การเกิดและหน้าที่ของโอโซนในบรรยากาศชั้นสตราโทสเฟียร์ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 15
เล่มที่ ๑๕
เรื่องที่ ๑ ผึ้ง
เรื่องที่ ๒ การเลี้ยงผึ้งโพรงไทย
เรื่องที่ ๓ ยาสูบ
เรื่องที่ ๔ ไม้สัก
เรื่องที่ ๕ ผ้าไทย
เรื่องที่ ๖ ชุมชนโบรานในเมืองไทย จากหลักฐานภาพถ่ายทางอากาศ
เรื่องที่ ๗ น้ำเสีย
เรื่องที่ ๘ ขยะมูลฝอย
เรื่องที่ ๙ มลพิษทางอากาศ
เรื่องที่ ๑๐ ปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับสากล
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๕ / เรื่องที่ ๑๐ ปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับสากล / การเกิดและหน้าที่ของโอโซนในบรรยากาศชั้นสตราโทสเฟียร์

 การเกิดและหน้าที่ของโอโซนในบรรยากาศชั้นสตราโทสเฟียร์
การเกิดและหน้าที่ของโอโซนในบรรยากาศชั้นสตราโทสเฟียร์
 
เมื่อรังสีอัลตราไวโอเลตผ่านบรรยากาศชั้นสตราโทสเฟียร์ จะทำให้โมเลกุลของก๊าซออกซิเจนแตกตัวออกเป็นสองอะตอม หนึ่งโมเลกุลของออกซิเจน จะรวมกับหนึ่งอะตอมของออกซิเจนที่แตกตัว ทำให้เกิดก๊าซโอโซนขึ้น

รังสีจากดวงอาทิตย์ถูกกั้นไว้ที่ระดับความสูงต่าง ๆ
รังสีจากดวงอาทิตย์ถูกกั้นไว้ที่ระดับความสูงต่างๆ
ที่มา: Allen

ก๊าซโอโซนมีความสามารถในการดูดซึมรังสีอัลตราไวโอเลต และรังสีก็อาจทำให้มันแตกตัวกลับดังเดิมได้ ดังนั้นจึงมีการเกิดและทำลายในชั้นโอโซนได้อย่างต่อเนื่องตามธรรมชาติ ที่ระดับความสูง ๕๐ กิโลเมตรจากพื้นดิน การดูดซึมรังสีอัลตราไวโอเลต ทำให้เกิดความร้อนจัดขึ้นในบรรยากาศชั้นนี้ คือ ที่ระดับสูงสุดของสตราโทสเฟียร์เรียกว่า เขตอุ่น (warm region)

ก๊าซโอโซนในชั้นบรรยากาศนี้ เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ไม่ถือว่า เป็นสารมลพิษ

หน้าที่สำคัญของก๊าซโอโซนในที่นี้คือ กรองรังสีอัตราไวโลเลต ส่วนที่เป็นอันตรายต่อคน สัตว์ และพืช
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป