ดาวเทียม LANDSAT - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 16
เล่มที่ ๑๖
เรื่องที่ ๑ การบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
เรื่องที่ ๒ พระไตรปิฎก และการชำระพระไตรปิฎก
เรื่องที่ ๓ การอนุรักษ์โบราณสถาน และโบราณวัตถุ
เรื่องที่ ๔ ศิลาจารึก และอ่านจารึก
เรื่องที่ ๕ สังคม และวัฒนธรรมไทย
เรื่องที่ ๖ การผลิตหนังสือ
เรื่องที่ ๗ การดนตรีสำหรับเยาวชน
เรื่องที่ ๘ การช่าง และหมู่บ้านช่าง
เรื่องที่ ๙ ดาวเทียมเพื่อการเกษตร
เรื่องที่ ๑๐ การฟื้นฟูสมรรถภาพเยาวชนผู้พิการด้านการศึกษา
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๖ / เรื่องที่ ๙ ดาวเทียมเพื่อการเกษตร / ดาวเทียม LANDSAT

 ดาวเทียม LANDSAT
ดาวเทียม LANDSAT

โครงการดาวเทียม LANDSAT เดิมเป็นโครงการขององค์การบริหารการบิน และอวกาศแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (NASA) ต่อมาได้มีการโอนกิจการดาวเทียม LANDSAT ให้ EOSAT ซึ่งเป็นบริษัทเอกชน เพื่อดำเนินการในเชิงพาณิชย์ มีระบบเก็บข้อมูลชนิดหลายช่วยคลื่น (Multispectral Scanner หรือ MSS) ๔ ช่วง คลื่นหรือแบนด์ ซึ่งสามารถให้ข้อมูลต่างๆ ดังนี้

ข้อมูลจากระบบหลายช่วงคลื่น (MSS) ๑ ภาพ ครอบคลุมพื้นที่ ๑๘๕ X ๑๘๕ ตารางกิโลเมตร มีรายละเอียด ข้อมูล ๘๐ X ๘๐ เมตร ระบบเก็บข้อมูลอีกระบบหนึ่งได้รับการปรับปรุงให้ได้รายละเอียดดีกว่าระบบ MSS คือระบบThematic Mapper (TM) โดยมี ๗ ช่วงคลื่น (แบนด์) มีรายละเอียดของข้อมูล ๓๐ เมตร X ๓๐ เมตร แต่ละแบนด์มีประโยชน์ดังนี้

แบนด์ ๑ ใช้ในการทำแผนที่บริเวณชายฝั่ง แยกความแตกต่างระหว่างดินและ พืชพรรณ
แบนด์ ๒ ใช้ประเมินความแข็งแรงของพืช
แบนด์ ๓ ใช้แยกชนิดของพืชพรรณ
แบนด์ ๔ ใช้ประเมินปริมาณของมวลชีวภาพ (biomass) และจำแนกแหล่งน้ำ
แบนด์ ๕ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความชื้นของดิน ความแตกต่างระหว่างเมฆกับหิมะ
แบนด์ ๖ ใช้หาแหล่งพลังงานความร้อน
แบนด์ ๗ ใช้จำแนกชนิดของหิน และการทำ แผนที่แสดงบริเวณพลังความร้อนจากน้ำ (hydrothermal)

ในอนาคตอันไม่ไกลนี้ดาวเทียมแลนด์แซตดวงที่ ๖ ก็จะได้รับการพัฒนา เพื่อส่งขึ้นโคจร พร้อมด้วยเครื่องมือบันทึกข้อมูลที่มีสมรรถนะดีขึ้น

จำลองลักษณะการโคจรรอบโลกของดาวเทียมแลนด์แซต ๑,๒, และ ๓
จำลองลักษณะการโคจรรอบโลกของดาวเทียมแลนด์แซต ๑,๒, และ ๓
หัวข้อก่อนหน้าหัวข้อถัดไป