หน้าที่ในการผลิตหนังสือ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 16
เล่มที่ ๑๖
เรื่องที่ ๑ การบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
เรื่องที่ ๒ พระไตรปิฎก และการชำระพระไตรปิฎก
เรื่องที่ ๓ การอนุรักษ์โบราณสถาน และโบราณวัตถุ
เรื่องที่ ๔ ศิลาจารึก และอ่านจารึก
เรื่องที่ ๕ สังคม และวัฒนธรรมไทย
เรื่องที่ ๖ การผลิตหนังสือ
เรื่องที่ ๗ การดนตรีสำหรับเยาวชน
เรื่องที่ ๘ การช่าง และหมู่บ้านช่าง
เรื่องที่ ๙ ดาวเทียมเพื่อการเกษตร
เรื่องที่ ๑๐ การฟื้นฟูสมรรถภาพเยาวชนผู้พิการด้านการศึกษา
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๖ / เรื่องที่ ๖ การผลิตหนังสือ / หน้าที่ในการผลิตหนังสือ

 หน้าที่ในการผลิตหนังสือ
หน้าที่ในการผลิตหนังสือ

การผลิตหนังสืออาจพูดได้ว่า เป็นการผลิตสองขั้น คือ ผลิตทางด้านความคิดขั้นหนึ่ง อันได้แก่ การสร้างสรรค์เนื้อหา เรื่องราว และความคิดที่อยู่ในตัวหนังสือนั้น และการผลิตทางด้านวัตถุ อันได้แก่ การพิมพ์ ซึ่งเป็นการนำตัวพิมพ์ หรือแม่พิมพ์ มาทาหมึกพิมพ์ พิมพ์ลงบนกระดาษ ประกอบเล่มด้วยปก ผ้าหุ้มปก เป็นรูปเล่มหนังสือ การจัดพิมพ์เป็นการทำหน้าที่เชื่อมโยงประสานให้การผลิตทั้งสองขั้นนั้น ได้รับช่วงกัน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้อ่าน

การผลิตหนังสือ

ประกอบด้วยหน้าที่ ที่จะต้องดำเนินการอยู่ ๔ ประการ คือ

๑. หน้าที่ในการจัดพิมพ์

ผู้รับผิดชอบคือผู้จัดพิมพ์ (publisher)

๒. หน้าที่การผลิตในด้านความคิด

คือ การจัดให้มีการประพันธ์ หรือรวบรวมเรื่องราวจากการประพันธ์มาจัดพิมพ์ ผู้รับผิดชอบคือ บรรณาธิการ (Editor)

๓. หน้าที่การผลิตในด้านวัตถุ

คือ การพิมพ์ ผู้รับผิดชอบคือ ผู้พิมพ์ (Printer)

๔. หน้าที่ทางการจำหน่ายจ่ายแจก

ผู้รับผิดชอบตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการพิมพ์เรียกว่า ผู้โฆษณา (distributor) คือ เป็นผู้ที่จำหน่ายจ่ายแจกหนังสือ

หน้าที่ที่กล่าวข้างต้น เป็นงานที่การผลิตหนังสือทุกประเภท จะต้องมีผู้รับผิดชอบ แต่ละหน้าที่อาจเป็นงานที่คนๆ เดียวทำ หรือกลุ่มคนหลายคนทำก็ได้ ในหน้าที่หนึ่งๆ บางอย่างอาจมีคนๆ เดียวทำในหลายหน้าที่ก็ได้ เช่น ผู้ประพันธ์แต่งหนังสือเอง จัดพิมพ์ และพิมพ์ออกขายเอง ผู้ประพันธ์คนนั้น ทำหน้าที่เป็นทั้งผู้จัดพิมพ์ บรรณาธิการ ผู้พิมพ์ และผู้โฆษณา
หัวข้อก่อนหน้าหัวข้อถัดไป