วัตถุประสงค์ในการสร้างจารึก - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 16
เล่มที่ ๑๖
เรื่องที่ ๑ การบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
เรื่องที่ ๒ พระไตรปิฎก และการชำระพระไตรปิฎก
เรื่องที่ ๓ การอนุรักษ์โบราณสถาน และโบราณวัตถุ
เรื่องที่ ๔ ศิลาจารึก และอ่านจารึก
เรื่องที่ ๕ สังคม และวัฒนธรรมไทย
เรื่องที่ ๖ การผลิตหนังสือ
เรื่องที่ ๗ การดนตรีสำหรับเยาวชน
เรื่องที่ ๘ การช่าง และหมู่บ้านช่าง
เรื่องที่ ๙ ดาวเทียมเพื่อการเกษตร
เรื่องที่ ๑๐ การฟื้นฟูสมรรถภาพเยาวชนผู้พิการด้านการศึกษา
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๖ / เรื่อง ที่ ๔ ศิลาจารึก และอ่านจารึก / วัตถุประสงค์ในการสร้างจารึก

 วัตถุประสงค์ในการสร้างจารึก
วัตถุประสงค์ในการสร้างจารึก

ความประสงค์ในการสร้างจารึก แม้จะมิได้ตั้งใจบันทึกเหตุการณ์สำคัญของสังคม หรือเรื่องราวของบ้านเมือง ซึ่งเป็นเนื้อหาสาระ ที่นักประวัติศาสตร์ต้องการ แต่จารึกเป็นเอกสารที่บันทึกเรื่องราวตามความเป็นจริง โดยนักประวัติศาสตร์ ไม่อาจปฏิเสธว่า จารึกเป็นหลักฐานข้อมูลข้างต้น ที่ใช้ศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของสังคมในอดีตได้ โดยเลือกศึกษาเนื้อหาบางส่วน ตามเป้าหมายที่ต้องการ ทั้งนี้เพราะผู้สร้างจารึกมีวัตถุประสงค์ในการสร้าง ไม่จำกัดเรื่องราวที่จะบันทึก เพียงแต่เน้นเฉพาะกิจกรรมส่วนบุคคลเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงสรุปได้ว่า การสร้างจารึกมีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ

๑. เพื่อเป็นกิตติกรรมประกาศ

เช่น จารึก ปากน้ำมูล จังหวัดอุบลราชาธานี เนื้อความในจารึกกล่าวถึง พระเจ้าจิตรเสน ทรงสร้างรูปเคารพไว้ในสถานที่ต่างๆ ตามคตินิยมของลัทธิไศวนิกาย เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะของพระองค์ ภายหลังเมื่อเสวยราชย์แล้วได้เฉลิมพระนามว่า พระเจ้ามเหนทรวรมัน

จารึกปากน้ำมูล จ.อุบลราชธานี เป็นจารึกที่สร้างด้วยวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกิตติกรรมประกาศของพระเจ้าจิตรเสนจารึกปากน้ำมูล จ.อุบลราชธานี เป็นจารึก ที่สร้างด้วยวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นกิตติกรรมประกาศ ของพระเจ้าจิตรเสน

๒. เพื่อให้ความรู้ทางศาสนาและสอนธรรม

เช่น จารึกวัดศรีชุม จังหวัดสุโขทัย เนื้อความในจารึกกล่าวถึงประวัติส่วนตัวของสมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธา เมื่อยังเป็นฆราวาส ทรงเป็นผู้มีความสามารถสูงส่ง ด้วยศิลปวิทยาการต่างๆ ต่อมาทรงเบื่อหน่ายในฆราวาสวิสัย มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงออกผนวช ได้บำเพ็ญกุศลสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ไว้กับพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก

๓. เพื่อบันทึกประวัติเรื่องราวและเหตุการณ์ต่างๆ

เช่น จารึกสต๊กก๊อกธม จังหวัดปราจีนบุรี เนื้อความในจารึกกล่าวถึง พระเจ้าอาทิตยวรมันที่ ๒ ทรงปฏิสังขรณ์ปราสาทสต๊กก๊อกธมแห่งนี้ ทั้งยังได้บันทึกประวัติการสืบสายสกุลของพราหมณ์ปุโรหิต ประจำราชสำนักกษัตริย์กัมพูชาไว้ด้วย
หัวข้อก่อนหน้าหัวข้อถัดไป