เรดาห์สำหรับตรวจอากาศ
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่
๒ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ และอเมริกัน ต่างได้ช่วยกันค้นคว้าสร้างเรดาร์
เพื่อตรวจหาตำแหน่งเครื่องบินและเรือรบของข้าศึก
ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง
ช่วยให้ฝ่ายสัมพันธมิตรมีชัยชนะในสงครามได้
ในสมัยต่อมานักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า เรดาร์สามารถใช้ ตรวจฝนและหิมะได้
ฉะนั้นนักอุตุนิยมวิทยาจึงได้อาศัยเรดาร์
เป็นเครื่องมือตรวจการเคลื่อนตัวของพายุ ฟ้าคะนอง
และพายุไต้ฝุ่นได้เป็นอย่างดี
เรดาร์สามารถจับการเคลื่อนตัวของพายุไต้ฝุ่นได้
เมื่อศูนย์กลางของพายุเข้ามาอยู่ในระยะ ๒๐๐ ถึง ๘๐๐ กิโลเมตร
(ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกำลังของเรดาร์) |

เรดาร์สำหรับตรวจอากาศ |
เรดาร์เป็นเครื่องมือที่ค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อน
มีแต่หลักการคือ เรดาร์ส่งคลื่นวิทยุ ที่มีความถี่สูงมาก
ราว ๓,๐๐๐ เมกะเฮิรตซ์ มีความยาวคลื่นระหว่าง
๓ ถึง ๑๐ เซนติเมตร เมื่อคลื่นความถี่สูงนี้ไป
กระทบเป้าหมายเข้า ก็จะสะท้อนกลับมายังเครื่อง
รับภาพจากค่าความเร็วของคลื่นวิทยุ ซึ่งมีค่าเท่ากับ
ความเร็วของแสงคือ ๓๐๐,๐๐๐ กิโลเมตร ต่อวินาที
กับระยะเวลาที่คลื่นเดินทางไปและกลับ เราก็สามารถหาระยะทางของเป้าว่า อยู่ห่างจากเครื่องรับเท่าไรได้ |

เครื่องมือและจอรับภาพจากเรดาร์ สำหรับตรวจอากาศ | เม็ดน้ำ (water droplets) และอนุภาคน้ำแข็ง (ice
particles) ขนาดใหญ่ สามารถสะท้อนคลื่นเรดาร์ได้
โดยทั่วๆ ไปแล้ว สิ่งที่เป็นเป้าหมายขนาดใหญ่ๆ
ก็สามารถสะท้อนคลื่นเรดาร์ได้ดี เช่น ลูกเห็บ เป็นต้น
|
เรดาร์อุตุนิยมวิทยามีประโยชน์มากในการตรวจการเคลื่อนตัวของพายุฟ้าคะนอง
พายุดีเปรสชัน หรือไต้ฝุ่น เมื่อนักอุตุนิยมวิทยาทราบทิศ
และความเร็วของการเคลื่อนตัวของพายุไต้ฝุ่น
ก็จะได้ออกประกาศเตือนให้ประชาชนทราบล่วงหน้า
เพื่อจะได้เตรียมตัวป้องกันภัยอันตรายซึ่งอาจจะเกิดขึ้นให้ลดน้อยลงได้
นอกจากนี้แล้วจากการวัดความแรง (strength)
ของภาพสะท้อน ที่จอเรดาร์ จะช่วยให้เราสามารถคำนวณหาอัตราของปริมาณฝนที่ตกลงมาได้ด้วย |