สารกำจัดศัตรูพืชทุกชนิดมีพิษต่อระบบประสาท
อาการจะรุนแรงมาก
หากได้รับสารโดยตรง เช่น เกษตรกรที่ฉีดพ่นสารนี้
หรือผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการผลิต แต่ในกรณีที่ปนเปื้อนอาหาร
จะมีผลในด้านพิษสะสม ซึ่งอาจมีอาการไม่ต่างจากพิษสะสม ของสารมีพิษอื่นๆ
เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ และทำให้ร่างกายอ่อนแอ เจ็บป่วยง่าย
การใช้สารกำจัดศัตรูพืชในการเกษตร
จึงจำเป็นต้องเลือกใช้สารให้เหมาะสมกับโรคของพืช
ตามคำแนะนำของนักวิชาการเกษตร
อีกทั้งต้องระมัดระวังขนาดและความถี่ในการใช้
ตลอดจนระยะเวลาเก็บเกี่ยวหลังใช้สารเคมี และต้องปฏิบัติตามฉลาก
เพื่อลดอันตรายจากกากของสารพิษ ที่ตกค้างในอาหาร
|
|
อาหารประเภทผัก
ผลไม้และข้าว ที่จำหน่ายตามตลาดทั่วไป มักตรวจพบสารประกอบฟอสเฟต
แต่ปริมาณที่พบ มักไม่เกินค่าปลอดภัย เพราะสลายตัวเร็ว
และอาจละลายน้ำไปบ้าง ส่วนสารประกอบ คลอรีนที่ยังคงพบคือ ดีดีที
เพราะสลายตัวช้า และพืชอาจดูดซึมจากดินมาได้ แต่มักพบในปริมาณต่ำมาก
เพราะพืชผักมีไขมันไม่มาก อาหารประเภทไขมันสัตว์ ไข่และน้ำนมดิบ
จะไม่พบกลุ่มสารประกอบฟอสเฟต และคาร์บาเมต พบเฉพาะสารประกอบคลอรีน
แต่น้ำมันพืช และไขมันจากสัตว์ ที่ผ่านกรรมวิธีทางอุตสาหกรรม
หรือน้ำนมที่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อแล้ว มักตรวจไม่พบการตกค้าง
เนื่องจากถูกทำลายหมดไป ด้วยความร้อน
โลหะ
โลหะเป็นสารที่พบอยู่ทั่วไปทุกแห่งหน การปนเปื้อนของโลหะในอาหารของมนุษย์
มีสาเหตุที่มาสำคัญ ๓ ประการ คือ
๑.จากธรรมชาติ คือ ในดิน น้ำ อากาศ พืช และสัตว์ ตามวงจรธรรมชาติ
๒.จากของเสียทางอุตสาหกรรม
ไม่ว่าจะเป็นโรงงานผลิตสารเคมี ถลุงโลหะ หล่อหรือผสมโลหะ ฯลฯ
โลหะที่ออกสู่สิ่งแวดล้อม จะมีทั้งเป็นก๊าซ ของเหลว และของแข็ง |
ผลไม้ที่วางจำหน่ายในท้องตลาด มักตรวจพบสารพิษตกค้าง
แต่มีปริมาณไม่เกินค่าปลอดภัย |
๓.จากกระบวนการผลิตอาหาร เช่น การสัมผัสระหว่างอาหารกับเครื่องจักรและอุปกรณ์ ระหว่างผลิต และโลหะ จากภาชนะบรรจุอาหาร
โลหะบางชนิดมีความเป็นพิษ
แม้จะได้รับปริมาณน้อย บางชนิดเป็นโลหะที่ร่างกายต้องการ
เพื่อการเจริญเติบโต อย่างไรก็ตาม หากได้รับมากเกินควร ก็ทำให้เกิดพิษได้
บางชนิดสะสมอยู่ในร่างกายได้นาน บางชนิดร่างกายจะขับถ่ายได้เร็ว
ทำให้ยาก ที่จะแบ่งประเภทโลหะทุกชนิดได้อย่างชัดเจน
ว่าเป็นสารปนเปื้อนอาหารหรือไม่ โลหะที่สนใจกันทั่วไป
และนักวิชาการหลายประเทศกำลังศึกษาด้านพิษวิทยา ได้แก่ ตะกั่ว ปรอท
แคดเมียม ดีบุก สารหนู ทองแดง สังกะสี และเหล็ก ซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดเฉพาะชนิด
ดังนี้ |
พืชผักที่ปลูกอยู่ใกล้ถนน
มีโอกาสได้รับตะกั่วจากไอเสียรถยนต์ปนเปื้อนได้มาก
ควรล้างให้สะอาดก่อนนำไปรับประทาน |
ตะกั่ว
ตะกั่วที่ปนเปื้อนอาหารนั้นมาจากอากาศร้อยละ ๙๐
ไอเสียรถยนต์เป็นตัวแพร่กระจายที่สำคัญ เนื่องจากการใส่สารประกอบตะกั่ว
(lead tetraethylene) ในน้ำมันรถยนต์ เพื่อกันเครื่องยนต์น็อค ดังนั้น
พืชผักที่ปลูกใกล้ถนนจะมีโอกาสปนเปื้อนตะกั่วมาก แต่สามารถล้างขจัดออกได้
นอกจากนั้นอาจพบตะกั่วในดินบางแห่งมาก เช่น บริเวณใกล้โรงงานถลุงแร่
หรือโรงงานอุตสาหกรรม
อนึ่ง
ในการผลิตกระป๋องบรรจุอาหาร ใช้แผ่นเหล็กเคลือบดีบุก
มาเชื่อมต่อกันด้วยโลหะผสมตะกั่ว
จึงมีโอกาส ที่ตะกั่วบริเวณตะเข็บกระป๋องด้านใน จะละลายลงในอาหารได้
จากการตรวจพบตะกั่วในอาหารเกือบทุกประเภท ๑ ใน ๓
ของอาหาร ที่มีตะกั่วปนเปื้อน เป็นอาหารกระป๋อง เพื่อลดปัญหานี้
จึงได้พัฒนาวิธีเชื่อมกระป๋องบรรจุอาหาร
โดยใช้กระบวนการอิเล็กทรอนิกส์แทนวิธีเดิม
น้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม หรือบ้านเรือน
ที่อยู่อาศัย นอกจากทำให้น้ำในแม่น้ำลำคลองเน่าเสียแล้ว
ยังแพร่กระจายสารปรอทและสารพิษอื่นๆ ลงในแม่น้ำลำคลองอีกด้วย |
|
ปรอท
ของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
เช่น โรงงานผลิตคลอรีน เครื่องใช้ไฟฟ้า สีทาบ้าน และอื่นๆ
เหล่านี้ เป็นแหล่งใหญ่ ของปรอท ที่ถูกปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม
และไปปนเปื้อนอาหาร ปรอทที่ถูกปล่อยลงในน้ำ จะไปสะสมในแพลงก์ตอน
และเข้าสู่วงจรอาหาร (มักตรวจพบปรอทในสัตว์น้ำ ทั้งน้ำจืด และน้ำเค็ม
บริเวณชายฝั่งมากกว่าอาหารชนิดอื่น) บัคเตรีในน้ำบางชนิด
เปลี่ยนปรอทในรูปอนินทรีย์ ซึ่งมีพิษไม่มากให้เป็นสารอินทรีย์ เช่น
เมทิลเมอร์คิวรี (methyl mercury) ซึ่งมีพิษสูงได้ การควบคุมกระบวนการผลิต
และการกำหนดปริมาณปรอทในน้ำทิ้งจากโรงงาน จะช่วยลดปัญหานี้ได้มาก
แคดเมียม
มักพบอยู่รวมกับสังกะสีในดิน
การถลุงแร่สังกะสี จะทำให้แคดเมียมฟุ้งกระจายในอากาศ และลงสู่แหล่งน้ำ
นอกจากนี้ อุตสาหกรรมการเคลือบโลหะ การผลิตสีผสมพลาสติก และสีทาบ้าน
จะมีโลหะนี้ปนเปื้อนออกสู่สิ่งแวดล้อมด้วย
แคดเมียมอยู่ในร่างกายได้นานเป็นสิบปี มักไปสะสมที่ตับ และไต
อาการพิษที่เกิดจากการบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนแคดเมียม พบไม่มาก
การป้องกันทำได้หลายด้าน เช่น กำหนดปริมาณแคดเมียมในของเสียจากโรงงาน
กำหนดปริมาณในภาชนะและวัตถุ ที่ใช้สัมผัส หรือห่อหุ้มอาหาร
|
ลักษณะของโรคไขดำที่บริเวณอวัยวะส่วนต่างๆ
ของร่างกายซึ่งเกิดจากพิษของสารหนู |
ดีบุก
แหล่งแร่ดีบุกมีเฉพาะภูมิภาคบางแห่งของโลก
ไทยเป็นแหล่งแร่ดีบุกใหญ่แห่งหนึ่งในโลก
ดีบุกสะสมอยู่ในพืชได้น้อยกว่าตะกั่ว
กระป๋องบรรจุอาหารทำจากแผ่นเหล็กเคลือบดีบุก
เพื่อป้องกันการกัดกร่อนของเหล็ก
และเคลือบทับด้วยสารสังเคราะห์บางประเภทอีกชั้นหนึ่ง
เพื่อป้องกันดีบุกละลายผ่านออกมา
แต่หากนำไปบรรจุอาหาร ที่มีสารบางชนิดปนอยู่
หรือการเก็บอาหารกระป๋องในที่ร้อน ดีบุกจะละลายมาในอาหารได้
นอกจากนั้นเมื่อเปิดกระป๋องแล้ว
ออกซิเจนจากอากาศจะเป็นตัวเร่งให้ดีบุกละลายมากขึ้น อาหารกระป๋อง
จึงเป็นแหล่งสำคัญ
ที่ผู้บริโภคมีโอกาสได้รับธาตุดีบุก มากกว่าอาหารประเภทอื่น
ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับพิษสะสมของดีบุก
เคยมีรายงานการป่วยเนื่องจากพิษเฉียบพลัน
จากการดื่มน้ำผลไม้กระป๋อง ซึ่งมีดีบุกปนเปื้อนมากกว่า ๒๕๐
มิลลิกรัมต่อลิตร โดยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน และมีไข้
ลักษณะของโรคไขดำที่บริเวณอวัยวะส่วนต่างๆ
ของร่างกายซึ่งเกิดจากพิษของสารหนู |
|
หลายประเทศพยายามควบคุมปริมาณดีบุกในอาหารกระป๋องให้มีน้อยที่สุด
แต่ในบางประเทศยังทำได้ยาก เพราะอยู่ในเขตร้อน
โอกาสที่ดีบุกจะละลายออกมาย่อมมากกว่าประเทศเขตหนาว
สารหนู
เป็นธาตุกึ่งโลหะ
ในธรรมชาติมักพบเป็นสินแร่ ในลักษณะเป็นสารประกอบกับธาตุอื่นๆ เช่น เหล็ก
ทองแดง นิเกิล โดยอาจ อยู่ในรูปอาร์เซไนด์ หรือซัลไฟด์ หรือออกไซด์
ประเทศไทยพบมากในรูปอาเซโนไพไรต์ หรือที่เรียกว่า เพชรหน้าแท่น
เป็นสารประกอบของธาตุเหล็ก สารหนู และกำมะถัน
ซึ่งเป็นแร่ที่มักพบร่วมกับดีบุก พลวง และวุลแฟรม แร่นี้ผุพังสลายตัว
เป็นสารที่ละลายน้ำได้ง่าย จึงละลายอยู่ในแหล่งน้ำทั่วไป |
ลักษณะของโรคไขดำที่บริเวณอวัยวะส่วนต่างๆ
ของร่างกายซึ่งเกิดจากพิษของสารหนู |
โรงงานอุตสาหกรรม นำสารประกอบอินทรีย์
และอนินทรีย์ของสารหนูหลายชนิดมาใช้เป็นสารกำจัดหนู แมลง เชื้อรา
และวัชพืช นอกจากนี้ยังใช้ในอุตสาหกรรมผลิตแก้ว เซรามิก กระจก กระจกสี
และสีย้อม บางชนิดใช้เป็นยารักษาสัตว์ และผสมอาหารสัตว์
เพื่อเร่งการเจริญเติบโต ยาสมุนไพรไทยและจีนบางตำรับ
ยังคงมีสารประกอบสารหนูผสมอยู่
มักพบสารหนูปนเปื้อนอาหารทั่วไป ในปริมาณต่ำกว่าค่ากำหนดคือ ๒
มิลลิกรัมต่ออาหาร ๑ กิโลกรัม แต่ในท้องถิ่น ที่มีการทำเหมืองแร่
จะพบปริมาณสารหนูในแหล่งน้ำธรรมชาติสูงกว่าปกติ
จึงไม่ควรนำน้ำจากบ่อหรือห้วยมาดื่มโดยตรง
เพราะเคยพบผู้มีอาการผิวหนังดำที่เรียก ไข้ดำ จำนวนมาก ที่ตำบลร่อนพิบูลย์
อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นอาการพิษของสารหนูนี้
หากจำเป็นต้องใช้น้ำจากแหล่งที่มีการขุดแต่งแร่ดีบุก พลวง และวุลแฟรม
หรือแหล่งอุตสาหกรรม ควรตกตะกอนด้วยปูนขาว หรือกรองผ่านผงถ่านก่อน
ปริมาณสารหนูจะลดลงอย่างมาก
|
การปิ้งหรือย่าง กระบวนการปรุงอาหารที่ทำให้เกิดสารพิษปนเปื้อนอาหารได้ |
สังกะสี ทองแดง
และเหล็ก
เป็นธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย
คือ ต้องได้รับเป็นประจำ มิฉะนั้นการเจริญของร่างกายจะผิดปกติ
แต่หากร่างกายได้รับมากเกินไป อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้
แม้จะยังไม่ทราบอาการพิษสะสมของโลหะเหล่านี้ในคน แต่หลายๆ
ประเทศ มักนิยมกำหนดค่ามาตรฐานไว้ เช่นเดียวกับโลหะอื่นๆ
เพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน เนื้อสัตว์ ปลา ธัญพืช และนม
เป็นแหล่งสำคัญ ของสังกะสี ส่วนทองแดงและเหล็กพบในอาหารทั่วไป
กลุ่มสารพีซีบี
กลุ่มสารพีซีบี (PCBs = polychlorinated biphenyls) เป็นกลุ่มสารเคมี
ซึ่งมีประมาณ ๑๐๐ รูปแบบ ใช้เป็นสารหล่อลื่นเครื่องจักร
และในหม้อแปลงไฟฟ้า ใช้ผสมหมึก สี
และใช้ในการทำกระดาษสำเนาชนิดไม่ต้องใส่กระดาษคาร์บอน
|
การปิ้งหรือย่าง กระบวนการปรุงอาหาร ที่ทำให้เกิดสารพิษปนเปื้อนอาหารได้ |
พีซีบีเป็นสารที่สลายตัวยาก และละลายได้ดีในน้ำมัน
ในประเทศอุตสาหกรรมนั้น ของเสีย และน้ำเสียจากโรงงาน
เป็นแหล่งสำคัญ ที่ทำให้สารพีซีบีปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม จึงมักพบสารนี้
ในอาหารที่มีไขมัน และในปลา สารพีซีบีสะสมได้ในไขมันของร่างกายมนุษย์
เช่นเดียวกับสารกำจัดศัตรูพืชบางประเภท
การป้องกันการปนเปื้อนสารนี้ในอาหาร
ทำได้โดยไม่ใช้สารนี้กับเครื่องจักร สำหรับการผลิตอาหารคนและสัตว์
กลุ่มสารพีเอเอช
กลุ่มสารพีเอเอช
(PAH = polycyclic aro- matic hydrocarbons)
เป็นกลุ่มสารเคมีที่มีหลายรูปแบบ แต่ ๓,๔-เบนโซไพรีน
เป็นตัวที่มีความเป็นพิษสูงสุดในกลุ่มนี้ คือ เป็นสารที่ก่อมะเร็งได้
สารนี้จะเกิดระหว่างการเผา ปิ้ง ย่างอาหาร โดยใช้ถ่าน หรือแก๊สหุงต้ม
|
เนื้อเค็ม
อาหารชนิดหนึ่ง ที่ตรวจพบสารไนโทรซามีน เนื่องจากการเจือปนดินประสิว |
ไนเทรตและไนโทรซามีน
การปรุงอาหารบางชนิด
จะเกิดสารไนโทรซามีนได้ โดยสารไนเทรตซึ่งอาจมีอยู่ในพืช
(ดูดซึมจากปุ๋ยในดิน) หรือในเนื้อสัตว์ (ที่ใช้ไนเทรตเป็นวัตถุกันเสีย)
เปลี่ยนสภาพเป็นสารไนไทรต์ แล้วทำปฏิกิริยากับสารโปรตีนที่มีตามธรรมชาติ
ในเนื้อสัตว์ อาหารไทยที่พบไนโทรซามีน ได้แก่ เนื้อเค็ม เนื้อสวรรค์
ปลาแห้ง
ไนโทรซามีนเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้
เช่นเดียวกับสารกลุ่มพีเอเอช หากได้รับติดต่อกันเป็นเวลานาน
แต่ไม่หมายความว่า
ผู้ที่รับประทานอาหารตามที่กล่าวจะต้องเป็นมะเร็งทั้งหมด ทั้งนี้
เพราะสารเหล่านี้จะปนเปื้อนอยู่ในปริมาณไม่สูงมากนัก ในน้ำลาย
และน้ำย่อยอาหารของมนุษย์ ก็จะพบสารไนโทรซามีนเช่นกัน
และในชีวิตประจำวันของมนุษย์
จะไม่ได้รับประทานอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นประจำทุกมื้อ ทุกวัน |
ถ้วยชามที่ใช้ใส่อาหาร ไม่ควรให้มีสีและลวดลายฉูดฉาด เพราะอาจมีสารพิษละลายออกมาปนเปื้อนอาหารได้ |
การจำกัดการใช้สารไนเทรต และไนไทรต์ในอาหาร ในปริมาณที่กำหนด
และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็น
เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่จะลดการเกิดสารไนโทรซามีนในอาหารได้ |
ภาชนะพลาสติก หากไม่มีฉลากรับรองคุณภาพตามที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคกำหนด ไม่ควรนำไปใส่อาหาร |
สารพิษจากภาชนะพลาสติก
การผลิตภาชนะพลาสติก
ทำโดยนำเม็ดพลาสติกมาผสมกับวัตถุบางชนิด
เพื่อช่วยให้เนื้อพลาสติกมีความคงตัว หรืออ่อนตัว
เหมาะสมต่อการนำภาชนะไปใช้งาน และอาจเติมสี เพื่อให้เกิดความสวยงาม
หากการผลิตไม่คัดเลือกเม็ดพลาสติกที่มีคุณภาพ
และไม่ควบคุมวิธีการผลิตให้ดีแล้ว อาจทำให้มีวัตถุดิบจากเม็ดพลาสติก
ที่เรียกว่า มอนอเมอร์ และวัตถุที่ผสมในการผลิต สี และโลหะบางชนิด
ละลายออกมาปนเปื้อนอาหารได้
|