การวัดความเร็วและทิศทางของลม - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 2
เล่มที่ ๒
เรื่องที่ ๑ การจำแนกและการจัดหมวดหมู่ของสัตว์
เรื่องที่ ๒ เวลา
เรื่องที่ ๓ บรรยากาศ
เรื่องที่ ๔ การตรวจอากาศ
เรื่องที่ ๕ อุตสาหกรรม
เรื่องที่ ๖ อุปกรณ์ขยายขอบเขตของสัมผัส
เรื่องที่ ๗ มหาราชในประวัติศาสตร์ไทย
เรื่องที่ ๘ การศึกษา
เรื่องที่ ๙ กรุงเทพมหานคร
เรื่องที่ ๑๐ ตราไปรษณียากรไทย
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๒ / เรื่องที่ ๔ การตรวจอากาศ / การวัดความเร็วและทิศทางของลม

 การวัดความเร็วและทิศทางของลม
การวัดความเร็วและทิศทางของลม

ลม คือ การเคลื่อนไหวของอากาศ ถ้าลมแรง ก็หมายถึงว่า มวลของอากาศเคลื่อนตัวไปมากและเร็ว ในอุตุนิยมวิทยา การวัดลมจำต้องวัดทั้งทิศของลมและ อัตราหรือความเร็วของลม สำหรับการวัดทิศของลมนั้นเราใช้ศรลม (wind vane) ส่วนการวัดความเร็วของลม เราใช้เครื่องมือที่เรียกว่า "อะนีมอมิเตอร์" (anemometer) ซึ่งมีหลายชนิด แต่ส่วนมากใช้แบบใบพัด หรือกังหัน หรือใช้แบบถ้วยกลมสามใบ และมีก้านสามก้านต่อมารวมกันที่แกนกลาง จากแกนกลางจะมีแกนต่อลงมายังเบื้องล่าง เมื่อกังหันหมุนจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้เข็มที่หน้าปัดชี้แสดงความเร็วของลมคล้ายๆ กับหน้าปัดที่บอกความเร็วของรถยนต์
เครื่องวัดทิศทาง และความเร็วของลมแบบใบพัด 
เครื่องวัดทิศทางและความเร็วของลมแบบใบพัด
การวัดความเร็ว และทิศของลม อาจทำได้โดยใช้เครื่องมืออีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า "ใบพัดลม" ซึ่งสามารถวัดความเร็ว และทิศได้พร้อมกัน ในการวัดความเร็วของลมมีหน่วยที่ใช้กันอยู่หลายหน่วย แล้วแต่ว่าผู้ใช้จะนิยม และสะดวกที่จะใช้หน่วยใด เช่น นอต หรือไมล์ทะเลต่อชั่วโมง กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไมล์ (บก) ต่อชั่วโมง

นอกจากเครื่องวัดลมชนิดดังกล่าวแล้ว ยังมีเครื่องบันทึกความเร็ว และทิศของลมอยู่ตลอดเวลาด้วย เครื่องบันทึกลมนี้เรียกว่า อะนีมอกราฟ (anemograph) ซึ่งสามารถบันทึกความเร็ว และทิศของลมได้ตามที่เราต้องการ

มาตราลมโบฟอร์ต

เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๘ พลเรือเอก เซอร์ ฟรานซิส โบฟอร์ต (Admiral Sir Francis Beaufort, ค.ศ. ๑๗๗๔ - ๑๘๕๗, ชาวอังกฤษ) แห่งราชนาวีอังกฤษได้พัฒนา มาตราส่วนสำหรับคาดคะเนความเร็วของลมไว้ใช้ใน การเดินเรือใบ เรียกว่า มาตราลมโบฟอร์ต (Beau- fort wind scale) ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไป และแบ่ง กำลังออกเป็น ๑๓ ชั้น คือ ตั้งแต่ ๐ ถึง ๑๒ โดย มีคำบรรยายเครื่องหมาย และเปรียบเทียบความเร็ว ดังนี้

ตารางแสดงคำบรรยายเครื่องหมายและเปรียบเทียบความเร็วของลม
หัวข้อก่อนหน้า หัวข้อถัดไป