
ง. ลิกไนต์ |
ทรัพยากรที่ใช้ไม่หมดสิ้น
มีอยู่ในธรรมชาติมากมายหลายชนิด เช่น ป่าไม้
สัตว์ป่า น้ำ ดิน และอากาศ
- ป่าไม้
ป่าไม้เป็นทรัพยากรไม่หมดสิ้น เพราะถ้าป่าถูกทำลาย
ก็อาจปลูกป่าขึ้นมาทดแทนได้ การจัดการเกี่ยวกับป่าไม้ทำได้
โดยการรักษาป่าไม้ให้คงสภาพความเป็นป่า
ถ้าตัดต้นไม้ลง เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ ก็ต้องปลูกใหม่ เพื่อทดแทนเสมอ
ไม้ที่ตัดจากป่าต้องใช้ให้คุ้มค่า
และหาวัสดุอื่นมาใช้แทน เพื่อลดการใช้ไม้ลงให้มาก
|
- สัตว์ป่า
สัตว์ป่าเป็นทรัพยากรไม่หมดสิ้น เพราะเพิ่มจำนวนได้
การจัดการเกี่ยวกับสัตว์ป่า ทำได้โดยการป้องกัน
และรักษาสัตว์ป่าให้คงอยู่ได้
ไม่สูญพันธุ์หมดไป ไม่ยอมให้สัตว์ป่าถูกทำลาย ถูกล่า ถูกฆ่ามากเกินไป
หรือถึงกับสูญพันธุ์
|
 ดูรายละเอียดเพิ่มเติม |
- น้ำ
น้ำเป็นทรัพยากรไม่หมดสิ้น
เพราะธรรมชาติจะนำน้ำกลับคืนมาใหม่ในรูปของน้ำฝน
หลักการจัดการเรื่องน้ำก็คือ
การควบคุม และรักษาน้ำธรรมชาติไว้ ทั้งในรูปปริมาณ และคุณภาพได้อย่างดี
ไม่ปล่อยให้แห้งหาย หรือเน่าเสีย ทั้งนี้ก็เพื่อให้คงมีน้ำใช้ตลอดเวลา
|
- ดิน
ดินเป็นทรัพยากรไม่หมดสิ้น แต่เสื่อมสภาพได้ง่าย
เพราะฝนและลมสามารถทำลายดินชั้นบนให้หมดไปได้โดยรวดเร็ว
คนก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ดินเสื่อมสภาพได้มาก
หลักการจัดการเรื่องดิน ได้แก่
การรักษาคุณภาพของดินให้คงความอุดมสมบูรณ์อยู่เสมอ
โดยการรักษาดินชั้นบนให้คงอยู่ ไม่ปล่อยสารพิษลงในดิน อันจะทำให้ดินเสีย
|

เขื่อนสิริกิติ์
เป็นเขื่อนอเนกประสงค์ให้ประโยชน์ทางด้านเก็บกักน้ำเพื่อการชลประทาน
การไฟฟ้า |
- อากาศ
อากาศเป็นทรัพยากรที่ไม่หมดสิ้น และมีอยู่มากมายที่เปลือกโลก
หลักการจัดการกับอากาศ ได้แก่
การรักษาคุณภาพของอากาศไว้ให้บริสุทธิ์พอ สำหรับหายใจ
ไม่มีก๊าซพิษเจือปนอยู่ ก๊าซพิษควันพิษในอากาศนี้เอง
ที่ทำให้อากาศเสีย
|

สัตว์ป่า เป็นทรัพยากรที่ไม่หมดสิ้น
และมีประโยชน์ในการทำให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติ |
วิธีการสำคัญที่ใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่
การออกกฎหมายควบคุม การจัดตั้งองค์กรเพื่อบริหารงาน
การวางแผนพัฒนาสิ่งแวดล้อม การกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การศึกษา และจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม จากโครงการพัฒนา
ทั้งของภาครัฐ และภาคเอกชน และการประชาสัมพันธ์ และสิ่งแวดล้อมศึกษา
|
 |
ในวิธีการทั้งหลายทั้งปวงนี้
การออกกฎหมาย ซึ่งมีบทลงโทษที่เหมาะสม
จะเป็นวิธีการสำคัญวิธีการหนึ่ง
สามารถช่วยให้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ประสพผลสำเร็จ
ตัวอย่างของกฎหมายในเรื่องนี้มีอาทิเช่น
พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ
พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พระราชบัญญัติวัตถุมีพิษ พระราชบัญญัติแร่
พระราชบัญญัติโรงงาน พระราชบัญญัติการผังเมือง พระราชบัญญัติน้ำบาดาล
และพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร เป็นต้น
การจัดองค์กรเพื่อการบริหารงานด้านการกำหนดนโยบายแผนการจัดการ
การวางแผนงานโครงการ
เป็นวิธีการหนึ่ง ของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
ในระดับหน่วยงานปฏิบัติ
ในปัจจุบันมีหน่วยงานรับผิดชอบ ในด้านสิ่งแวดล้อมโดยตรง ๓ หน่วยงาน
ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม คือ สำนักงานนโยบาย
และแผนสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ และกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ ยังได้มีการจัดตั้งสำนักงานสิ่งแวดล้อมภูมิภาคขึ้น ๔ ภาค
ในภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
 |
การวางแผนเพื่อแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใน
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้การจัดการทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ
การจัดทำแผนในลักษณะนี้ได้ดำเนินการมาตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๔
ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๗ (๒๕๓๖ - ๒๕๓๙)
ซึ่งเป็นแผนพัฒนาประเทศฉบับ ปัจจุบัน ได้มีการจัดทำแผน
เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมไว้ชัดเจนกว่าแผนที่แล้วมา
โดยแยกเป็น แผนการบริหาร และจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
และแผนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพชีวิต
วิธีการสำคัญอีกวิธีหนึ่งในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ก็คือ การกำหนดมาตรฐาน เพื่อการควบคุมภาวะมลพิษของประเทศ
และควบคุมแหล่งกำเนิด
เพื่อให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมาตรฐานที่กำหนด
ตัวอย่างของมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่กำหนดขึ้นแล้ว ได้แก่
มาตรฐานค่าควันดำ และค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์
ที่ระบายออกจากท่อไอเสียของรถยนต์ มาตรฐานคุณภาพอากาศเสีย
ที่ระบายออกจากโรงงาน มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ
มาตรฐานระดับเสียงของรถยนต์ รถจักรยานยนต์และเรือ
มาตรฐานและวิธีการตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้ง
มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภท และบางขนาด
มาตรฐานคุณภาพน้ำดื่ม มาตรฐานวัตถุมีพิษในอาหารและเครื่องสำอาง เป็นต้น |
 ทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชนได้ส่งเสริมสร้างจิตสำนึกให้เยาวชนรักสัตว์และสิ่งแวดล้อมโดยการพาไปทัศนศึกษา |
การศึกษาและจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นวิธีการหนึ่ง
ของการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ในระดับโครงการ
เพื่อไม่ให้โครงการพัฒนา ทั้งของภาครัฐ และภาคเอกชน
เกิดผลเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
เพราะจะเป็นกระบวนการที่แสดงถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ที่จะเกิดขึ้นในทุกขั้นตอนของการดำเนินการ ตั้งแต่การวางแผนโครงการ
การดำเนินโครงการ และหลังดำเนินโครงการ
รวมทั้งจะต้องมีการเสนอแนะแนวทางการป้องกัน และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
ที่จะเกิดขึ้นด้วย
|
 |
วิธีการสำคัญประการสุดท้าย ได้แก่ การประชาสัมพันธ์และสิ่งแวดล้อมศึกษา
เพื่อมุ่งสร้างจิตสำนึกให้รู้จักคุณค่า
และความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแก่ประชาชนทุกคน
โดยมุ่งเน้นที่เด็กและเยาวชน ที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันหน้า |