ความแตกต่างระหว่างสารปนเปื้อนและสารเจือปนอาหาร - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 14
เล่มที่ ๑๔
เรื่องที่ ๑ พระราชวัง ในกรุงเทพมหานคร
เรื่องที่ ๒ พระราชวัง ในส่วนภูมิภาค
เรื่องที่ ๓ ประติมากรรมไทย
เรื่องที่ ๔ อาหารสัตว์
เรื่องที่ ๕ พืชอาหารสัตว์
เรื่องที่ ๖ การปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์
เรื่องที่ ๗ ข้าวฟ่าง
เรื่องที่ ๘ เทคโนโลยีชีวภาพ
เรื่องที่ ๙ สารพิษ และสิ่งปนเปื้อนอาหาร
เรื่องที่ ๑๐ สมุนไพร
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๔ / เรื่องที่ ๙ สารพิษ และสิ่งปนเปื้อนอาหาร / ความแตกต่างระหว่างสารปนเปื้อนและสารเจือปนอาหาร

 ความแตกต่างระหว่างสารปนเปื้อนและสารเจือปนอาหาร
ความแตกต่างระหว่างสารปนเปื้อนและสารเจือปนอาหาร

สารพิษที่เข้ามาสู่อาหารในลักษณะที่กล่าวมาแล้ว ทางวิชาการด้านอาหารเรียกว่า สารปนเปื้อนอาหาร ซึ่งแตกต่างกับสิ่งที่เรียกว่า สารเจือปนอาหาร หรือวัตถุเจือปนอาหาร ดังนี้คือ สารปนเปื้อนเป็นสิ่งที่ติดมาในอาหาร โดยที่ผู้ผลิตไม่ได้ตั้งใจใส่สารนั้นในอาหาร โดยตรง แต่อาจมาจากสิ่งแวดล้อม หรือจากอุปกรณ์ที่ใช้ผลิตอาหาร เช่น สารพิษจากน้ำมันหล่อลื่นเครื่องจักรติดเปื้อนมาในอาหาร ที่ผลิตโดยใช้เครื่องจักรนั้น หรือเป็นสารที่เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างการผลิตอาหาร  เช่น การเกิดสารพิษไนโทรซามีน จากปฏิกิริยาของสารไนโทรต์กับสารอะมีน ซึ่งเป็นสารที่มีตาม ธรรมชาติของอาหาร หรือจากภาชนะบรรจุอาหาร เช่น ดีบุกจากกระป๋องบรรจุอาหาร ละลายปนใน อาหารนั้น

กระป๋องบรรจุอาหาร ที่ใช้วิธีเชื่อมต่อแผ่นโลหะประกอบกระป๋องด้วยกระบวนการอิเล็กทรอนิกส์
ช่วยลดปัญหาตะกั่วละลายลงปนเปื้อนอาหารได้
ส่วนสารเจือปนอาหารเป็นสิ่งที่ผู้ผลิตตั้งใจเติมในอาหารโดยตรง เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น การถนอมอาหารโดยใส่สารกันบูด การใส่สีสังเคราะห์เพื่อแต่งสีอาหารให้สม่ำเสมอทุกรุ่นผลิต และการแต่งรสอาหารให้หวานโดยเติมสารสังเคราะห์ที่ไม่ใช่น้ำตาล เป็นต้น สารเหล่านี้ไม่นับเป็นสารปนเปื้อน ทั้งนี้ยกเว้นกรณีสารกำจัดแมลง ซึ่งเกษตรกรตั้งใจพ่นหรือฉีดแก่พืชผัก หรือสัตว์เลี้ยงโดยตรง ซึ่งจัดเป็นสารปนเปื้อนอาหาร และเป็นกลุ่มสารปนเปื้อนที่มีความสำคัญมากในระดับนานาชาติ เพราะผลจากการใช้ ทำให้สารกลุ่มนี้แพร่กระจายสู่สิ่งแวดล้อม แล้วไปปนเปื้อนอาหารประเภทอื่นได้ด้วย
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป