ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของปอกระเจา - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 17
เล่มที่ ๑๗
เรื่องที่ ๑ ช้างเผือก
เรื่องที่ ๒ ฉันทลักษณ์ไทย
เรื่องที่ ๓ ระบบนิเวศ และความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับสิ่งมีชีวิต
เรื่องที่ ๔ โรคตับอักเสบจากไวรัส
เรื่องที่ ๕ ของเสียที่เป็นอันตราย
เรื่องที่ ๖ การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์
เรื่องที่ ๗ ปอแก้วปอกระเจา
เรื่องที่ ๘ พืชเส้นใย
เรื่องที่ ๙ การปรับปรุงพันธุ์พืช
เรื่องที่ ๑๐ ข้าวสาลี
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๗ / เรื่องที่ ๗ ปอแก้วปอกระเจา / ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของปอกระเจา

 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของปอกระเจา
ดอกปอกระเจาฝักกลม
ดอกปอกระเจาฝักกลม

ใบปอกระเจา
ใบปอกระเจา
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของปอกระเจา

ปอกระเจาฝักยาว และปอกระเจาฝักกลม มีลักษณะที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนที่ฝัก ซึ่งมีรูปร่างยาว และรูปร่างกลม ส่วนอื่นๆ มีลักษณะใกล้เคียงกันมากดังนี้

๑. ระบบราก

มีรากแก้วหยั่งลงไปในดิน ลึกประมาณ ๕๐-๖๐ เซนติเมตร

๒. ลำต้น


มีความสูงยาวเรียวประมาณ ๓-๕ เมตร มีสีเขียวอ่อน แดงอ่อน หรือแดงเข้ม

๓. การแตกกิ่ง


ปอกระเจาฝักกลม อาจจะมีทั้งชนิดแตกกิ่ง และไม่แตกกิ่ง แต่ปอกระเจาฝักยาวมีการแตกกิ่ง แต่กิ่งไม่ค่อยมีการเจริญเติบโตเท่าใดนัก

๔. ใบ


เป็นใบเดี่ยว ขอบเป็นหยัก รูปร่าง กลมรี ปลายแหลม แต่ปอกระเจาฝักกลม มีขนาดใบเล็กกว่าปอกระเจาฝักยาวเล็กน้อย นอกจากนี้ปอกระเจาฝักกลม ใบยังมีรสขมกว่าใบของปอกระเจาฝักยาว

๕. ดอก


เกิดเป็นกลุ่ม ๒-๕ ดอก มี กลีบดอกสีเหลือง ๕ อัน ดอกของปอกระเจา ฝักกลมมีขนาดเล็กกว่าปอกระเจาฝักยาวประมาณ ๒ เท่า

๖. ฝัก


ปอกระเจาฝักกลม ฝักจะมีลักษณะ กลมขนาดยาว ๑.๓-๒ เซนติเมตร กว้าง ๐.๘-๑ เซนติเมตร เปลือกฝักมีลักษณะย่น สำหรับปอกระเจาฝักยาวจะมีรูปร่างเรียวยาว ๖-๑๐ เซนติเมตร กว้าง ๐.๓-๐.๘ เซนติเมตร

๗. เมล็ด

ปอกระเจาฝักกลมมีเมล็ดสีน้ำตาล ขนาดเล็กกว่าปอกระเจาฝักยาว ซึ่งมีเมล็ดสีน้ำเงินเขียวหรือเทาน้ำเงิน

๘. คุณภาพเส้นใย


ปอกระเจาฝักกลมมีเส้นใยสีขาว ส่วนปอกระเจาฝักยาวมีสีขาวเหลือง อ่อนนุ่ม และเหนียวกว่าปอกระเจาฝักกลม ปอทั้งสองชนิดนี้มีคุณภาพดีกว่าปอแก้ว

๙. สภาพพื้นที่


ปอกระเจาฝักกลมสามารถปรับตัวได้ดีกว่า สามารถเจริญเติบโตได้ดี ทั้งสภาพที่ดอน และที่ลุ่ม สำหรับปอกระเจาฝักยาวจะเจริญเติบโตได้ดีในสภาพที่ดอน ที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง

๑๐. อายุการเก็บเกี่ยว


เมื่อปอติดฝักอ่อน (๑๐๐-๑๒๐ วัน)
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป