การจัดการป่าไม้สัก - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 15
เล่มที่ ๑๕
เรื่องที่ ๑ ผึ้ง
เรื่องที่ ๒ การเลี้ยงผึ้งโพรงไทย
เรื่องที่ ๓ ยาสูบ
เรื่องที่ ๔ ไม้สัก
เรื่องที่ ๕ ผ้าไทย
เรื่องที่ ๖ ชุมชนโบรานในเมืองไทย จากหลักฐานภาพถ่ายทางอากาศ
เรื่องที่ ๗ น้ำเสีย
เรื่องที่ ๘ ขยะมูลฝอย
เรื่องที่ ๙ มลพิษทางอากาศ
เรื่องที่ ๑๐ ปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับสากล
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๕ / เรื่องที่ ๔ ไม้สัก / การจัดการป่าไม้สัก

 การจัดการป่าไม้สัก
สวนป่าสัก อ.งาว จ.ลำปาง
สวนป่าสัก อ.งาว จ.ลำปาง
การจัดการป่าไม้สัก

ในการวางโครงการ เพื่อการจัดการตัดฟัน และบำรุงป่าสัก กรมป่าไม้ได้เลือกใช้ระบบตัดฟันแบบเลือกตัด คือ คัดเลือกตัดแต่ไม้ ที่มีความโตทางเส้นรอบวง ๒๒๕ เซนติเมตรขึ้นไป และใช้ระยะเวลา ๓๐ ปี ในการตัดฟันต่อหนึ่งป่าสัมปทาน ในการนี้ป่าสักสัมปทานแปลงหนึ่งๆ แบ่งออก เป็น ๑๐ แปลงย่อย แต่ละแปลงย่อยแบ่งออกเป็น ๓ แปลงตัดฟัน แต่ละแปลงตัดฟันมีการทำไม้ออก ในระยะเวลา ๑ ปี รวมทั้งหมด ๓๐ แปลงตัดฟัน ต่อ ๓๐ ปี ต่อสัมปทาน การตัดฟันไม้สักในสมัยก่อน มีการกานไม้ให้ยืนต้นตายก่อนประมาณ ๑ ปี เพื่อให้ไม้แห้ง และไม่แตกหัก หลังจากโค่นและแปรรูป เมื่อครบกำหนดเวลาแล้ว จึงเข้าไปตัดฟัน ชักลากออก ล่องเป็นแพซุงมาตามลำน้ำปิง วัง ยม น่าน มาขายที่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ ปัจจุบันเทคโนโลยีในการตัดฟัน ชักลาก แปรรูปไม้ และการอบแห้ง ได้วิวัฒนาการขึ้นมาก จึงเปลี่ยนวิธีการทำไม้สักมาเป็นวิธีการตัดโค่นไม้สักสดๆ แล้วนำมาแปรรูป และอบแห้ง
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป