การตรวจอากาศโดยดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา - สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ
 
สารานุกรมไทย
สำหรับเยาวชน  เมนู 2
เล่มที่ ๒
เรื่องที่ ๑ การจำแนกและการจัดหมวดหมู่ของสัตว์
เรื่องที่ ๒ เวลา
เรื่องที่ ๓ บรรยากาศ
เรื่องที่ ๔ การตรวจอากาศ
เรื่องที่ ๕ อุตสาหกรรม
เรื่องที่ ๖ อุปกรณ์ขยายขอบเขตของสัมผัส
เรื่องที่ ๗ มหาราชในประวัติศาสตร์ไทย
เรื่องที่ ๘ การศึกษา
เรื่องที่ ๙ กรุงเทพมหานคร
เรื่องที่ ๑๐ ตราไปรษณียากรไทย
รายชื่อผู้เขียน

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๒ / เรื่องที่ ๔ การตรวจอากาศ / การตรวจอากาศโดยดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา

 การตรวจอากาศโดยดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา
การตรวจเมฆ

เมฆในท้องฟ้าเป็นเครื่องแสดงอันสำคัญที่จะทำให้เราทราบถึงลักษณะอากาศปัจจุบัน และลักษณะอากาศล่วงหน้าได้ ในการตรวจเมฆ เราอาจจะใช้เครื่องมือ หรือตรวจด้วยตาเปล่าก็ได้ สิ่งที่เราต้องการทราบในการตรวจเมฆก็คือ จำนวนของเมฆในท้องฟ้านั้น มีอยู่เป็นอัตราส่วนเท่าไรกับท้องฟ้าทั้งหมด โดยแบ่งท้องฟ้าออกเป็น ๘ ส่วน (OKTA) ถ้ามีเมฆ ๔ ส่วน หมายความว่า มีเมฆครึ่งท้องฟ้า นอกจากนี้แล้วเรายังต้องการทราบว่า เป็นเมฆชนิดใด และมีฐานสูงเท่าใดด้วย เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพยากรณ์อากาศต่อไป

ภาพถ่ายจากดาวเทียมจีเอ็มเอส ๓ (GMS 3) เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๘ แสดงพายุดอต (Dot) ในมหาสมุทรแปซิฟิก (ทิศตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์)

การตรวจทัศนวิสัย

คำว่า ทัศนวิสัย (visibility) หมายถึง ระยะทางตามแนวนอนซึ่งผู้ตรวจอากาศสามารถมองเห็นวัตถุได้ชัด ทัศนวิสัยเป็นสิ่งสำคัญ ในการบินและการเดินเรือ สิ่งที่ทำให้ทัศนวิสัยไม่ดี หรือทัศนวิสัยเลว คือ หมอก เมฆ ฝน ฝุ่น และควัน การมีทัศนวิสัยเลว เป็นอันตรายแก่การบินและการเดินเรือ เพราะเครื่องบินอาจจะขึ้นลงทางวิ่งได้ยาก หรืออาจจะชนกันก็ได้ หรือในบริเวณตามท่าเรือ หรือตามช่องแคบ เรืออาจจะชนกันก็ได้ เพราะแต่ละฝ่ายต่างมองไม่เห็นกัน

การตรวจทัศนวิสัยโดยมากใช้การสังเกตดูวัตถุ หรือสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งอาจเห็นได้ในระยะไกลๆ รอบๆ บริเวณที่ทำการของผู้ตรวจ เช่น ตึกใหญ่ ยอดเจดีย์ เสาธง ปล่องไฟ ฯลฯ เป็นเครื่องหมาย โดยเราทราบระยะทางไว้ก่อนจากแผนที่ จากนั้น เราก็ใช้เครื่องหมายเหล่านั้น ในการคาดคะเนระยะของทัศนวิสัย นอกจากการตรวจด้วยสายตาแล้ว ยังมีเครื่องมือตรวจทัศนวิสัยด้วย ซึ่งเรียกว่า ทรานสมิสโซมิเตอร์ (transmissometer) 
หัวข้อก่อนหน้า