การจัดพิมพ์ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 16
เล่มที่ ๑๖
เรื่องที่ ๑ การบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
เรื่องที่ ๒ พระไตรปิฎก และการชำระพระไตรปิฎก
เรื่องที่ ๓ การอนุรักษ์โบราณสถาน และโบราณวัตถุ
เรื่องที่ ๔ ศิลาจารึก และอ่านจารึก
เรื่องที่ ๕ สังคม และวัฒนธรรมไทย
เรื่องที่ ๖ การผลิตหนังสือ
เรื่องที่ ๗ การดนตรีสำหรับเยาวชน
เรื่องที่ ๘ การช่าง และหมู่บ้านช่าง
เรื่องที่ ๙ ดาวเทียมเพื่อการเกษตร
เรื่องที่ ๑๐ การฟื้นฟูสมรรถภาพเยาวชนผู้พิการด้านการศึกษา
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๖ / เรื่องที่ ๖ การผลิตหนังสือ / การจัดพิมพ์

 การจัดพิมพ์
การจัดพิมพ์

การจัดพิมพ์เป็นหน้าที่ของบุคคลที่เรียกว่า ผู้จัดพิมพ์ หรือถ้ากล่าวถึงหน่วยงานที่ดำเนินการในเรื่องนี้เรียกว่า สำนักพิมพ์ ผู้จัดพิมพ์เป็นผู้ที่รับผิดชอบในการแสวงหาข้อมูล ด้านความต้องการของลูกค้า ซึ่งเป็นผู้อ่าน หรือผู้ซื้อว่า มีความต้องการอ่านหนังสือชนิดใด ประเภทใด หนังสือบางประเภทผู้ซื้อ และผู้อ่านเป็นคนเดียวกัน แต่บางประเภท ผู้ซื้อกับผู้อ่านอาจเป็นคนละคนกัน เช่น กรณีที่ผู้ปกครองซื้อหนังสือมาให้บุตรหลานในปกครองอ่าน จะต้องทราบว่า หนังสือที่ผู้ซื้อจะซื้อนั้น เป็นหนังสือลักษณะใด จะซื้อในราคาใด ผู้จัดพิมพ์เป็นผู้ที่จะติดต่อให้ผู้เขียน หรือผู้ประพันธ์สร้างสรรค์งานขึ้น ผู้จัดพิมพ์เป็นผู้กำหนดจำนวนพิมพ์ วิธีพิมพ์ ระบบวิธีการจำหน่าย เป็นผู้จัดหาทุนในการดำเนินการ ความสำเร็จของผู้จัดพิมพ์อยู่ที่ว่า จะสามารถทำให้หนังสือที่ผลิตขึ้นมานั้น ตรงกับความต้องการของผู้ซื้อ หรือผู้อ่านได้เพียงใด

รูปเล่มของหนังสือจะมีรูปร่างหลากหลาย โดยปกติ จะมีรูปร่างเป็นสีเหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งแต่ละขนาดจะเรียกแตกต่างกัน เช่น สิบหกหน้ายก, แปดหน้ายก เป็นต้น
หัวข้อก่อนหน้าหัวข้อถัดไป