ผลกระทบของของเสียที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 17
เล่มที่ ๑๗
เรื่องที่ ๑ ช้างเผือก
เรื่องที่ ๒ ฉันทลักษณ์ไทย
เรื่องที่ ๓ ระบบนิเวศ และความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับสิ่งมีชีวิต
เรื่องที่ ๔ โรคตับอักเสบจากไวรัส
เรื่องที่ ๕ ของเสียที่เป็นอันตราย
เรื่องที่ ๖ การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์
เรื่องที่ ๗ ปอแก้วปอกระเจา
เรื่องที่ ๘ พืชเส้นใย
เรื่องที่ ๙ การปรับปรุงพันธุ์พืช
เรื่องที่ ๑๐ ข้าวสาลี
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๗ / เรื่องที่ ๕ ของเสียที่เป็นอันตราย / ผลกระทบของของเสียที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

 ผลกระทบของของเสียที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม
การเกิดเพลิงไหม้โรงงานจะทำให้สารอันตรายต่าง ๆ แพร่กระจายออกไป
การเกิดเพลิงไหม้โรงงานจะทำให้สารอันตรายต่างๆ แพร่กระจายออกไป
ผลกระทบของของเสียที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

การจัดการของเสียที่เป็นอันตรายโดยไม่ระมัดระวัง หรือไม่ถูกต้องเหมาะสม จะก่อให้เกิดปัญหาพื้นฐาน ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้ ๔ ประการคือ

๑. ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง


การสัมผัสหรือเกี่ยวข้องกับของเสียที่เป็นอันตราย ซึ่งประกอบด้วย สารพิษที่เป็นสารก่อมะเร็ง อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ โดยเฉพาะเมื่อได้รับสารเหล่านั้น เป็นเวลาติดต่อกันนานๆ อาทิ การหายใจเอาอากาศที่มีสารพวกไดออกซิน เบนซิน ฟอร์มาลดีไฮด์เข้าไป หรือกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนด้วยสารเคมีพวกยาฆ่าแมลง

๒. ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่น


การที่ได้รับสารเคมี หรือสารโลหะหนักบางชนิด เข้าไปในร่างกาย อาจทำให้เจ็บป่วยเป็นโรคต่างๆ จนอาจถึงตายได้ เช่น โรคทางสมองหรือทางประสาท หรือโรคที่ทำให้เกิดความผิดปกติของร่างกาย ตัวอย่างของโรคที่เกิดจากการจัดการของเสียที่เป็นอันตรายอย่างไม่ถูกต้อง เช่น โรคมินามาตะ ซึ่งเกิดจากสารปรอท โรคอิไต-อิไต ซึ่งเกิดจากสารแคดเมียม และโรคแพ้พิษสารตะกั่ว เป็นต้น

๓. ทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศ

สารโลหะหนัก หรือสารเคมีต่างๆ ที่เจือปนอยู่ในของเสียที่เป็นอันตราย นอกจากจะเป็นอันตรายยต่อมนุษย์แล้ว ยังเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ทั้งพืชและสัตว์ ทำให้เจ็บป่วยและตายได้เช่นกัน หรือถ้าได้รับสารเหล่านั้นในปริมาณไม่มากพอ ที่จะทำให้เกิดอาการอย่างเฉียบพลัน ก็อาจมีผลกระทบต่อโครงสร้างของโครโมโซม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม นอกจากนี้การสะสมของสารพิษไว้ในพืช หรือสัตว์แล้วถ่ายทอดไปตามห่วงโซ่อาหาร ในที่สุดอาจเป็นอันตรายต่อมนุษย์ซึ่งนำพืช และสัตว์ดังกล่าวมาบริโภค

๔. ทำให้เกิดผลเสียหายต่อทรัพย์สินและสังคม

เช่น เกิดไฟไหม้ เกิดการกัดกร่อนเสียหายของวัสดุ เกิดความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะส่งผลทางอ้อมทำให้เกิดปัญหาทางสังคมด้วย
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป