เราจะเขียนชื่อวิทยาศาสตร์ของสัตว์อย่างไร - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 2
เล่มที่ ๒
เรื่องที่ ๑ การจำแนกและการจัดหมวดหมู่ของสัตว์
เรื่องที่ ๒ เวลา
เรื่องที่ ๓ บรรยากาศ
เรื่องที่ ๔ การตรวจอากาศ
เรื่องที่ ๕ อุตสาหกรรม
เรื่องที่ ๖ อุปกรณ์ขยายขอบเขตของสัมผัส
เรื่องที่ ๗ มหาราชในประวัติศาสตร์ไทย
เรื่องที่ ๘ การศึกษา
เรื่องที่ ๙ กรุงเทพมหานคร
เรื่องที่ ๑๐ ตราไปรษณียากรไทย
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๒ / เรื่องที่ ๑ การจำแนกและการจัดหมวดหมู่ของสัตว์ / เราจะเขียนชื่อวิทยาศาสตร์ของสัตว์อย่างไร

 เราจะเขียนชื่อวิทยาศาสตร์ของสัตว์อย่างไร
เราจะเขียนชื่อวิทยาศาตร์ของสัตว์อย่างไร

หลักการเขียนชื่อวิทยาศาสตร์ของสัตว์นั้นมีข้อควรปฏิบัติดังนี้คือ

๑. ชื่อในกลุ่มวงศ์ จะต้องใช้ตัวอักษรตัวใหญ่ธรรมดา

๒. ชื่อสกุล ขึ้นต้นด้วยอักษรตัดใหญ่และต้องเขียนด้วยตัวเอน หรือมิฉะนั้นก็ขีดเส้นใต้เสีย

๓. ชื่อชนิด ให้ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวเล็กเสมอและต้องเขียนตัวเอน หรือมิฉะนั้นก็ขีดเส้นใต้

๔. ชื่อของผู้ตั้งชื่อสัตว์เหล่านี้เป็นคนแรกให้เขียนต่อท้ายชนิดหรือชนิดย่อยลงไป แต่พิมพ์ด้วยตัวธรรมดานำหน้าด้วยอักษรตัวใหญ่

๕. ถ้าชื่อสกุลเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะด้วยกรณีใดชื่อผู้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์คนก่อนจะต้องเขียนไว้ในวงเล็บ

๖. โดยปกติแล้ว ชื่อวิทยาศาสตร์ของสัตว์ต่างๆ มักจะตามหลังด้วยปี ค.ศ. ซึ่งนักวิทยาศาสตร์คนแรกได้ตั้งขึ้นไว้ ส่วนมากที่นิยมกันนั้นเห็นว่าควรมีเครื่องหมายจุลภาค (,) คั่นอยู่ด้วย เช่น การเขียนชื่อนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรหรือซิวโดเชลิดอน สิริทารี (Pseudochelidon sirintarac) ให้ปฏิบัติดังนี้

๑) ชื่อสกุล "Pseudochelidon" ต้องเขียนนำหน้าด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ การเขียนอาจเขียนด้วยตัวเอน Pseudochelidon หรือขีดเส้นใต้ Pseudochelidon ก็ได้

๒) ชื่อชนิด ต้องขึ้นต้นด้วยตัวเล็กเสมอ และต้องเขียนด้วยตัวเอนเสมอ หรือมิฉะนั้นก็ขีดเส้นใต้เช่นเดียวกับชื่อสกุล ดังเช่น sirintarae หรือ sirintarae

๓) ชื่อทั้งสองนี้จะตามด้วยชื่อผู้ตั้งคือ นายกิตติ ทองลงยา ใน ค.ศ. ๑๙๖๘ หรือ พ.ศ. ๒๕๑๑ ดังนั้น ชื่อเต็มของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรจึงเป็น Pseudochelidon sirintarae Tonglongya, 1986



หัวข้อก่อนหน้า