ปอกระเจา - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 17
เล่มที่ ๑๗
เรื่องที่ ๑ ช้างเผือก
เรื่องที่ ๒ ฉันทลักษณ์ไทย
เรื่องที่ ๓ ระบบนิเวศ และความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับสิ่งมีชีวิต
เรื่องที่ ๔ โรคตับอักเสบจากไวรัส
เรื่องที่ ๕ ของเสียที่เป็นอันตราย
เรื่องที่ ๖ การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์
เรื่องที่ ๗ ปอแก้วปอกระเจา
เรื่องที่ ๘ พืชเส้นใย
เรื่องที่ ๙ การปรับปรุงพันธุ์พืช
เรื่องที่ ๑๐ ข้าวสาลี
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๗ / เรื่องที่ ๗ ปอแก้วปอกระเจา / ปอกระเจา

 ปอกระเจา
ปอกระเจาฝักกลม
ปอกระเจาฝักกลม

ลำต้นของปอกระเจามีความสูง ๓ - ๕ เมตร
ลำต้นของปอกระเจามีความสูง
๓ - ๕ เมตร
ปอกระเจา

ปอกระเจา (jute) ที่ปลูกกันแพร่หลายในปัจจุบันมีอยู่ ๒ ชนิด คือ ปอกระเจาฝักยาว (tossa jute) และปอกกระเจาฝักกลม (whitejute) ปอกระเจาทั้งสอชนิดนี้พืชในวงศ์ทิเลียซีอี (Tiliaceae) สกุลคอร์โครุส (Corchorus) ปอกระเจาฝักยาวมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า คอร์โครุส ออลิโทริอุส ลินเนียส (Corchous Olitorius Linmeaus) ส่วนปอกะเจาฝักกลมมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า คอร์โครุส คัพซูลาริส ลินเนียส (Corchorus capsularis linnaeus)

แหล่งกำเนิดของปอกระเจานั้น สันนิษฐานว่า ปอกระเจาฝักยาวมีแหล่งกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา แล้วแพร่กระจายมายังทวีปเอเชียตอนใต้ ส่วนปอกระเจาฝักกลมมีแหล่งกำเนิดอยู่ในอินโด-พม่า (แถบประเทศที่อยู่ในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้)

ปอกระเจามีอยู่แพร่หลายในประเทศไทยมานานแล้ว แต่ไม่มีหลักฐานการนำเข้า ขึ้นเองตามธรรมชาติบริเวณดินที่ชื้นแฉะใกล้ๆ น้ำ หรือพบเห็นเป็นวัชพืชในสวนผลไม้ ต้นสูงประมาณ ๑-๒ เมตร นอกจากนี้ก็มีการปลูกริมฝั่งแม่น้ำในเขตภาคกลาง และภาคตะวันออก สาเหตุที่กสิกรนิยมปลูกปอกระเจาฝักกลม เพราะในช่วงสุดท้ายของการเจริญเติบโต สามารถทนน้ำท่วมได้สูงถึง ๘๐ เซนติเมตร ส่วนปอกระเจาฝักยาวเท่าที่สำรวจเป็นพันธุ์พื้นเมือง ไม่ได้ปลูกกันอย่างแพร่หลาย การใช้ประโยชน์จากปอกกระเจาส่วนใหญ่จะนำมาลอกเป็นปอกลีบ ขูดผิวตากแห้ง ทำเป็นเชือกในลักษณะต่างๆ

เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ปลูกข้าวเป็นพืชหลัก จึงต้องใช้กระสอบใน การขนส่ง ในปี พ.ศ. ๒๔๗๐ สั่งซื้อกระสอบจากต่างประเทศเข้ามาใช้เป็นเงิน ๙,๑๔๒,๘๒๘ บาท และในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ เป็นเงิน ๗,๗๗๕,๓๓๘ บาท ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ กรมเกษตร และการประมง จึงได้ทำการสำรวจแหล่งพื้นที่ปลูกปอกระเจาพบว่า มีการปลูกบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และตามริมแม่น้ำในท้องที่อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงได้ทำการทดลองการฟอกปอให้ได้เส้นใย ที่สถานีทดลอง ๔ (สุโขทัย) เพื่อนำไปส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตเส้นใยปอฟอก

พ.ศ. ๒๔๘๓ กรมเกษตร และการประมง ได้สำรวจพบว่า ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทั้ง ๒ ฝั่ง ตั้งแต่จังหวัดชัยนาทลงมา จนถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งจังหวัดสุพรรณบุรีกับสุโขทัยบางตอน เหมาะสมกับการปลูกปอกระเจา จึงส่งเสริมการปลูกปอในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร และนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกระสอบ ปอที่ปลูกส่วนมากเป็นปอพันธุ์พื้นเมือง ในระยะนั้นยังไม่มีการนำ พันธุ์ปอมาจากต่างประเทศ นอกจากนี้ยังพบว่า มีการปลูกปอกระเจากันมากในบริเวณรอยต่อ ระหว่างอำเภอพยุหะคีรีกับอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ แต่ผลิตผลส่วนมากทำเป็น ปอกลีบแห้งขายเพราะได้ราคาดีกว่าปอฟอก ต่อมา พ.ศ. ๒๔๘๔ รัฐบาลมีนโยบายให้จัดตั้ง โรงงานทอกระสอบป่านขึ้น จึงให้กรมเกษตร และกรมพาณิชย์ร่วมมือกันส่งเสริมการปลูก ปอและรับซื้อปอ จึงได้มีการนำเมล็ดพันธุ์ปอ จากต่างประเทศเข้ามาทดลองใน พ.ศ. ๒๕๐๔ เพื่อศึกษาทดสอบพันธุ์และส่งเสริมให้ปลูกจน ปัจจุบัน
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป