สำหรับเด็กระดับกลาง - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 16
เล่มที่ ๑๖
เรื่องที่ ๑ การบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
เรื่องที่ ๒ พระไตรปิฎก และการชำระพระไตรปิฎก
เรื่องที่ ๓ การอนุรักษ์โบราณสถาน และโบราณวัตถุ
เรื่องที่ ๔ ศิลาจารึก และอ่านจารึก
เรื่องที่ ๕ สังคม และวัฒนธรรมไทย
เรื่องที่ ๖ การผลิตหนังสือ
เรื่องที่ ๗ การดนตรีสำหรับเยาวชน
เรื่องที่ ๘ การช่าง และหมู่บ้านช่าง
เรื่องที่ ๙ ดาวเทียมเพื่อการเกษตร
เรื่องที่ ๑๐ การฟื้นฟูสมรรถภาพเยาวชนผู้พิการด้านการศึกษา
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๖ / เรื่องที่ ๖ การผลิตหนังสือ / สำหรับเด็กระดับกลาง

 สำหรับเด็กระดับกลาง
หนังสือเป็นเครื่องมือสื่อความหมาย และความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์ ผู้เขียนเรียกว่า ผู้ส่งสาร และผู้อ่านเรียกว่า ผู้รับสาร
การพิมพ์หนังสือช่วยให้ผู้เขียนสามารถส่งสาร หรือถ่ายทอดความรู้ ความคิดให้แก่ผู้อ่านได้มากและกว้างขวาง เรื่องราว และสาระในหนังสือคงอยู่ยาวนาน จนกว่าหนังสือจะถูกทำลายลง นอกจากนั้นหนังสือยังเป็นสื่อที่ใช้สั่งสอน ถ่ายทอดความคิดจากยุคหนึ่งไปสู่อีกยุคสมัยหนึ่งด้วย หนังสือจึงเป็นเครื่องมือที่ใช้บันทึกเหตุการณ์ เป็นแหล่งวิทยาการที่ใช้ศึกษาหาความรู้ รวบรวม และรักษาศิลปะ และสรรพวิชาการ เป็นสื่อแสดงความรู้สึก และอารมณ์ของมนุษย์ เป็นสื่อที่ใช้เผยแพร่ข่าวสาร และให้ความบันเทิงแก่ประชาชน หนังสือของชาวอียิปต์มีลักษณะเป็นม้วน ผู้อ่านคลี่อ่านโดยดึงออกมาด้วยมือขวา
หนังสือของชาวอียิปต์มีลักษณะเป็นม้วน ผู้อ่านคลี่อ่านโดยดึงออกมาด้วยมือขวา
ก้อนดินเหนียวที่ชาวสุเมเรียนใช้ไม้ขูดขีดและจิ้มกดรูปรอยเป็นตัวหนังสือ
ก้อนดินเหนียวที่ชาวสุเมเรียนใช้ไม้ขูดขีดและจิ้มกดรูปรอยเป็นตัวหนังสือ
หลักธรรมคำสั่งสอนของศาสนา ปรัชญาของปราชญ์ทั้งปวง ได้รับการจดบันทึกไว้ในหนังสือ เช่น พระไตรปิฎกในพระพุทธศาสนา คัมภีร์อัลกุรอ่านในศาสนาอิสลาม และคัมภีร์ไบเบิลในคริสต์ศาสนา หนังสือจึงเป็นของสูง และมีคุณค่าในความรู้สึกของคนทั่วไป
การสร้างหนังสือโดยการเขียนคัดลอกในยุโรปสมัยคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕-๑๖
การสร้างหนังสือโดยการเขียนคัดลอกในยุโรปสมัยคริสต์ศตวรรษที่
ลักษณะของหนังสือในยุคโบราณมีรูปร่างเป็นไปตามวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ที่ใช้ผลิตหนังสือ

เมื่อประมาณห้าพันปีมาแล้ว ชาวสุเมเรียนในเอเชียกลาง ใช้ไม้ขูดขีด และจิ้มกดรูปรอยบนก้อนดินเหนียว ทิ้งไว้ให้แห้งเป็นก้อนดินเหนียว หรือนำไปเผาไฟเป็นก้อนดินเผา หนังสือของชาวสุเมเรียน จึงมีลักษณะเป็นแผ่นดินเหนียว หรือแผ่นดินเผา
ในยุคที่ใกล้กัน ชาวอียิปต์ใช้โลหะแหลมคม สลักตัวหนังสือลงบนแผ่นหรือแท่งศิลา เป็นศิลาจารึก เมื่อชาวอียิปต์สามารถนำต้นปาปิรุสไปทำให้เป็นแผ่นบางๆ ผนึกต่อกันเป็นแผ่นยาว ใช้พู่กัน หรือปากกา ที่ทำด้วยต้นหญ้า จุ่มหมึกเขียนลงบนแผ่นปาปิรุส แล้วม้วนเก็บไว้ หรือส่งให้ผู้อื่นอ่าน หนังสือของชาวอียิปต์ จึงมีลักษณะเป็นม้วน แผ่นไม้ไผ่ที่ชาวจีนโบราณนำมาทำเป็นหนังสือ  ๑๕-๑๖
แผ่นไม้ไผ่ที่ชาวจีนโบราณนำมาทำเป็นหนังสือ
ภาพที่เขียนลงบนกระดาษปาปิรุส
ภาพที่เขียนลงบนกระดาษปาปิรุส
หลายพันปีมาแล้ว ชาวจีนตัดไม้ไผ่เป็นปล้องๆ แล้วผ่าออกเป็นแผ่นๆ ขีดหรือเขียนตัวหนังสือลงบนแผ่นไม้ไผ่ เจาะรูร้อยเชือกให้แต่ละแผ่นเชื่อมโยงกัน แล้วผูกเป็นมัด หนังสือของชาวจีนโบราณ จึงมีลักษณะเป็นมัด

ผูกใบลานที่เกิดจากการใช้โลหะแหลมจารลงบนแผ่นใบลานแล้วร้อยผูกติดกันเป็นวิธีการผลิตหนังสือแถบอินเดียตอนใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในอินเดียตอนใต้ และประเทศทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการผลิตหนังสือ โดยใช้โลหะแหลม จารลงบนแผ่นใบลาน แล้วร้อยเชือกติดกันเป็นผูก
สมัยต้นคริสต์กาล ประเทศในยุโรป และเอเชียกลาง ผลิตหนังสือ โดยใช้ปากกาขนนก จุ่มหมึกคัดลอก หรือเขียนบนแผ่นหนังฟอก วาดภาพประกอบ ระบายสีสวยงาม แล้วเย็บแผ่นติดกัน เข้าเล่มหุ้มปก เป็นเล่มหนังสือศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จัดเป็นหนังสือเล่มแรกของไทยซึ่งใช้วิธีการจารึกลงบนแท่งศิลา
ศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จัดเป็นหนังสือเล่มแรกของไทยซึ่งใช้วิธีการจารึกลงบนแท่งศิลา
สมุดข่อยดำ
สมุดข่อยดำ
ในประเทศไทย ได้มีการค้นพบศิลาจารึกหลายหลัก ศิลาจารึกภาษาไทยหลักสำคัญ คือ ศิลาจารึกหลักหนึ่งของพ่อขุนรามคำแหง ที่จารึกเมื่อประมาณ ๗๐๐ ปีมาแล้ว ถือได้ว่า เป็นหนังสือไทยเล่มแรก
สมุดข่อยขาว
สมุดข่อยขาว
หนังสือที่ผลิตใช้กันจนถึงยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น มีสองรูปแบบ คือ หนังสือใบลาน โดยใช้โลหะแหลม จารลงบนแผ่นใบลาน แล้วทำเป็นผูกแบบหนึ่ง อีกแบบหนึ่งคือ สมุดข่อย ซึ่งมีสองลักษณะคือ สมุดข่อยดำ เป็นการเขียนตัวหนังสือ ด้วยหรดาลหรือรง ตัวหนังสือจะเป็นสีขาว หรือสีเหลือง และสมุดข่อยขาว เขียนตัวหนังสือ ด้วยหมึกดำ ลงบนแผ่นกระดาษแผ่นยา แผ่นเดียวพับซ้อนกลับไปกลับมา เป็นเล่ม แล้วเขียนหรือคัดไปทีละหน้า
หัวข้อก่อนหน้าหัวข้อถัดไป