สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน
เมนู 13
|
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๓ / เรื่องที่ ๕ นาฎศิลป์ไทย / ระบำ
ระบำ
ระบำ
ระบำ หมายถึง การแสดงที่มุ่งหมายความสวยงาม และความบันเทิงเป็นสำคัญ
ไม่มีเรื่องราว ผู้แสดงจะมีจำนวนเท่าใดก็ได้ อาจเป็นระบำเดี่ยว คือ
รำคนเดียว ระบำคู่ รำ ๒ คน หรือระบำหมู่ รำหลายๆ คน
ระบำหมู่สมัยโบราณก็คือระบำที่เรียกว่า "ระบำสี่บท"
มักจะเป็นการจับระบำของเทวดากับนางฟ้า เรียกว่า ระบำสี่บท
เนื่องจาก มีทำนองเพลงร้อง และบรรเลงดนตรีอยู่ ๔ เพลง คือ เพลงพระทอง
เพลงเบ้าหลุด เพลงสระบุหร่ง (อ่านว่า สะหระบุหร่ง) และเพลงบหลิ่ม (อ่านว่า
บะหลิ่ม) ในสมัยโบราณท่านแต่งคำร้องเป็นเพลงละบท จึงเป็น ๔ บทจริงๆ
สมัยต่อมา มักจะลดบทร้องให้สั้นเข้า เป็นบทละ ๒ เพลง
และบางทีก็ลดเพลงลงเหลือเพียง ๒ เพลง หรือเพลงเดียวก็มี
ซึ่งจะเรียกระบำสี่บทไม่ได้ แต่การรำยังคงใช้แบบของระบำสี่บทอยู่ตามเดิม
ต่อมา ได้มีผู้คิดระบำอื่นๆ ขึ้นอีกหลายอย่าง
บางทีก็ร้องแล้วดนตรีรับเหมือนระบำสี่บท บางทีก็ร้องและคลอดนตรีไปพร้อมๆ
กัน ซึ่งวิวัฒนาการไปตามสิ่งแวดล้อม และกาลสมัย เช่น
ระบำย่องหงิด (หรือ ยู่หงิด)
ระบำดาวดึงส์
ระบำกฤดาภินิหาร
ระบำนพรัตน์ |  ระบำกฤดาภินิหาร | ปัจจุบันนี้มีจนถึงระบำสัตว์ต่างๆ ซึ่งเป็นการรำเลียนท่าสัตว์นั้นๆ เช่น
ระบำม้า ประกอบเพลงอัศวลีลา
ระบำนกยูง ประกอบเพลงมยุราภิรมย์
ระบำกวาง ประกองเพลงมฤคระเริง
ระบำควาย ประกอบเพลงบันเทิงกาสร
ระบำช้าง ประกอบเพลงกุญชรเกษม |  ระบำนพรัตน์ |
หัวใจของการแสดงระบำก็คือ ความพร้อมเพรียง ความสวยงาม
และเพื่อความบันเทิง ระบำบางชนิดไม่สวยงามเลย แต่เพื่อความบันเทิง เช่น
ระบำก็อย จากละครเรื่องเงาะป่า พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕
ผู้แสดงทาตัวด้วยสีดำ นุ่งผ้าสั้น เรียกว่า "เลาเตี้ยะ" ถือไม้ซาง
เรียกว่า "บอเลา" |
|