโมงจึงออกเป็นตัว
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพ และสายพันธุ์ของไข่อาร์ทิเมีย
ไข่อาร์มทิเมียแห้งควรเก็บรักษาไว้ในถุงหรือภาชนะ ที่มีออกซิเจน
และความชื้นน้อยที่สุด
มิฉะนั้นจะทำให้คุณภาพของไข่อาร์ทิเมียเสื่อมลง
ภาชนะที่ใช้เพาะอาร์ทิเมียควรมีลักษณะทรงกระบอกสูง หรือรูปกรวย
ให้มีอากาศเป่าแรงๆ จะทำให้น้ำหมุนเวียนทั่วถึง ไข่ไม่ตกตะกอน
ควรเพาะไข่อาร์ทิเมีย ๑ ช้อนแกง (ประมาณ ๓ กรัม) ต่อน้ำ ๒-๔ ลิตร |
การถ่ายน้ำ
น้ำที่ใช้เลี้ยงลูกกุ้งควรมีความเค็ม ๑๒- ๑๕ ส่วนในพัน
ความหนาแน่นของลูกกุ้งควรอยู่ ระหว่าง ๔๐-๘๐ ตัวต่อลิตร เมื่อลูกกุ้งอายุ
๑๐ วัน ควรเปลี่ยนน้ำออกประมาณสองในสามของบ่อ หลังจากนั้นควรเปลี่ยนน้ำทุก
๒-๓ วัน ครั้งละประมาณร้อยละ ๓๐ - ๕๐ โดยใช้ความเค็มเท่าเดิม
จนกว่าลูกกุ้งจะคว่ำหมด หรือคว่ำประมาณร้อยละ ๙๐ จากนั้นจึงลดความเค็มลง
จนเป็นน้ำจืด |

ลูกกุ้งในระยะต่าง ๆ (ขวา-ระยะที่ ๑, กลาง ระยะที่ ๒, ซ้าย - ระยะสุดท้าย) |
ทุกเช้าก่อนให้อาหารต้องใช้สายยางดูดเอาเศษอาหาร
และตะกอนก้นบ่อออกเสียก่อน แล้วจึงถ่ายน้ำ ถ้าเพาะกุ้ง โดยใช้ระบบปิด
ไม่ต้องเปลี่ยนน้ำ เพียงแต่เติมน้ำที่ลดลงให้เท่าเดิม
คุณสมบัติของน้ำ
อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสมคือ
๒๙ - ๓๑ องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิต่ำ ลูกกุ้งไม่ค่อยกินอาหาร และโตช้า
ออกซิเจน
จะต้องให้มีออกซิเจนในน้ำ ไม่น้อยกว่า ๔ ส่วนในล้าน ดังนั้น
จึงต้องใช้เครื่องเป่าอากาศตลอดเวลา
แอมโมเนียและไนไทรต์
สารละลายที่มีพิษ
ในบ่อลูกกุ้งที่สำคัญ คือ แอมโมเนีย และไนไทรต์
สารทั้งสองเกิดจากการขับถ่ายของเสียของลูกกุ้ง
ถ้าความเข้มข้นของสารทั้งสองมีมาก จะทำให้ลูกกุ้งมีอัตราการเจริญเติบโตต่ำ
และอาจทำให้ลูกกุ้งตายได้ ฉะนั้นจึงควรควบคุมแอมโมเนียไม่ให้สูงเกินกว่า
๐.๑ มิลลิกรัมต่อลิตร และไนไทรต์ไม่ให้เกิน ๑.๕ มิลลิกรัมต่อลิตร
ความเป็นกรด - ด่าง ความเป็นกรด
- ด่าง ของน้ำ จะมีผลเสียต่อลูกกุ้ง เมื่อต่ำหรือสูงกว่า ๗ - ๘.๕
ศัตรูและโรค
ในการเพาะพันธุ์กุ้งก้ามกรามนั้น จะต้องรักษาน้ำ อาหาร
อากาศ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการเพาะพันธุ์ให้สะอาด
และมีคุณสมบัติที่เหมาะสมอยู่เสมอ
ซึ่งเป็นการป้องกันศัตรูและโรคของลูกกุ้งได้ดีที่สุด และในทางปฏิบัติ
ความสกปรกของอุปกรณ์ต่างๆ ในโรงเพาะฟัก
และความผิดพลาดทางเทคนิคของการเพาะเลี้ยง
เป็นสาเหตุให้ประสบปัญหาเกี่ยวกับศัตรูและโรคเป็นประจำ
บางครั้งทำให้ได้ผลิตผลต่ำมาก หรือไม่ได้เลย พอจะประมวลสาเหตุได้ ดังนี้
๑. น้ำที่ใช้เพาะพันธุ์ไม่มีการกรอง หรือไม่สะอาดเพียงพอ
ทำให้มีสัตว์ขนาดเล็กเล็ดลอดเข้าไปเจริญเติบโตในถังเพา
ะพันธุ์กุ้งได้ และจะกินลูกกุ้ง หรือปล่อยสารพิษออกมา ทำให้ลูกกุ้งตาย
สัตว์เหล่านี้ได้แก่ ลูกปลา และไฮโดรซัว (Hydrozoa)
ซึ่งมีวิธีป้องกันได้ โดยการกรองน้ำ หรือใช้สารเคมีฆ่าเชื้อต่างๆ
ให้น้ำสะอาดเสียก่อน
เมื่อสารเคมีหมดฤทธิ์ จึงนำมาใช้ในการเพาะเลี้ยงกุ้งวัยอ่อน
ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันโรคและศัตรูทุกชนิด
๒. สัตว์เซลล์เดียว (Protozo) ได้แก่ ซูแทมเนียม (Zoothamnium
sp.) เอพิสไทลิส (Epistylis sp.) และลาจีนอฟรีส (Lagenophrys sp.)
ซึ่งอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เกาะอยู่ข้างลำตัวกุ้ง
วิธีรักษา ใช้น้ำยาฟอร์มาลิน (Forma- lin)
ใส่ในถังเพาะพันธุ์ให้มีความเข้มข้น ๒๕-๕๐ ส่วนในล้าน (ppm.) หรือใส่จุนสี
(CuSo๔) ละลาย น้ำในอัตราส่วน ๐.๐๐๒๕ กรัมต่อน้ำ ๑
ตัน
๓. บัคเตรี จำพวกไวบริโอ (Vibrio sp.) และซูโดโมนัส (Pseudomonas
sp.) เมื่อเกิดกับตัวกุ้ง จะมีลักษณะสีขาวขุ่น
เมื่อเป็นแล้วลูกกุ้งไม่ค่อยกินอาหาร จะทำให้อ่อนแอและตายไปในที่สุด
วิธีรักษา ใช้ยาจำพวกยาปฏิชีวนะ (antibiotic) เช่น ยาฟูราเนซ (furanace)
ใส่ในอัตรา ๐.๑ ส่วนในล้าน ออกซีเททระไซคลิน (Oxyte- tracycline) ในอัตรา
๒ - ๕ กรัมต่อน้ำ ๑ ตัน
นอกจากศัตรูและโรคดังกล่าวยังพบโรคเรืองแสง
ซึ่งยังไม่พบวิธีรักษาที่ได้ผล
นอกจากป้องกันโดยการฆ่าเชื้อในน้ำทะเล ก่อนที่จะนำมาใช้เลี้ยงลูกกุ้ง
เมื่อลูกกุ้งคว่ำลงเกาะพื้นก้นบ่อ ซึ่งใช้เวลาประมาณ ๓๐ - ๔๕ วัน
สามารถนำไปเลี้ยงในบ่อใหญ่ได้ แต่ก่อนที่จะนำไปเลี้ยงในบ่อใหญ่
ควรอนุบาลลูกกุ้งต่อไปอีก ๑-๒ เดือน
ทั้งนี้เพื่อให้ลูกกุ้งแข็งแรงพอเสียก่อน |