สารพิษและสิ่งปนเปื้อนอาหาร - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 14
เล่มที่ ๑๔
เรื่องที่ ๑ พระราชวัง ในกรุงเทพมหานคร
เรื่องที่ ๒ พระราชวัง ในส่วนภูมิภาค
เรื่องที่ ๓ ประติมากรรมไทย
เรื่องที่ ๔ อาหารสัตว์
เรื่องที่ ๕ พืชอาหารสัตว์
เรื่องที่ ๖ การปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์
เรื่องที่ ๗ ข้าวฟ่าง
เรื่องที่ ๘ เทคโนโลยีชีวภาพ
เรื่องที่ ๙ สารพิษ และสิ่งปนเปื้อนอาหาร
เรื่องที่ ๑๐ สมุนไพร
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๔ / เรื่องที่ ๙ สารพิษ และสิ่งปนเปื้อนอาหาร / สารพิษและสิ่งปนเปื้อนอาหาร

 สารพิษและสิ่งปนเปื้อนอาหาร
ตามความหมายโดยทั่วไป สารพิษ หมายถึง สารที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต และทรัพย์สิน สารพิษซึ่งมีหรือเกิดขึ้น ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา ที่เข้ามาปะปน หรือปนเปื้อนอาหาร แล้วก่อให้เกิดอาการพิษแก่ผู้บริโภคนั้น จำแนกตามแหล่ง ที่มาได้เป็น ๒ ประเภทคือ

แปลงผักเหล่านี้ เกษตรกรส่วนใหญ่ดูแลรักษาด้วยการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชแปลงผักเหล่านี้ เกษตรกรส่วนใหญ่ดูแลรักษา ด้วยการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 

สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ

ในดิน น้ำ อากาศ เช่น จุลินทรีย์ (บัคเตรี เชื้อราและไวรัส) สารพิษ ที่จุลินทรีย์สร้างขึ้น เมื่อภาวะแวดล้อมเหมาะสม โลหะบางชนิดในดิน น้ำ และแร่ธาตุที่มีสารกัมมันตรังสี เป็นต้น
แผนภาพแสดงแหล่งสารพิษในสิ่งแวดล้อมและความสัมพันธ์
แผนภาพแสดงแหล่งสารพิษในสิ่งแวดล้อม และความสัมพันธ์
สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น

ได้แก่ สารเคมีที่ใช้ในเกษตร เช่น สารกำจัดแมลง ปุ๋ย สารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรม หรือเกิดจากกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม เช่น สารประกอบโลหะ สารพีซีบี (PCBs = polychlorinated biphenyls) ซึ่งใช้เป็นสารหล่อลื่นในอุตสาหกรรมหลายประเภท สารไฮโดรคาร์บอน จากอุตสาหกรรมปิโตรเลียม และสารกัมมันตรังสีที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า เป็นต้น
สิ่งปนเปื้อนอาหารไม่ว่าจะมีอยู่ตามธรรมชาติ หรือมนุษย์สร้างขึ้นนี้ หากจำแนกตามคุณสมบัติของสาร จะแบ่งได้ ๓ ประเภท คือสิ่งมีชีวิต (บัคเตรี เชื้อรา เป็นต้น) สารเคมี (สารกำจัดแมลง โลหะ สารพิษที่จุลินทรีย์สร้างขึ้น เป็นต้น) และ สารกัมมันตรังสี
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป