พระที่นั่งราชฤดี |
พระที่นั่งราชฤดี
ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน
หน้าหอพระสุราลัย แต่เดิม พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ
ให้สร้างขึ้นเป็น "แบบฝรั่ง"
เป็นที่เสด็จออกว่าราชการ แต่ต่อมาโปรดเกล้าฯ
ให้นำสิ่งของที่ได้รับทูลเกล้าฯ ถวายจากนานาประเทศมาตั้งไว้
นับเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรก ของประเทศ ต่อมาได้รื้อลง และสร้างขึ้นใหม่
ในสมัยรัชกาลที่ ๖ โดยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น
เพื่อใช้เป็นที่สรงมูรธาภิเษก ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
พระราชทานนามว่า
พระที่นั่งจันทรทิพโยภาส
ต่อมา ได้เปลี่ยนเป็นพระที่นั่งราชฤดี ให้เหมือนของเดิม
พระที่นั่งองค์นี้ มีลักษณะเป็นพระที่นั่งโถง ยกพื้นสูงพอประมาณ
โครงสร้างก่ออิฐฉาบปูน หลังคาทรงไทยมุงกระเบื้องเคลือบสีขาว พื้นปูหินอ่อน
ได้ใช้พระที่นั่งองค์นี้
ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกต่อมาทุกรัชกาลจนถึงปัจจุบัน |
เขตพระราชฐานชั้นใน
มีตำหนักที่ประทับของเจ้านายฝ่ายในที่สำคัญ
ที่ยังปรากฏหลักฐานอยู่หลายหลัง เช่น พระตำหนักเขียว พระตำหนักแดง
ที่ประทับ ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ ๒
พระองค์ที่เสด็จเข้ามาช่วยราชการในสมัยรัชกาลที่ ๑
พระตำหนักแดง ที่ประทับ ของสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ ในสมัยรัชการที่ ๒
และตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี ในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นต้น
พระตำหนักเหล่านี้ หลายหลังได้ย้ายไปตั้งอยู่นอกพระบรมมหาราชวัง เช่น
พระตำหนักเขียว ได้ถวายเป็นกุฏิเจ้าอาวาส วัดอมรินทราราม
พระตำหนักแดง ที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ
ได้ถวายเป็นศาลาการเปรียญ
วัดรัชฎาธิฐาน ส่วนพระตำหนักแดง ที่ประทับของสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์
ส่วนหนึ่งได้ถวายเป็นกุฏิเจ้าอาวาส วัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี
และอีกส่วนหนึ่งตั้งอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
ส่วนตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
ยังคงตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง เป็นตำหนักประธาน ในเขตพระราชฐานชั้นใน
นอกจากนั้น ยังมีตำหนักใหญ่น้อย
และเรือนข้าราชบริพารที่ยังเหลืออยู่อีกเป็นจำนวนมาก
เขตวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ภายในเขตนี้มีอาคารที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่
๑ เป็นต้นมา เป็นอันมาก แต่ละหลังสร้างขึ้น ด้วยความประณีตบรรจง
โดยพระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ถวายเป็นพุทธบูชา
อาคารที่สำคัญต่างๆ ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ ประกอบด้วย |
ภูมิทัศน์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม |
พระอุโบสถ สร้างขึ้นใน
พ.ศ. ๒๓๒๖
เพื่อประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระแก้วมรกต
ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงนำมาจากเวียงจันทน์ |
พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม |
หอพระมณเฑียรธรรม สร้างขึ้น
เพื่อประดิษฐานพระไตรปิฎกฉบับทองใหญ่ ที่ทรงสังคายนา ต่อมาได้เกิดไฟไหม้
จึงได้สร้างขึ้นใหม่ ประดิษฐานพระไตรปิฎกฉบับอื่นๆ
เป็นที่เรียนหนังสือของพระ และเป็นที่จารึกพระสุพรรณบัฎ และพระราชสาสน์ |
พระมณฑป
สร้างขึ้น
เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระไตรปิฎกฉบับทองใหญ่
ในพื้นที่หอพระมณเฑียรธรรมหลังเดิม
พระเจดีย์ทอง ๒
องค์ ตั้งอยู่หน้าพระมณฑป
เป็นพระเจดีย์ทองทรงเครื่องแบบสมัยอยุธยาตอนปลาย
พระระเบียง
สร้างขึ้น เพื่อกั้นเป็นขอบเขตของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม นอกจากนั้น
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้าฯ
ให้เขียนภาพรามเกียรติ์ที่รอบผนังพระระเบียง
|
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
(พระแก้วมรกต) ประดิษฐานภายในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม |
สมัยรัชกาลที่ ๓ ได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ ทั่วทั้งพระอาราม
และได้สร้างอาคารขึ้นใหม่หลายหลัง ได้แก่
เศวตกุฎาคารวิหารยอด
สร้างขึ้น
เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปที่สำคัญ
หอพระนาก
สร้างขึ้น เพื่อประดิษฐานพระนากที่อัญเชิญจากรุงศรีอยุธยา
ต่อมาเป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิของพระราชโอรส และพระราชธิดาในพระมหากษัตริย์
พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ประดับจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ | |
พระปรางค์ ๘ องค์ สร้างขึ้น
เพื่อถวายแด่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ
เรียงลำดับจากเหนือไปใต้ ดังนี้ พระสัมมาสัมพุทธมหาเจดีย์ (พระพุทธ)
ปรางค์สีขาว พระสัทธัมปริยัติวรามหาเจดีย์ (พระธรรม) ปรางค์สีขาบ
พระอริยสังฆสาวกมหาเจดีย์ (พระสงฆ์) ปรางค์สีชมพู พระอริยสาวกภิกษุณี
สังฆมหาเจดีย์ (พระภิกษุณี) ปรางค์สีเขียว พระปัจเจกโพธิสัมพุทธมหาเจดีย์
(พระปัจเจกพุทธเจ้า) ปรางค์สีม่วง พระบรมจักรวรรดิราชามหาเจดีย์
(พระบรมจักรพรรดิ์) ปรางค์สีน้ำเงิน พระโพธิสัตว์กฤษฎามหาเจดีย์
(พระโพธิสัตว์) ปรางค์สีแดง และพระศรีอริยเมตยมหาเจดีย์
(พระศรีอริยเมตไตรย์) ปรางค์สีเหลือง
|
จิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์ที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม |
สมัยรัชกาลที่
๔ ได้มีการสร้างถาวรวัตถุขึ้นเป็นอันมาก
ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับพระระเบียง โดยที่โปรดเกล้าฯ
ให้สร้างพระพุทธปรางค์ปราสาท หรือเรียกกันในปัจจุบันว่า ปราสาทพระเทพบิดร
และพระศรีรัตนเจดีย์ขึ้นที่ด้านหน้า และหลังพระมณฑป
พร้อมทั้งยกฐานขึ้นให้สูง เนื่องด้วยอาคารทั้ง ๓ หลังนี้ มีฐานกว้าง
ทำให้ต้องขยายพระระเบียงออกไป ทั้งทางทิศตะวันออก และตะวันตก
และยังโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารอื่นๆ อีกหลายหลัง |
เศวตกุฎาคารวิหารยอด วัดพระศรีรัตนศาสดาราม | พระพุทธปรางค์ปราสาท
สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๓๙๘ ตามแบบปราสาททอง ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ด้วยวัตถุประสงค์ครั้งแรก จะให้เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต
แต่ภายหลังที่รัชกาลที่ ๔ เสด็จสวรรคตแล้ว
ได้กลายเป็นที่ประดิษฐาน พระเจดีย์กะไหล่ทอง ต่อมาเกิดไฟไหม้
ในปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงได้เป็นที่ประดิษฐาน พระบรมรูปรัชกาลต่างๆ
จนถึงปัจจุบัน |
พระศรีรัตนเจดีย์ สร้างขึ้นพร้อมๆ
กับพระพุทธปรางค์ปราสาท เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
หอราชพงศานุสร และหอราชกรมานุสร
เป็นหอพระขนาดเล็ก ๒ หอ หอราชพงศานุสร ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ
ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงสร้างอุทิศถวายพระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
หอราชกรมานุสรประดิษฐานพระพุทธรูป ๓๔ พระองค์
ทรงสร้างอุทิศถวายพระเจ้าแผ่นดินครั้งกรุงศรีอยุธยา |
พระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ในพระบรมราชจักรีวงศ์๕ พระองค์
ประดิษฐานภายในพระพุทธปรางค์ปราสาท |
พระโพธิธาตุพิมาน สร้างขึ้น
เพื่อประดิษฐานพระปรางค์ทรงโบราณ
หอพระนี้ตั้งอยู่บนฐานเดียวกับหอราชพงศานุสร และหอราชกรมานุสร |
พระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม |
หอระฆัง สร้างขึ้น แทนหอระฆังเดิม
ที่มีมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๑
หอพระคันธารราษฎร์
สร้างขึ้น เพื่อประดิษฐานพระคันธารราษฎร์ เพื่อใช้ในพิธีขอฝน
สมัยรัชกาลที่ ๕ เนื่องด้วยการบูรณะปฏิสังขรณ์ และการสร้างหอต่างๆ ขึ้น
ในสมัย รัชกาลที่ ๔ ยังไม่เสร็จ รัชกาลที่ ๕ จึงได้โปรดเกล้าฯ
ให้สร้างต่อจนแล้วเสร็จ ทันกับการฉลองกรุงเทพฯ ๑๐๐ ปี
นอกจากนั้นก็ได้โปรดเกล้าฯ
ให้สร้างบุษบกประดิษฐานพระบรมราชสัญลักษณ์ ของรัชกาลต่างๆ รวม ๓ องค์
หลังจากนั้น
ก็มิได้มีการสร้างสิ่งใดที่สำคัญเพิ่มเติม ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
นอกจากการบูรณะปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ ๗ และรัชกาลปัจจุบัน
เมื่อคราวฉลองกรุงเทพฯ ๑๕๐ ปี และ ๒๐๐ ปี ตามลำดับ
พระราชวังบวรสถานมงคล
(วังหน้า) สร้างขึ้นพร้อมๆ กับการสร้างพระบรมมหาราชวังใน พ.ศ. ๒๓๒๕
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก
โดยมีด้านทิศใต้ติดกับวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์เป็นที่หมายสำคัญ
เป็นพระราชวังที่สำคัญ รองจากพระบรมมหาราชวัง กล่าวคือ
เป็นที่ประทับของมหาอุปราช ซึ่งมีอำนาจรองจากพระมหากษัตริย์
พระราชวังนี้เป็นที่ประทับ ของพระมหาอุปราชมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๑
ถึงรัชกาลที่ ๕ เป็นเวลาประมาณ ๑๐๐ ปีเศษ
หลังจากที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จทิวงคตไปแล้ว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ยกเลิกตำแหน่งพระมหาอุปราช
และได้ทรงแต่งตั้งตำแหน่งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารขึ้นแทน
พระราชวังบวรสถานมงคลจึงได้เปลี่ยนจากการเป็นที่ประทับของมหาอุปราช
มาเป็นสถานที่ราชการเรื่อยมา ตามลำดับ
ปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วิทยาลัยช่างศิลป และนาฏศิลป และโรงละครแห่งชาติ |