สำหรับเด็กระดับกลาง - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 18
เล่มที่ ๑๘
เรื่องที่ ๑ สภาพแวดล้อมกับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์
เรื่องที่ ๒ ประเพณีหลวง และประเพณีราษฎร์
เรื่องที่ ๓ การแต่งกายของคนไทย
เรื่องที่ ๔ กฎหมายกับสังคมไทย
เรื่องที่ ๕ ประวัติการพิมพ์ไทย
เรื่องที่ ๖ ภาษา และอักษรไทย
เรื่องที่ ๗ ยาฆ่าแมลง
เรื่องที่ ๘ ดิน และปุ๋ย
เรื่องที่ ๙ การเลี้ยงหมู
เรื่องที่ ๑๐ ระบบการค้าผลิตผลการเกษตร
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑๘ / เรื่องที่ ๕ ประวัติการพิมพ์ไทย / สำหรับเด็กระดับกลาง

 สำหรับเด็กระดับกลาง
พ.ศ.๒๒๒๙ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา ออกพระวิสุทธ์สุนทร (ปาน) ซึ่งภายหลังได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นออกญาโกษาธิบดี เมื่อเป็นราชทูตไปยัง ราชสำนักพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งประเทศฝรั่งเศส ได้ไปดูโรงพิมพ์หลวงของฝรั่งเศส และได้ทดลองพิมพ์หนังสือ นับว่า เป็นคนไทยคนแรกที่ได้ไปดูงานการพิมพ์ในต่างประเทศ
ออกพระวิสุทธ์สุนทร (ปาน) ถวายพระราชสาสน์แด่พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔แห่งประเทศฝรั่งเศส
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
พ.ศ.๒๓๓๙ ในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีบาทหลวงฝรั่งเศสในคริสต์ศาสนา นำเครื่องพิมพ์มาจัดพิมพ์หนังสือขึ้นที่ธนบุรี เป็นหนังสือที่ใช้ตัวพิมพ์อักษรโรมันเรียงพิมพ์เป็นภาษาไทย ชื่อหนังสือ คือ "คำสอน คริสตัง ภาคต้น" เป็นหนังสือที่จัดพิมพ์ในเมืองไทยเก่าแก่ที่สุด ที่ยังมีเล่มหนังสือเหลือให้เห็นอยู่
พ.ศ.๒๓๕๙ มีการสร้างตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้นในประเทศพม่า โดยมีภรรยาบาทหลวงในคริสต์ศาสนาชาวอเมริกันชื่อ นางจัดสันเป็นผู้ดำเนินการให้จัดสร้างขึ้น และใช้พิมพ์หนังสือขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนั้น แต่ไม่มีหลักฐานเหลือมาให้เห็นว่า เป็นหนังสืออะไร ต่อมาได้มีการโยกย้ายแท่นพิมพ์ พร้อมกับตัวพิมพ์อักษรไทยไปยังประเทศอินเดีย และได้มีการพิมพ์หนังสือ "A Grammar of the Thai or Siamese Language" ขึ้น ที่เมืองเซรัมโปร์ นครกัลกัตตา มีหน้าหนังสือที่พิมพ์ด้วยตัวอักษรไทยหลายหน้าอยู่ในหนังสือเล่มนั้น นับว่าเป็นหนังสือที่พิมพ์ด้วยตัวพิมพ์อักษรไทยที่เก่าแก่ที่สุด ที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้
พ.ศ.๒๓๖๖  ได้มีผู้ซื้อตัวพิมพ์อักษรไทย จากนครกัลกัตตาเข้ามาในสิงคโปร์ และได้มารับจ้างพิมพ์หนังสือต่างๆ คณะมิชชันนารีจึงได้จ้างพิมพ์หนังสือหลายเล่ม ที่เป็นทั้งภาษาไทย และภาษาอื่นๆ ที่สิงคโปร์ และนำมาแจกในเมืองไทย เพื่อเผยแผ่คริสต์ศาสนา พิธีวางพวงมาลา ณ หลุมฝังศพของหมอบรัดเลย์ในวันการพิมพ์ไทย วันที่ ๔ มิถุนายน ของแต่ละปี
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
พ.ศ.๒๓๗๘ หมอบรัดเลย์ได้นำแท่นพิมพ์ และตัวพิมพ์อักษรไทย จากสิงคโปร์เข้ามาในกรุงเทพฯ เพื่อดำเนินการด้านการพิมพ์ และจัดพิมพ์ได้สำเร็จในวันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๗๙ โดยมีบาทหลวงโรบินสัน เป็นช่างพิมพ์ นับได้ว่า เป็นการพิมพ์หนังสือไทย ด้วยตัวพิมพ์อักษรไทยเป็นครั้งแรกในเมืองไทย วงการพิมพ์ของประเทศไทยจึงได้ถือเอาวันที่ ๓ มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันการพิมพ์ไทย
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป