สารานุกรมไทย สำหรับเยาวชน
เมนู 2
|
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๒ / เรื่องที่ ๕ อุตสาหกรรม / ผลิตกรรมจากโลหะ
ผลิตกรรมจากโลหะ
ผลิตกรรมจากโลหะ
โลหะบนผิวโลก
ขณะที่ผิวโลกเริ่มเย็นตัว
โลหะต่างๆ ที่อยู่บริเวณผิวโลก
หรือในบรรยากาศรอบโลกจะเริ่มเปลี่ยนสภาพเป็นสารประกอบ
ซึ่งจะรวมตัวอยู่ในรูปต่างๆ
กัน เช่น รวมกับหิน หรืออยู่ในชั้นดิน
เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพของผิวโลก
หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา
เช่น เกิดการยุบตัวของผิวโลก
แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด
สารประกอบโลหะที่มีอยู่บนผิวโลก
และส่วนที่อยู่ลึกลงไปใต้ดิน
ก็จะเปลี่ยนแปลงไปด้วย
การกัดกร่อนของหินเนื่องจากลม
หรือกระแสน้ำ เป็นเหตุให้เกิดการเคลื่อนย้ายสารประกอบ
หรือเกิดการรวมตัวในรูปอื่น
ลึกลงไปจากผิวโลกมากๆ
ยังเป็นหินละลายที่ปนกับสารประกอบโลหะ
เมื่อเกิดภูเขาไฟระเบิด
หิน และสารประกอบโลหะจะขึ้นมาบนผิวโลกในรูปของลาวา
เมื่อลาวาเย็นตัวแล้ว
หินจะรวมตัวกับสารประกอบอยู่บนผิวโลก
สารประกอบโลหะที่รวมตัวกับหิน
ดิน หรือรวมกับสารอื่นๆ เรียกว่า
สินแร่ โลหะที่พบเป็นสินแร่จะอยู่ในรูปของสารประกอบที่เป็นออกไซด์
ซัลไฟด์ คาร์บอเนต หรือเป็นสารประกอบหลายชนิดรวมกัน
โลหะบางชนิดอาจเกิดขึ้นเกือบบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ
หรือเป็นโลหะอิสระ (free metals) เช่น
ทองคำ ทองแดง ดีบุก เป็นต้น เรามักจะพบโลหะเหล่านี้แยกตัวอยู่ในรูปโลหะบริสุทธิ์ตามธรรมชาติแต่ก็พบน้อยมาก | 
เครื่องประดับที่ทำจากทองคำ | ทองคำ และทองแดงเป็นโลหะพวกแรกที่มนุษย์รู้จัก
และนำมาใช้ประโยชน์
มนุษย์เริ่มสนใจโลหะทั้งสองชนิดนี้ในตอนปลายยุคหิน
แต่ยังไม่เป็นที่นิยมใช้เท่ากับหิน
เพราะทั้งทองคำ และทองแดงแข็งน้อยกว่าหิน
ครั้นพบว่าโลหะทั้งสองชนิดนี้สามารถเปลี่ยนรูปร่างได้ง่ายกว่าหิน
จึงเริ่มสนใจที่จะนำมาใช้ประโยชน์
เช่น ใช้ทำเครื่องใช้ ภาชนะ และเครื่องประดับ
โลหะใต้ผิวโลก
ลึกลงไปใต้ผิวโลกจะมีแร่โลหะต่างๆ
กระจายอยู่ แร่บางชนิดจะมีมากในบางที่
หรือบางส่วนของโลก แร่บางชนิดอาจอยู่ปนกัน
เช่น แร่ดีบุกกับแร่ทังสเตน ในพื้นที่บางแห่งจะมีแร่บางชนิดอยู่มาก
และมีแร่ชนิดอื่นน้อยมาก
หรือไม่มีอยู่เลย เช่น ทางภาคใต้ของประเทศไทยมีแร่ดีบุกอยู่มาก
เมื่อพบว่าแห่งใดมีแร่อยู่จะมีการสำรวจทางธรณีวิทยาด้วยวิธีต่างๆ
เพื่อให้รู้ชนิดของแร่
ปริมาณ และจำนวนเนื้อแร่ (เปอร์เซ็นต์แร่)
เพื่อที่จะประมาณการได้ว่าพอที่จะทำเหมือง
หรือนำขึ้นมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมหรือไม่
(การขุดหาเพื่อนำเอาแร่โลหะ
หรือแร่อื่นๆ มาใช้ทำประโยชน์เรียกว่า
การทำเหมืองแร่) การทำเหมืองแร่มีหลายวิธี
เช่น แร่ที่อยู่บนผิวดิน
หรือลึกจากผิวดินไม่มากนัก
จะขุด หรือตักแร่เรียกว่า
การทำเหมืองเปิด เช่น การขุดแร่บอกไซต์
(bauxite) เพื่อใช้ทำอะลูมิเนียม แร่ที่ | |