สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน
เมนู 17
|
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๗ / เรื่องที่ ๒ ฉันทลักษณ์ไทย / โคลง
โคลง
โคลง
โคลงในฉันทลักษณ์ของไทยมีโคลงสองสุภาพ โคลงสามสุภาพ
และโคลงสี่สุภาพ นอกจากนี้ยังมีโคลงดั้นอีกหลายแบบ
ในที่นี้จะนำเสนอเฉพาะโคลงสี่สุภาพพอเป็นพื้นฐานการแต่งโคลง
สำหรับเยาวชนผู้สนใจ
โคลงสี่สุภาพ
คณะและพยางค์
ของโคลงสี่สุภาพมีดังนี้
โคลงบทหนึ่งมี ๔ บาท บาทที่ ๑, ๒
และ ๓ มีบาทละ ๒ วรรค และมีจำนวนคำ
เท่ากันทั้ง ๓ บาท ส่วนบาทที่ ๔ ก็มี ๒ วรรค
เช่นเดียวกัน แต่มีจำนวนคำในวรรคท้ายเพิ่มขึ้น
อีก ๒ คำ รวมทั้งบทมี ๓๐ คำ และอาจมี
คำสร้อยที่วรรคท้ายของบาทที่ ๑ และบาทที่ ๓
ได้อีก ๒ คำในแต่ละวรรค
สัมผัส
สัมผัสบังคับดูได้จากเส้นโยงสัมผัสจาก
แผนของโคลงสี่สุภาพ และจากโคลงตัวอย่าง
คำเอก คำโท
คำเอกมี ๗ แห่ง คำโทมี ๔ แห่ง
(เอก ๗ โท ๔) ตามที่เขียนไว้ในแผนดังนี้
คำเอก มี ๗ แห่ง คือ
๑) บาทที่ ๑ คำ
ที่ ๔ ๒) บาทที่ ๒ คำที่ ๒ ๓) บาทที่ ๒
คำที่ ๖ ๔) บาทที่ ๓ คำที่ ๓ ๕) บาทที่ ๓
คำที่ ๗ ๖) บาทที่ ๔ คำที่ ๒ ๗) บาทที่ ๔
คำที่ ๖
คำโท มี ๔ แห่ง คือ
๑) บาทที่ ๑ คำที่ ๕
๒) บาทที่ ๒ คำที่ ๗ ๓) บาทที่ ๔ คำที่ ๕
๔) บาทที่ ๔ คำที่ ๗ | โคลงกระทู้
โคลงกระทู้ คือ
โคลงที่แต่งตามเค้าเงื่อน หรือประโยคที่ตั้งไว้เป็นกระทู้
กระทู้นี้อาจประกอบด้วยคำ ๔ คำ หรือ ๘
คำ ที่จะแบ่งเรียงเป็นคำขึ้นต้นโคลงแต่ละบาทได้ลงตัว
เวลาแต่งโคลงกระทู้ จะต้องแต่งให้ได้เนื้อความสอดคล้องกับกระทู้ที่ตั้งไว้ ตัวอย่างกลุ่มคำหรือประโยคที่ใช้เป็นกระทู้ได้ เช่นฉันรักเมืองไทย รู้มากยากนาน รู้จักรักตัว (เรียงไว้วรรคละ ๑ คำ) เพื่อนกินหาง่าย เพื่อนตายหายาก (เรียงไว้วรรคละ ๒ คำ)
|
|