สำหรับเด็กระดับเล็ก - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 13
เล่มที่ ๑๓
เรื่องที่ ๑ เรือนไทย
เรื่องที่ ๒ ชีวิตชนบทไทย
เรื่องที่ ๓ หัตถกรรมพื้นบ้าน
เรื่องที่ ๔ จิตรกรรมไทย
เรื่องที่ ๕ นาฏศิลป์ไทย
เรื่องที่ ๖ ตุ๊กตาไทย
เรื่องที่ ๗ การละเล่นของไทย
เรื่องที่ ๘ อาหารไทย
เรื่องที่ ๙ การประดิษฐ์ผักและผลไม้
เรื่องที่ ๑๐ การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม
เรื่องที่ ๑๑ ธนาคาร
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๓ / เรื่องที่ ๗ การละเล่นของไทย / สำหรับเด็กระดับเล็ก

 สำหรับเด็กระดับเล็ก ฟังเสียงอ่าน => บันทึกเสียง

ซ่อนซ่อนหาหา ปิดตาไม่มิด
เปิดเปิดปิดปิด ต้องผิดสัญญา
ปิดตาไม่มิด สารพิษเข้าตา
พ่อแม่ทำนา ได้ข้าวเม็ดเดียว

คนที่ปิดตาร้องถาม "เอาหรือยัง" เสียงคนที่วิ่งไปซ่อนเสร็จแล้ว ร้องตอบ "เอาหละ" ใครถูกหาพบ ก็ต้องเป็นคนปิดตาต่อไป
  เด็กๆ ทุกคนคงเคยเล่นซ่อนหา ซ่อนหาเป็นการเล่นที่แสนสนุก ตื่นเต้น ระทึกใจ คนที่ปิดตาต้องซื่อสัตย์ คนซ่อนต้องว่องไว คนดูช่วยกันร้องสอดคล้องกันไป ร่าเริงแจ่มใสทั้งผู้ใหญ่ และเด็กน้อย
การละเล่นของไทยมักจะเล่นกันเป็ฯกลุ่ม มีกติกา วิธีเล่น บทร้อง ทำนอง จังหวะประกอบกัน บางครั้งการเล่นเลียนแบบชีวิตจริง
พี่สาวเลี้ยงน้อง คนอื่นๆ ช่วยกันร้องเพลง

"จันทร์เจ้าข้า ขอข้าวขอแกง
ขอแหวนทองแดง ผูกมือน้องข้า..."


บางครั้งเด็ก ๆ เล่นกันอยู่ใต้ถุนบ้าน ชักชวนกันเล่นลิงชิงหลัก เล่นขายของ เล่นอ้ายเข้อ้ายโขง

"อ้ายเข้อ้ายโขง อยู่ในโพรงไม้สัก
อ้ายเข้ฟันหัก กัดคนไม่เข้า"

ชีวิตชาวบ้านเบิกบานมีความสุขอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ

เด็กหญิงเก็บก้อนกรวดก้อนเล็กๆ มาเล่นหมากเก็บ

เด็กชายขี่ม้าก้านกล้วย วิ่งแข่งกัน

หนุ่มสาวเกี่ยวข้าวเหนื่อยแล้ว หยุดพักมาเล่นร้องรำ เล่นเพลงเต้นกำรำเคียง หรือเพลงเกี่ยวข้าว ผู้ใหญ่เล่นเพลงพวงมาลัย บ้างก็พายเรือ ร้องเพลงเรือ

การละเล่นของไทยให้ความสนุก แจ่มใส มีคุณค่าทางศิลปะ ภาษา และประเพณี การละเล่นของไทยจึงเป็นวัฒนธรรมไทย ที่สืบทอดมาถึงเด็กไทยทุกวันนี้
หัวข้อถัดไป