การวัดอุณหภูมิของอากาศ - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 2
เล่มที่ ๒
เรื่องที่ ๑ การจำแนกและการจัดหมวดหมู่ของสัตว์
เรื่องที่ ๒ เวลา
เรื่องที่ ๓ บรรยากาศ
เรื่องที่ ๔ การตรวจอากาศ
เรื่องที่ ๕ อุตสาหกรรม
เรื่องที่ ๖ อุปกรณ์ขยายขอบเขตของสัมผัส
เรื่องที่ ๗ มหาราชในประวัติศาสตร์ไทย
เรื่องที่ ๘ การศึกษา
เรื่องที่ ๙ กรุงเทพมหานคร
เรื่องที่ ๑๐ ตราไปรษณียากรไทย
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๒ / เรื่องที่ ๔ การตรวจอากาศ / การวัดอุณหภูมิของอากาศ

 การวัดอุณหภูมิของอากาศ
การวัดอุณหภูมิของอากาศ
  
อุณหภูมิเป็นสารประกอบสำคัญยิ่งอันหนึ่งในวิชา อุตุนิยมวิทยา นักอุตุนิยมวิทยาต้องการทราบอุณหภูมิ ของอากาศตามระดับต่างๆ ตั้งแต่ผิวพื้นโลกขึ้นไปยัง ระดับสูงถึง ๒๐ กิโลเมตรหรือสูงกว่านั้น การวัด อุณหภูมิที่พื้นโลกอาจจะกระทำได้หลายวิธีด้วยกัน วิธีที่ปฏิบัติกันมากที่สุดคือการใช้เทอร์มอมิเตอร์ ซึ่ง มีของเหลว เช่น ปรอทบรรจุในหลอดแก้วคล้ายๆ กับการวัดอุณหภูมิอย่างอื่นๆ

บางครั้ง เมื่อต้องการทราบผลการบันทึกอุณหภูมิตลอดชั่วโมง หรือตลอดวัน หรือนานกว่านั้น เราก็ต้องใช้เครื่องบันทึกอุณหภูมิได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งเรียกว่า "เทอร์มอกราฟ" (thermograph)

เทอร์มอมิเตอร์สูงสุด
เทอร์มอมิเตอร์สูงสุด ซึ่งมีปรอทอยู่ในหลอดแก้ว และขยายแสดงตอนคอตีบ ที่บริเวณ ก

เทอร์มอมิเตอร์ต่ำสุด
เทอร์มอมิเตอร์ต่ำสุด ซึ่งส่วนมากใช้แอลกอฮอล์บรรจุในหลอดแก้ว และขยายแสดงก้านชี้ที่บริเวณ ข

นอกจากการตรวจอุณหภูมิดังกล่าวแล้ว นักอุตุนิยมวิทยายังต้องการทราบว่าในวันหนึ่งๆ อุณหภูมิของอากาศจะร้อนสูงสุด และเย็นต่ำสุดเท่าใด ในการนี้เราใช้เทอร์มอมิเตอร์สูงสุด (maximum thermometer) และเทอร์มอมิเตอร์ต่ำสุด (minimum thermometer) สำหรับตรวจค่าอุณหภูมิที่เราต้องการได้

เราอาจเปลี่ยนจากมาตราหนึ่งไปอีกมาตราหนึ่งได้ โดยสูตรต่อไปนี้






หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป