มลพิษเก็บกักรังสีโลกหรือความร้อน - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 15
เล่มที่ ๑๕
เรื่องที่ ๑ ผึ้ง
เรื่องที่ ๒ การเลี้ยงผึ้งโพรงไทย
เรื่องที่ ๓ ยาสูบ
เรื่องที่ ๔ ไม้สัก
เรื่องที่ ๕ ผ้าไทย
เรื่องที่ ๖ ชุมชนโบรานในเมืองไทย จากหลักฐานภาพถ่ายทางอากาศ
เรื่องที่ ๗ น้ำเสีย
เรื่องที่ ๘ ขยะมูลฝอย
เรื่องที่ ๙ มลพิษทางอากาศ
เรื่องที่ ๑๐ ปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับสากล
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๕ / เรื่องที่ ๑๐ ปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับสากล / มลพิษเก็บกักรังสีโลกหรือความร้อน

 มลพิษเก็บกักรังสีโลกหรือความร้อน
มลพิษเก็บกักรังสีโลกหรือความร้อน
 
โลกสะท้อนพลังงานที่ได้รับจากดวงอาทิตย์ออกสู่บรรยากาศ ในรูปของรังสีอินฟราเรด (คลื่นยาว) ตามปกติไอน้ำ และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติ โดยเฉพาะในชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกอยู่อย่างใกล้ชิด จะดูดซึมรังสีโลกไว้

รังสีดวงอาทิตย์และส่วนที่ผ่านลงมาถึงโลก
รังสีดวงอาทิตย์และส่วนที่ผ่านลงมาถึงโลก

การเก็บกักความร้อนของโลกไว้นี้ เปรียบเทียบได้กับปรากฎการณ์ในเรือนต้นไม้ของประเทศทางตะวันตก (green house effect) ซึ่งเป็นอาคารที่กรุด้วยกระจก และเก็บงำความอบอุ่นไว้ให้เพียงพอแก่การปลูกพืชในฤดูหนาว เพราะแสงแดดสามารถส่องผ่านกระจกให้พืชเจริญเติบโตได้ เมื่อเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำที่พืชคายออกมาจากการสังเคราะห์แสง (photosynthesis) ถูกกักเก็บไว้ในเรือน จึงทำความร้อนในอาคารนี้สูงกว่าภายนอก

แต่การตัดไม้ทำลายป่า ตลอดจนการเร่งรัดใช้พลังงานอย่างกว้างขวางในการพัฒนาประเทศ ทำให้เกิดมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นยังเกิดหรือมีสารมลพิษต่างๆ เช่น โอโซน มีเทน ไนทรัสออกไซด์ แอมโมเนีย และฟรีออน ก๊าซเหล่านี้ต่างก็มีคูณสมบัติในการดูดซึมรังสีคล้ายกับคาร์บอนไดออกไซด์ จึงรวมเรียกว่า ก๊าซเรือนต้นไม้ (green house gases)

ความร้อนที่เก็บกักเอาไว้เป็นผลจากไอน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเมฆถึงร้อยละ ๙๐ คงเหลือประมาณร้อยละ ๑๐ เป็นส่วนของความร้อน ที่เก็บกักโดยก๊าซโอโซน มีเทน และไนทรัสออกไซด์เป็นหลัก
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป